top of page
379208.jpg

การพักฐานระยะสั้นเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้



คงพักตัวระยะสั้น !

ทิศทางของตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงถูกกดดันจากการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19 โดยยุโรป และหลายประเทศยังมีความกังวลกับการระบาดของสายพันธ์ Delta โดยเฉพาะในฝั่งเอเชียที่มีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย แต่ทั้งนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ยังปรับตัวขึ้นได้ และตอบรับความกังวลไปแล้ว ระยะต่อไปยังต้องจับตาว่ามาตรการที่หลายๆ ประเทศได้มีการนำมาใช้จะสามารถชะลอการติดเชื้อได้หรือไม่ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนี VIX Index ของตลาดหุ้นสหรัฐ และยุโรป ในฐานะดัชนีที่สะท้อนความผันผวนของตลาดหุ้น และมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ หรือ Negative Correlation กับทิศทางของตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังคงมีอยู่ใน Momentum ของการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องด้วย

สะท้อนออกมาจากการที่ดัชนีทั้ง 2 ตัว ยังคงเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA ระยะสั้นทุกเส้น และ Indicator สำคัญของดัชนีดังกล่าวอย่าง RSI ก็ยังคงมีสัญญาณของการปรับตัวขึ้นต่อเช่นกัน สอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนสหรัฐจาก AAII ที่ระบุว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัดส่วนนักลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐในระยะ 6 เดือนข้างหน้ายังคงเป็นขาขึ้น หรือ Bullish เปลี่ยนแปลง -4.00% เมื่อเทียบจากสัปดาห์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 36.20% ขณะที่สัดส่วนนักลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐในระยะ 6 เดือนข้างหน้ากำลังกลับเป็นขาลง หรือ Bearish ที่เปลี่ยนแปลง +2.30% เมื่อเทียบจากสัปดาห์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 26.80% ขณะที่ในทางเทคนิค การที่ดัชนี S&P500 ของสหรัฐ, Stoxx50 ของยุโรป และ NIKKEI ของญี่ปุ่น ปรับตัวลงมาอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย EMA ระยะสั้นทุกเส้นอีกครั้ง สะท้อนสัญญาณของการพักตัวในทางเทคนิคต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ Indicator สำคัญอย่าง RSI ยังคงไม่สามารถกลับมามีสัญญาณ Buy Signal อีกครั้งได้

ขณะที่ในเชิงของปัจจัยพื้นฐาน ระดับราคาของตลาดหุ้นสหรัฐในระยะสั้นค่อนข้างตึงตัว สะท้อนออกมาจากระดับของ Earnings Yield Gap ของตลาดหุ้นสหรัฐที่ล่าสุดอยู่ที่ 1.9% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี -1.0 SD สอดคล้องกับระดับ Earnings Yield Gap ของตลาดหุ้นไทยที่ 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี -1.0 SD เช่นกัน

ดังนั้นในระยะสั้นสำหรับตลาดหุ้นไทยในทางเทคนิค ตราบใดที่ SET ยังคงไม่สามารถกลับไปปิดเหนือ 1,600 จุดได้ จะยังแกว่งตัวในกรอบ 1,600-1,550 จุดต่อไป โดยมีปัจจัยหนุนจากทิศทางของตลาดหุ้นโลกเป็นตัวจำกัด Potential Downside Risk ขณะที่ผลกระทบจากการที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวมทั้งสิ้น 13 จังหวัด โดยเพิ่มเติมจากเดิมคือ จังหวัดชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา โดยจะใช้มาตรการการลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางและกำหนดพื้นที่ห้ามออกนอกเคหสถานเพิ่มเติมเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. และมาตรการอื่นไปเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 2564 มองว่าในแง่ของภาพรวมเศรษฐกิจจะมีผลกระทบบ้าง แต่ว่าผลกระทบคงจะเพิ่มขึ้นไม่มาก เพราะการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา 10 จังหวัด คิดเป็น 50% ของ GDP แล้ว

ดังนั้นเมื่อมีการล็อกดาวน์เพิ่มอีก 3 จังหวัด ผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

สหรัฐ และจีนยังเป็นปัจจัยบวกต่อ ! ในส่วนของทิศทางของตลาดหุ้นโลก และสหรัฐน่าจะเป็นไปในลักษณะของการพักตัวในช่วงสั้นๆ มากกว่า โดยมีปัจจัยหนุนจากสภาพคล่องทางการเงินที่ยังคงมีอยู่จำนวนมากในตลาดการเงินสหรัฐ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของสหรัฐด้วย หลังจากที่ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ส่งสัญญาณในระหว่างการแถลงต่อสภาคองเกรสว่าเฟดจะเดินหน้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และจะยังไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นในขณะนี้ พร้อมกับย้ำว่าเฟดจะใช้นโยบายการเงินในการสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐ จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ส่วนการที่เฟดจะลดวงเงิน QE จากระดับ 120,000 ล้านดอลลาร์/เดือนนั้น จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

สำหรับประเด็นเงินเฟ้อ Jerome Powell ยังมองว่าเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในระยะนี้เกิดจากปัจจัยชั่วคราว จากการที่รัฐต่างๆ ทำการเปิดเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะดีดตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ก่อนที่จะปรับตัวลงเมื่อสถานการณ์ต่างๆ กลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือ Government Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐปรับลงมาถึง 1.34% ในคืนที่ผ่านมา เป็นปัจจัยบวกตัวหนึ่งของตลาด แม้ว่าดัชนี CPI ของสหรัฐที่ถูกประกาศออกมาจะดีดตัวขึ้น 5.4% YoY ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2551 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.0% แต่นักลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะให้น้ำหนักที่เป็นบวกต่อทิศทางการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และจีนมากกว่า ซึ่งการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งสะท้อนออกมาจากตัวเลข Initial Jobless Claim ลดลงสู่ระดับ 360,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐเมื่อเดือน มี.ค. 2563 โดยลดลงจากระดับ 386,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้านี้

ขณะที่ GDP ในไตรมาส 2 ของจีนขยายตัว 7.9% YoY ทำสถิติขยายตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส แม้ว่าในด้านปัจจัยเฉพาะตัวของตลาดหุ้นจีนเอง จะถูกกดดันจากข้อพิพาทระหว่างจีนและสหรัฐ โดยรัฐบาลสหรัฐยกระดับคำเตือนสำหรับบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทาน และการลงทุนในมณฑลซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยระบุถึงความเสี่ยงจากข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงและการบังคับใช้แรงงานก็ตาม เนื่องจากล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินในช่วงเวลาอันใกล้นี้ แม้ธนาคารจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% ก็ตาม

ในส่วนของกลยุทธ์ สำหรับการลงทุนระยะสั้น (ไม่เกิน 1 สัปดาห์) ตราบใดที่ SET ยังคงไม่ลงไปปิดต่ำกว่า 1,550 จุดอีกครั้ง เน้น “เก็งกำไรระยะสั้น” โดยมี 1,550 จุดเป็นจุดหมุน และจุด Cut Loss ในหุ้น CPALL, BJC, BEM, CRC, AOT, GPSC, PTTGC, WHA และ BDMS อีกครั้ง สำหรับการลงทุนระยะกลาง (1-3 เดือน) ในลักษณะ Long-Only แนะนำ “คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมาอยู่ที่ระดับ 25% ของพอร์ต”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนด้วยครับ สำหรับการพูดคุยกันระหว่างสัปดาห์นอกจากทาง Facebook ที่ www.facebook.com/wealthhuntersclub และ e-mail ที่ moobin.stockmania@gmail.com แล้ว แฟนๆ ยังสามารถติดตามมุมมองเกี่ยวกับการลงทุนจาก “นายหมูบิน” ได้ในรายการ “เซียนเศรษฐกิจ” ทาง FM 97 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00-16.00 น. เช่นเดิมครั

 

ภาพประกอบ : การวิเคราะห์ทิศทางตลาดหุ้นไทยในทางเทคนิครายวัน (Daily)

Source: Wealth Hunters Club


14 views

Comments


bottom of page