top of page
347550.jpg

ระวังกติกา RCEP....เตือนผู้ส่งออก-นำเข้ารอบคอบใช้สิทธิประโยชน์ภาษี


เตือน...ช่วงเริ่มต้นข้อตกลง RCEP ผู้ส่งออก-นำเข้าต้องระวัง รอบคอบ ในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรและการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ให้ถูกต้อง รวมถึงรหัสของแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งของตัวเองและคู่ค้า เพื่อไม่เสียสิทธิในการขอยกเว้นภาษีอากรนำเข้า-ส่งออก อีกทั้งต้องไม่สับสนในข้อกำหนดสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันของข้อตกลงทางการค้า RCEP กับข้อตกลงการค้าอื่นๆ เช่น FTA, อาเซียน ฯลฯ พร้อมย้ำ...ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกต้องให้ความสำคัญกับสิทธิประโยชน์ภาษีอากรระหว่างประเทศ เพราะช่วยลดต้นทุนทางการค้า และไม่เสี่ยงกับการทำผิดกฎหมายการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย


Interview : คุณสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการบริษัท อีบีซีไอ และ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน ด้านโลจิสติกส์ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สำนักนายกรัฐมนตรี


หนังสือรักดีร้อยแปดพันเก้า นำเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ของอีบีซีไอ คนที่อ่านเป็นกลุ่มไหน

เป็นคนที่อยู่ในกลุ่มนำเข้าส่งออก การค้าระหว่างประเทศและโลจิสติกส์ รวมถึงคนที่เป็นครูบาอาจารย์ที่สอนหนังสือ หนังสือเล่มนี้เราไม่ได้ขาย แต่ทำขึ้นมาแจก เพื่อให้คนในวงการศึกษาใช้สอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องลงลึกการแก้ปัญหาต่างๆ ของการนำเข้าส่งออกทางเรือ ทางอากาศ ทางขนส่ง โลจิสติกส์ เป็นเรื่องที่ลงรายละเอียด มีทั้งหมด 60 หน้า อ่านง่ายๆ


มาพูดถึง 1 เดือนที่ผ่านไปของ RCEP บ้าง

ตรงนี้ถือเป็นความพยายามที่ประสบความสำเร็จมากของไทยในการที่จะทำให้ RCEP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2565 ไทยเรามีส่วนร่วมอย่างมากในการทำเรื่องตรงนี้ให้เกิดผลสำเร็จขึ้นมา ทีนี้สำคัญอย่างไร RCEP มีพลเมืองรวมกันประมาณกว่า 2 พันล้านคนใน 15 ประเทศนี้ นอกจากนี้เราค้าขายกับ RCEP มาก มีทั้งนำเข้าและส่งออก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการเริ่มต้นของ RCEP บางประเทศขณะนี้ยังไม่เริ่มต้น อย่างเช่นมาเลเซียเพิ่งเริ่มต้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ดังนั้น การใช้สิทธิประโยชน์ตรงนี้จะต้องระมัดระวัง แต่โดยรวมต้องบอกว่า RCEP เป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้เรามีโอกาสกว้างขวางมากขึ้น และค้าขายได้มากขึ้น ขณะเดียวกันจะมีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในไทยมากขึ้น

RCEP แปลภาษาไทยว่า หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 1 ที่เริ่มต้น RCEP และเป็นปีที่จัดอัตราศุลกากรในการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสองเรื่องนี้จึงมาเกี่ยวพันกันในแง่ที่ว่าการเข้าเป็นสมาชิก RCEP ทำให้ไทยได้นำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศกับประเทศสมาชิกอีก 14 ประเทศ สินค้าบางรายการหรือหลายรายการในนั้นจะได้ลดอากรนำเข้า ขณะเดียวกัน ถ้าเราส่งไปขายในสมาชิก RCEP อีก 14 ประเทศ เราก็จะได้รับลดอากรในบ้านของเขาเหมือนกัน อันนี้เป็นข้อที่ดีมาก

ส่วนข้อที่ต้องระมัดระวังคือปีนี้เป็นปีแรกที่เริ่มต้นใช้ ถ้าอย่างนั้นอาจจะมีบางประเทศไม่ค่อยคุ้นเคย อย่างเช่นขอไม่เอ่ยชื่อประเทศ คือเขาเผชิญ FTA กับต่างประเทศเยอะแยะมากเลย เพราะฉะนั้นเขาก็สับสนว่าข้อมูลตรงนี้มันน่าจะเป็นของ FTA หรือของอาเซียน ก็ปรากฏว่าจะเอาข้อมูลตรงนี้มาใส่ใน RCEP ตรงนี้ผิดแล้ว ดังนั้นถ้าแบบฟอร์มที่ส่งไปต่างประเทศผิด และแบบฟอร์มที่เราส่งไปให้ผู้ซื้อในต่างประเทศผิด คนที่ส่งมาให้เรา แล้วเราเอามาผ่านทางศุลกากร แล้ว ถ้าเขาดูมันผิด เขาก็ยกเว้นอากรไม่ได้

ขณะเดียวกัน ถ้าเราส่งไปให้ผู้ซื้อในประเทศที่เป็นสมาชิกใน RCEP เวลาที่เขารับแบบฟอร์มจากเราไป แล้วเวลาผู้ส่งออกทำแบบฟอร์มผิด เขาก็ขอยกเว้นอากรจากบ้านเขาไม่ได้ อันนี้คือข้อที่ต้องระวัง เป็นเรื่องที่เจ้าของบริษัทอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้ แต่ผู้ปฏิบัติงาน ระดับผู้จัดการทั้งหลายต้องดูเรื่องนี้เป็นพิเศษ

เรื่องต่อมา ในการใช้สิทธิยกเว้นอากรนำเข้าของ RCEP จะมีเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คำศัพท์ 3 คำที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้และเข้าใจ คำแรกคือ WO หมายถึงสินค้านั้นใช้วัตถุดิบทั้งหมดของประเทศที่เป็นสมาชิก RCEP คำที่ 2 คือ PE หมายถึงสินค้าที่ใช้วัตถุดิบของสมาชิก RCEP และเป็นไปตามมาตรฐานถิ่นกำเนิด คำที่ 3 คือ PSR หมายถึงสินค้าที่ต้องใช้กฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็น ไม่อย่างนั้นกรมการค้าต่างประเทศเขาก็จะออกแบบฟอร์มมาผิด และส่งไปแล้ว ผู้ซื้อเขาจะไม่ได้รับยกเว้นอากร เขาก็จะมาฟ้องร้องเรา การเฉพาะของสินค้านั้นๆ ซึ่งผู้ที่ทำแบบฟอร์มสำหรับส่งออกไปต่างประเทศต้องแจ้งรายละเอียดต่างๆ เหล่านั้นให้ถูกต้อง ไม่อย่างนั้น กรมการค้าต่างประเทศจะออกแบบฟอร์มมาผิด เมื่อส่งออกไปแล้วผู้ซื้อจะไม่ได้รับการยกเว้นอากร เขาก็จะมาฟ้องเรา ขณะเดียวกัน ถ้าเรานำเข้าแบบฟอร์มจาก 14 ประเทศใน RCEP แล้วเขาใส่แหล่งกำเนิดสินค้าและถิ่นกำเนิดสินค้าผิด ผู้นำเข้าในประเทศไทยก็ขอยกเว้นอากรไม่ได้ เผลอๆ จะเป็นความผิดทางกฎหมายและถูกจับอีกด้วย เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องระวัง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบอกไว้ก่อน


ที่ผ่านมามีปัญหาสินค้าตกค้างที่ตามด่านต่างๆ เพราะไม่เข้าใจเรื่อง RCEP มากไหม

กฎเกณฑ์ของการนำเข้า เขาจะดูวันที่ที่อยู่ในแบบฟอร์มว่าออกวันไหน ซึ่งถ้าเป็นวันที่ที่ออกในแบบฟอร์มของปีที่แล้ว และสินค้าเข้ามาปีนี้ถือว่าเป็นการใช้กฎเกณฑ์ของปีที่แล้ว แต่ถ้าแบบฟอร์มนั้นใส่วันที่ของปี 2565 นั่นคือการใช้กฎเกณฑ์ของปี 2565 ดังนั้น ของที่เข้ามาจากต่างประเทศ ถ้าวันที่เป็นแบบฟอร์มของปี 2564 ก็ใช้ของแบบปี 2564 ไป แต่ถ้าปี 2564 แล้วมาเข้าปี 2565 แต่ใบที่ลงเป็นปี 2564 ก็ใช้กฎเกณฑ์เก่าไป แต่ถ้าลงวันที่ปี 2565 ก็คือต้องใช้กฎเกณฑ์ใหม่

การนำเข้าส่งออกหลังจาก RCEP ไปแล้ว ผ่านไปแล้วสัก 3 เดือน จะต้องระมัดระวังและละเอียดรอบคอบในการรับส่งแบบฟอร์มทั้งการนำเข้าและส่งออก และก็รอบคอบเรื่องในบ้าน ต้องตรวจดูพิกัดและรหัสของแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งเรื่องพวกนี้ถ้าเป็นอาเฮีย อาแปะ อาจจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าเราใช้บริษัทชิปปิ้งทำงานให้เรา ต้องเชิญบริษัทชิปปิ้งมาคุยกับเราว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อธิบายให้เราฟัง เพื่อที่จะได้ตกลงกันว่าจะต้องดูพิกัดไหน แหล่งกำเนิดเป็นอย่างไร

ขณะที่การส่งออกก็ต้องดูละเอียดของข้อมูล โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ไม่ได้ทำแบบฟอร์มเองแล้วไปจ้างคนอื่นทำ ก็ต้องระมัดระวังว่าข้อมูลที่เราให้คนอื่นที่เขามารับจ้างทำแบบฟอร์มให้เรา เขาเข้าใจขั้นตอนใหม่แล้วใช่ไหม เพราะถ้าทำผิดพอส่งไปต่างประเทศ ต่างประเทศเขาจับและเขาฟ้องร้องเราอีก

ส่วนข้อต่อมา ไทยเราลงนาม FTA กับ 14 FTA แล้ว ก็คือหมายถึงว่า 14 FTA ก็มีประมาณสัก 16-17 ประเทศ อยู่ในกรอบการใช้สิทธิประโยชน์ ยกตัวอย่างจีน ก็มีทั้ง RCEP มีทั้งอาเซียน-จีน ฉะนั้นถ้าเราจะใช้กฎเกณฑ์ของการลดอากรนำเข้าตามแบบฟอร์มต่างๆ เราก็ต้องแน่ใจว่าเราจะใช้แบบฟอร์มไหน ระหว่างอาเซียน-จีน หรือ RCEP จะใช้แบบฟอร์มไหนและก็ต้องใช้กฎเกณฑ์ของแบบฟอร์มนั้น ไม่ใช่เอากฎเกณฑ์ของ RCEP มาใช้กับอาเซียน แบบนั้นไม่ได้ เป็นเรื่องที่เราเป็นห่วง เดี๋ยวปัญหาจะตามมา

ทั้งนี้ เรื่อง RCEP ถือเป็นเรื่องใหม่ของไทยในปีนี้ และเรื่องของไทยปีนี้เกี่ยวกับนำเข้าส่งออกจะเกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร ก็มีเรื่องของพิกัดอัตราศุลกากรที่มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ของพิกัดใหม่ ดังนั้นของใหม่มาเจอกันก็จะมีปัญหาบางอย่างที่เราต้องระวังในการค้าขายกับผู้ค้าต่างประเทศทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออก

ในประเด็นที่หนึ่ง ต้องเข้าใจว่าในอาเซียน 10 ประเทศ เรามีคู่แข่งของเราก็จะมีเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ทั้ง 3 ประเทศนี้เขาค้าขายกับต่างประเทศเยอะมาก และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ FTA พร้อมกับเป็นสมาชิกของ RCEP ด้วย ฉะนั้น เราเคยติดต่อกับบริษัท ก.ในประเทศสิงคโปร์ แล้วเขาใช้แบบฟอร์มอาเซียนธรรมดา เรามาใช้ของ RCEP เวลาเปิด L/C ไปซื้อสินค้าจากสิงคโปร์ จากเวียดนาม หรือจีนก็แล้วแต่ ต้องกำหนดเงื่อนไขใน L/C ว่าแบบฟอร์มที่ส่งมานั้นต้องใช้แบบฟอร์ม RCEP ไม่ใช่แบบฟอร์มของอาเซียน ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าส่งแบบฟอร์มมาผิดก็ยุ่ง เดี๋ยวต้องส่งกลับไปกลับมา ไปเปลี่ยนมา เสียเวลา

ส่วนข้อต่อมา กฎแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้ง RCEP อาเซียน ทั้ง FTA ทุก FTA มีกฎแหล่งกำเนิดสินค้าทั้งสิ้น ทีนี้เวลาที่เราจะให้ผู้ขายส่งแบบฟอร์มมาให้เรา เราต้องบอกเขาว่า อย่าเพิ่งส่งแบบฟอร์มตัวจริงมา ให้มาคุยกันก่อน ส่งก๊อบปี้มาก่อนสิว่า RCEP ที่คุณทำมา เป็น RCEP ที่ถูกต้องใช้คำสามคำถูกต้องหรือไม่ นั่นก็คือ WO, PE, PSR แปลว่าสินค้าที่ส่งมาผลิต ใช้วัตถุดิบทั้งหมดในประเทศของคุณหรือไม่ ก็ใช้ WTO ไป ถ้าเป็น PE ใช้วัตถุดิบของ 15 ประเทศรวมกัน อันนี้ก็เข้าข่าย PE แต่ถ้า PSR ก็คือเป็นสินค้าเกษตรที่ต้องใช้กฎกติกาอีกแบบหนึ่ง ดังนั้น ต้องถามคู่ค้าก่อนว่าแหล่งกำเนิดสินค้าของคุณ ตามแหล่งกำเนิดของ RCEP คุณใช้ตัวไหนอย่างไร ต้องคุยกันให้รู้เรื่อง

ส่วนข้อต่อมา เราส่งออกประเทศไหน สมมติว่าเราเคยส่งออกกับเวียดนาม เราใช้แบบฟอร์มอาเซียน พอคราวนี้เราใช้ RCEP ก็ต้องส่งแบบฟอร์ม RCEP ให้เวียดนาม ไม่ใช่ส่งแบบฟอร์มอาเซียนให้เวียดนาม และเวียดนามก็ส่งแบบฟอร์ม RCEP ให้เรา ไม่ใช่ส่งแบบฟอร์มอาเซียนมาให้เรา เหล่านี้คือเรื่องสำคัญ และมักจะเป็นเรื่องความผิดต้นๆ ของการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศของไทยเรา


ที่มีการย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไป ตรงนี้เป็นเพราะเรื่อง RCEP ด้วยหรือไม่

ก็ต้องพูดแฟร์ๆ กัน ถามว่ามีส่วนหรือไม่ ตอบว่ามีส่วน สมมติว่าญี่ปุ่นซึ่งเขาเข้ามาลงทุนในไทย และถ้าไทยไม่ได้เข้า CPTPP สินค้าของญี่ปุ่นที่ผลิตในไทยก็จะไปเข้ากลุ่ม CPTPP ไม่ได้ โดยมีสมาชิกทั้งหมดตอนนี้ทั้งหมด 11 ประเทศ ก็จะเป็นประเทศใหญ่ๆ เหมือนกัน และประเทศใหญ่ๆ อยู่ในนี้ ดังนั้น ประเทศที่จะมาลงทุนในไทยก็ต้องดูว่าไทยอยู่ในกรอบการตกลงการค้าไหน ตอนนี้เรามี 14 ฉบับ FTA รวมอีอีซี ก็คืออาเซียน แต่ยังไม่รวม RCEP ถ้ารวมก็จะเป็น 15 ฉบับ

เชื่อหรือไม่ ของญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ นั้น ข้อตกลงทางการค้าเขามากกว่าเราเยอะเลย อย่างสิงคโปร์มีถึง 50 ประเทศ ดังนั้น การลงทุนของต่างประเทศไปยังประเทศใดประเทศหนึ่ง เขาดูเรื่องเกี่ยวกับความตกลงทางการค้าที่ไทยลงนามด้วย


ไทยเป็นประเทศซัพพลายเชน คือเขามาใช้บริการ แรงงาน ผลิต ตั้งถิ่นฐานทำเล แล้วส่งสินค้านี้ออกไป ยกตัวอย่างอังกฤษจ้างไทยผลิตเพื่อส่งไปยังจีน เขาก็ได้ประโยชน์จากภาษี

ใช่ คือ ในการที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือลงนาม FTA กับ FTA และ FTA ก็จะดีกว่ากติกาใน FTA นั้นๆ อย่างเช่น FTA อาเซียน-จีน ก็คืออาเซียนกับจีน เพราะฉะนั้น จีนกับอาเซียน เป็นการค้าขายที่ขณะนี้ไทยเราค้าขายกับอาเซียนอันดับหนึ่ง และจีนอันดับสอง สมมติว่าถ้าจีน หรือประเทศใดประเทศหนึ่งจะมาลงทุนในไทย แล้วส่งไปขายจีน ดังนั้น เขาก็มองว่าจีนอยู่ในอาเซียนจริง แล้วส่งกลับไทยไปอาเซียนแล้วก็ได้สิทธิประโยชน์ แต่จีนก็ได้สิทธิประโยชน์ภาษีอากร ดังนั้นก็มาลงทุนในไทย ตรงนี้ก็มีส่วนในการที่จะทำให้เขามาลงทุนในไทย แต่ขณะเดียวกัน สมมติอังกฤษมาจ้างไทยผลิตสินค้าแล้วส่งไปที่จีน ก็มีกฎเกณฑ์ตรงนี้เหมือนกันว่าสินค้าที่อังกฤษมาจ้างไทยผลิตนั้นจะต้องมีสัดส่วนที่ใช้ผลิตในไทยตามกรอบของอาเซียนจีน ถ้าอาเซียนจีนกำหนดว่าสินค้าที่ผลิตในไทยใช้วัตถุดิบในไทยเกินกว่า 40% แล้วส่งไปขายจีน ถึงแม้อังกฤษต้องผลิตอันนี้ได้ เพราะเขาถือว่าเขาอยู่ในกฎกติกาของอาเซียนจีน

แต่ถ้าสมมติว่าอังกฤษมาจ้างไทยผลิต แล้วให้ส่งไปขายที่อีกประเทศหนึ่งที่เขาไม่ได้อยู่ในกรอบการค้าอะไรกับเราเลย ตรงนี้ไม่ได้ สินค้าไทยส่งไปอีกประเทศหนึ่ง สมมติดูไบของยูเออี ซึ่งเขาไม่ได้อยู่ในกรอบอะไรกับเราเลย สินค้าที่อังกฤษมาจ้างไทยผลิต แล้วไทยส่งไปขายที่ยูเออี หรืออังกฤษส่งไปขายยูเออี ไทยจะไม่ได้ประโยชน์หรืออังกฤษจะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากการส่งสินค้าไปขายที่ยูเออีเลย เพราะไทยกับยูเออีนั้นไม่ได้อยู่ในกรอบการตกลงใดๆ ของการค้าระหว่างประเทศ


มีอะไรอยากแนะนำเพิ่มเติมบ้าง

ทุกวันนี้ส่วนตัวสอนหนังสือมาจะ 30 ปีแล้ว ไม่ว่าจะหลักสูตรไหน เรื่องแรกที่เราต้องดูคือการค้าขายระหว่างประเทศในอนาคตก็จะเป็นเรื่องภาษีอากรระหว่างประเทศ แม้แต่ไทยทำไมเรายังต้องมีอีอีซี เพราะอีอีซีเสนอสิทธิประโยชน์ภาษีอากรที่ดีกว่าประเทศอื่นในอาเซียน ใน 3 ฉบับนี้ถ้าใครมาลงทุนได้ตามกรอบบีโอไอแล้ว ผู้ที่มาลงทุนยังรู้สึกไม่พอใจ เขาสามารถยกเลิกไปคุยกับอีอีซีได้ แต่ถ้าอีอีซีเห็นว่าธุรกิจที่ต่างประเทศมาลงทุนเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีให้กับไทย ให้เกิดการมีงานทำ ให้เกิดการต่อยอดเป็นสินค้าที่ 4.0 ขึ้นไป อีอีซีสามารถให้สิทธิประโยชน์บางอย่าง นอกเหนือจากที่เขาให้กับนักลงทุน

เรื่องสิทธิประโยชน์ภาษีอากรทุกวันนี้เป็นเรื่องสำคัญ อยากจะบอกผู้ส่งออกและนำเข้าว่าท่านจะได้เปรียบในแง่ที่ว่า ตอนนี้ 15 ประเทศลงทุนแล้ว และลงนาม RCEP แล้ว เขากำลังส่งสินค้าไปในกรอบของ RECP มากขึ้น นอกจากกรอบของอาเซียน แล้วยังมีกรอบของ RCEP อีก เราก็ขายสินค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ที่เป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบ เดิมทีเคยซื้อที่สิงคโปร์มันแพงเพราะซื้อผ่านนายหน้า แต่วันนี้เราซื้อโดยตรงกับญี่ปุ่นได้ แล้วขอยกเว้นอากรนำเข้าที่ไทย ส่วนตัวบอกตรงๆ ในฐานะที่ดูแลเรื่องสิทธิภาษีอากรในไทยมานาน พูดได้ว่า 90% ของผู้ประกอบการไม่ได้สนใจเรื่องนี้เลย ทั้งๆ ที่สิทธิประโยชน์ภาษีอากรระหว่างประเทศมีมากมายเกินกว่าที่จะเข้าใจกัน และในอนาคตก็อาจจะมีกรอบ CPTPP มีกรอบ ไทยกับอียู ไทยกับอังกฤษ FTA ต่างๆ ก็จะมีมากขึ้น

ขณะนี้ไทยกับสหรัฐอเมริกา ไทยกับอียู ไทยกับยุโรป ยังไม่มี FTA ใดๆ ดังนั้น เวลาที่อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ส่งสินค้ามาขายเมืองไทยก็เลยโดนเก็บภาษีอัตราที่ไม่มีส่วนลด ไม่มีการยกเว้น ฉะนั้นพวกนี้ก็จะพยายามจับมือกับไทยในข้อตกลง FTA ต่างๆ แต่มาอีกฟอร์มหนึ่ง มาฟอร์มที่ว่าฉันก็อยากจะเชิญคุณ แต่ความจริงแล้วเขาอยากคุยกับเรา เพราะสินค้าเขามาขายในไทย แล้วยกเว้นอากรได้ ถ้าเราลง FTA เขา แล้วเราส่งไปขายเขา เขาก็ลดอากรให้กับเราเหมือนกัน


แต่สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ เจ้าของบริษัท ส่วนใหญ่ไม่สนใจ แล้วก็ไม่ดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง แล้วก็ไม่ใช้สิทธิ แล้วก็ไปโดนจับ ก็ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น

180 views
bottom of page