top of page
379208.jpg

ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินผ่าน EIA คาดเซ็นสัญญากับ "ซีพี" ไม่เกิน ก.ค.นี้

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้ว เตรียมเสนอคณะกรรมการ สผ.ชุดใหญ่ 24 มิถุนายนนี้ คาดลงนามซีพี ไม่เกินต้นเดือนกรกฎาคมนี้ เตรียมทุบเสาตอม่อโฮปเวลล์ที่เหลือ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท แล้ว และจะเข้าที่ประชุม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2562 คาดว่าจะลงนาม กับ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูล ได้ไม่เกินต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งตามเป้าหมายเดิมที่คณะกรรมการอีอีซี (กพอ.) คาดไว้ ว่าจะลงนามสัญญาได้ในวันที่ 15 มิถุนายนนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไข EIAจะต้องได้รับอนุมัติก่อนตามกฎหมาย

คณะกรรมการคัดเลือกเตรียมจะหารือกับกลุ่มซีพี เรื่องการส่งมอบพื้นที่ โดยจะไล่เจรจาตั้งแต่ดอนเมือง-อู่ตะเภา ซึ่งมีหลายประเด็นที่ต้องหารือ เช่น 1. มีผู้บุกรุก กี่จุด ช่วง กิโลเมตรใดบ้าง 2. ติดปัญหาสัญญาเช่า กี่จุด 3. ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ซึ่งทับซ้อนกับ โครงการรถไฟไทย-จีน รถไฟไทย-ญี่ปุ่น และช่วงสถานีจิตรลดา ที่เป็นคลองแห้ง ทับซ้อนกับสายสีแดง ซึ่งทางซีพี จะต้องก่อสร้างไปก่อนโดยเผื่อสายสีแดงด้วยแล้วค่อยใช้คืนภายหลัง 4. เสาตอม่อโฮปเวลล์ จะต้องดำเนินการรื้อย้ายอย่างไร 5. พื้นที่เวนคืนส่วนใหญ่ที่ฉะชิงเทรา รอการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีเวนคืนที่ดิน 850 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 245 หลัง วงเงิน 3,570ล้านซึ่งซีพีทราบแล้วขั้นตอนแล้ว

"ตามหลักการจะต้องหารือ ว่าซีพีฯ จะเข้าพื้นที่จุดใดก่อน หลัง มีแผนจะเริ่มงานก่อสร้างจุดใดก่อน ขณะที่ รฟท. พร้อมจะส่งมอบให้ได้อย่างไร เมื่อใด ต้องคุยกัน วางแผนร่วมกัน เพราะจุดที่มีปัญหา จะต้องใช้เวลาในการจัดการก่อนส่งมอบ โดยพื้นที่มีเวลาส่งมอบให้ภายใน 5 ปี ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ อยู่ในความรับผิดชอบของซีพี ส่วน รฟท. จะรับผิดชอบ เรื่องการโยกย้ายผู้บุกรุก รวมถึงเสาตอม่อโฮปเวลล์ด้วย สำหรับพื้นที่ ซึ่งจะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ TOD มีทั้งหมด 150 ไร่ โดยจะส่งมอบส่วนแรก 100 ไร่ก่อน ส่วนอีก 50 ไร่ที่เหลือทยอยมอบภายใน 5 ปี เนื่องจากจะต้องย้ายพวงรางออกจากพื้นที่ก่อน" นายวรวุฒิ กล่าว

8 views

Recent Posts

See All

ALL ปลื้มยอดทะลัก ลูกค้าแห่จองทาวน์โฮม เฟสใหม่ ขึ้นแท่นโครงการฮิตย่านลาดพร้าว – นวมินทร์

นายธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALL กล่าวว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา...

สถานการณ์อสังหาฯไทยแค่ทรุด! ยังไม่ถึงกับแย่

‘มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน ลดค่าจดจำนองการกู้เป็นมาตรการที่ดี เพียงแต่ว่าไม่ได้ช่วยสักเท่าไหร่ ในสถานการณ์ที่บ้าน ทาวน์เฮาส์ คอนโดฯ...

แห่กันจัดแคมเปญทิ้งทวน นาทีทอง 2 เดือนสุดท้าย...ตลาดบ้าน/คอนโดฟื้น

สัมมา คีตสิน นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ ‘สัมมนา คีตสิน’ ฝ่าวิกฤตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยุคดิจิทัล...

bottom of page