โดย คุณประเสริฐ หวังรัตนปราณี
นักบัญชี/ผู้สอบบัญชีระดับปรมาจารย์ชอบใจ กกบ.ตัดสินใจเลื่อนมาตรฐานใหม่บัญชี IFRS9 ออกไปอีกปี เป็น 1 มกราคม 2563 ไทยมีแต่ได้มากกว่าเสีย เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน/กำหนดมาตรฐานทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องให้แน่ชัดรัดกุม ส่งผลดีต่อสุขภาพฐานะการเงิน/การลงทุน และการลงบัญชี/ตรวจสอบแบบนี้ ใครเล่าจะไม่ชอบ เรียกร้องทุกหน่วยงานปฏิบัติภารกิจให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงวันบังคับใช้ดีกว่า
ตกลงมาตรฐานใหม่บัญชี ฉบับ IFRS9 ถูก กกบ.เลื่อนบังคับใช้ออกไปอีก 1 ปี เป็น 1 มกราคม 2563 ดีไหม
การที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) ที่ได้เลื่อนไปอีก 1 ปี ก็ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดแล้ว เรื่องนี้เริ่มต้นเกิดจาก กกร.ได้ขอให้เลื่อนออกไป 3 ปีแต่ก็ได้มา 1 ปีถือว่าดีแล้ว ทุกคนน่าจะเตรียมความพร้อมได้ แต่ทุกวันนี้เราก้าวข้ามเรื่องไทม์ไลน์ไปแล้ว แต่ภารกิจทุกหน่วยงานจะต้องเริ่มดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป ไม่ใช่บอกว่าปี 2563 แล้วระหว่างนี้จะหยุดหมดเลย ทุกคนต้องเตรียมตัวหมดเลยโดยผู้เกี่ยวข้องมีความสำคัญ ประกอบด้วย
1. กกร. คือ คณะกรรมร่วมภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมธนาคารไทย จะต้องติดตามผลการศึกษาที่กกร.ว่าจ้างมหาวิทยาลัยหอการค้า ซึ่งศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้บัญชี IFRS 9 ว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจมากน้อยเพียงใด อันนี้ก็กำลังศึกษาอยู่คงใช้เวลาไม่กี่เดือนถึงจะรู้ผล เพื่อใช้ในการวางแผนและเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ทั้งสถาบันการเงิน SME กับ Non-Bank และถ้าหากว่ารุนแรงก็ต้องหามาตรการการเยียวยา เพราะอย่างที่รู้กันว่าธนาคารต้องบริหารงานยากขึ้น ต้องติดตามหนี้ทุกรายการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ตกลงไปใน Stage 2 ที่ถือว่าแย่แล้ว และธนาคารต้องเพิ่มต้นทุนบริหารเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นตรงนี้ถ้าทางกกร.เห็นแล้วว่ามีสิ่งที่ภาครัฐหรือสภาวิชาชีพบัญชีต้องช่วยเหลืออะไรบ้างก็ต้องเตรียมความพร้อมมา
ส่วนที่ 2 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเร่งให้สถาบันการเงินเตรียมตัวล่วงหน้าในการทำรายงาน เช่น Delta Set สมัยที่ผมเคยอยู่แบงก์ Delta Set เป็นเรื่องใหญ่ทำยากมาก หรืออย่างอื่นที่ต้องถือปฎิบัติเพราะว่าสถาบันการเงินต้องไปปรับแก้โปรแกรมงาน การปรับแก้โปรแกรมงานต้องใช้เวลาพอสมควร หรือเวลาที่ Delta ไม่พอก็ต้องไปหาเพิ่มเติม แต่ผมคิดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคงดำเนินการเรื่องนี้อยู่
ส่วนที่ 3 คือ ตลาดหลักทรัพย์ สำนากงานก.ล.ต. นักวิเคราะห์ รวมถึงนักแต่งตัวเลขทางบัญชีด้วย โดยเฉพาะเมื่อเราต้องใช้ IFRS 9 ปัญหาเกิดขึ้นว่ามา ถ้าเราเปรียบเทียบงบการเงินซึ่งเป็นผลการดำเนินงานของบริษัทจะยุ่งยากมากขึ้น เพราะข้อมูลที่นำมาทำโมเดล ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ต้องทำโมเดลจะมีความแตกต่างกัน เมื่อโมเดลต่าง Delta ต่าง ผลลัพธ์ก็ต้องต่าง มันจะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นมา คิดว่าทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต.คงจะรู้และนักวิเคราะห์ก็น่าจะรู้ ถ้าเขาศึกษามาตรฐานฉบับนี้ เนื่องจากตัวเลขที่นำมาทำโมเดลเป็นตัวเลขที่เกี่ยวกับ Macro Economic เป็นเศรษฐกิจเรื่องของมหาภาค ตัวเลขทางด้านมหาภาค ตัวอย่างเช่น GDP ที่มีหลายสำนักทำ ราคาน้ำมันออกมาทางไหน ราคาทองคำ ราคาเหล็กเส้น ราคาปูน ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย
และความแตกต่างของข้อมูล เช่น แหล่งที่มาของข้อมูลที่มาจากแหล่งไหน เวลาใช้ก็แตกต่างกัน อย่างใช้เวลานี้อีกราคาหนึ่ง เวลาอื่นอาจใช้อีกราคาหนึ่ง การให้น้ำหนักถ่วงที่เวลาจะให้น้ำหนักอันนี้มากหรือน้อย อันนี้ที่อยากให้อันไหนดีก็ถ่วงอันนี้เยอะถ้าไม่ดีก็ถ่วงน้อย สถิติความถี่ พอร์ตของลูกค้า และการแยกเซกเมนต์ต่างๆ Business Model สินค้าในฤดูต่างๆ ตัวภูมิเศาสตร์ การทำธุรกิจในหลายประเภทที่แตกต่างกัน อันนี้คือต้องนำตัวเลขมาใช้ซึ่งยังมีอีกเยอะ
ทีนี้นักแต่งตัวเลขทางบัญชีเนื่องจากมาตรฐานบัญชีมีกฎอยู่ 2 กฎ กฎแรก คือ Rule Base เป็นการกำหนดแน่นอนตายตัว คือถ้าทำ A ก็ต้องเป็น A ถ้าจะใช้ B ก็ต้องเป็น B ห้ามใช้อย่างอื่น แต่ถ้าอีกฉบับเป็น คือ การกำหนดเพียงหลักการ และเปิดโอกาสให้ปรับให้สอดคล้องกับการถือปฎิบัติของบริษัทและการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจทางบัญชีอย่างสมเหตุสมผล เพราะตรงนี้ไม่มีใครตอบได้ว่าการใช้ดุลยพินิจจะเหนื่อยนะ เพราะฉะนั้นฉบับ 9 นี้เป็นเรื่องของการใช้ดุลยพินิจ เพราะปัญหาที่นำตัวเลขมาทำโมเดลในการใช้ทำ Macro Economic ซึ่งกว้างขวางหลากหลายทำให้ผู้ไม่สุจริตมีโอกาสใช้ข้อสมมุติฐานของตัวเลขที่มีประโยชน์ต่องบการเงินปรับแต่งให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ถามว่าใครจะติดตาม ใครจะเปรียบเทียบ ใครจะป้องกัน ตรงนี้ตลาดหลักทรัพย์กับก.ล.ต.ก็จะเหนื่อย ทุกคนก็จะฝากความหวังไว้กับผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตซึ่งคงไม่สามารถรู้เท่าทันในเชิงลึกซึ่งเป็นปัญหากับผู้สอบบัญชี เพราะว่าอย่างที่ได้เห็นกันหลายเคสที่เกิดขึ้นว่าทำไมผู้สอบบัญชีถึงไม่รู้ ซึ่งทุกคนรู้เมื่อเกิดเรื่องแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมหรือผู้คุมกฎทั้งนั้นที่เกิดเรื่องแล้วถึงจะได้เห็น แล้วทำไมถึงไม่เป็นแบบนั้นแบบนี้ซึ่งพวกนี้ยังมีกฎอีกเยอะแยะ แต่เรื่องนี้สำคัญเพราะผู้ควบคุมกฎจะต้องลึกซึ้งและคุมให้อยู่ ปรากฎว่าถ้าแต่งตัวเลขแล้วหุ้นขึ้นแล้วขายทิ้งงานก็จะเข้า ผมเลยต้องฝากตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล รวมทั้งแบงก์ชาติช่วยติดตามดูแลอีกทางหนึ่งด้วย
หน่วยงานที่ 4 สภาวิชาชีพบัญชี จะต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการ อันนี้สำคัญเพราะนายกสภาฯ ได้มีการคุยเมื่อช่วงที่ผ่านมาและได้ให้นโยบายมาว่าจะต้องมีการจัดคู่มือในการปฏิบัติงาน ถ้ามีคู่มือก็จะช่วยได้เยอะแต่คนทำต้องมีความรู้มีประสบการณ์ ส่วนใหญ่แปลมาจากฝรั่งมามันคนละแบบกันซึ่งธุรกิจก็ไม่เหมือนกัน การให้ความรู้ต่อเนื่อง หมายความว่า เมื่อมีความรู้ใหม่ๆมาต้องมีการอัปเกรดกับผู้ปฏิบัติและผู้สอบบัญชี คือ ตอนนี้ต้องช่วยผู้สอบบัญชีด้วย จะต้องจัดทำแนวทางในการตรวจสอบเพื่อช่วยผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบเรื่องนี้ให้ได้ และเปิดช่องทางในการถามตอบคำถามให้ผู้ปฎิบัติและผู้สอบบัญชีช่วยเหลือกัน ติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นกับ IFRS 9 ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ใช้แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและปฎิบัติได้ คือ บ้านเราหาวิธีแก้ปัญหาได้แต่ทำไม่ได้ เพราะนายกฯ ได้เน้นว่าต้องปฏิบัติได้
หน่วยงานที่ 5 คือ ผู้สอบบัญชี อันนี้สำคัญมากเพราะขนาด Rule Base ยังเหนื่อย อันนี้ยิ่งเหนื่อยนักยิ่งขึ้น เพราะต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้า หมายถึงต้องศึกษามาตรฐานอย่างดีพอ ผู้สอบบัญชีจะมีทั้งบิ๊กโฟร์ที่มีต่างประเทศอยู่และบริษัทของคนไทย จะต้องหาแนวทางในการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ หมายความว่า สภาวิชาชีพบัญชีต้องช่วยด้วย เพราะฉะนั้นควรต้องปรึกษากับสภาวิชาชีพบัญชีอย่างใกล้ชิด
หน่วยงานที่ 6 คือ สถาบันการเงิน ซึ่งถูกผลกระทบทางตรง SME จะเป็นทางอ้อม เรื่องมาตรฐานบัญชีจะมี 2 เรื่อง คือ 1. How to ทำอย่างไรให้ได้ ทำให้เป็น และ ทำให้สำเร็จ มาตรฐานบัญชีที่ออกมาคือต้องทำให้ได้และทำให้สำเร็จ และ 2. ผลกระทบจะเจ็บหมดไหม เจ็บถึงใคร เจ็บถึงประเทศไหม เราต้องดูตรงนี้ให้ถ่องแท้ ตรงนี้เรื่อง How To ถือว่าสถาบันการเงินไม่ห่วงแล้วเพราะว่าเรียนรู้กันมาเยอะแล้ว และมีการเข้าไปช่วยกันหลายเรื่องแล้ว แต่อีกเรื่อง คือ ผลกระทบ จึงขอฝากสถาบันการเงินว่าให้ดูผลกระทบจากการศึกษาของกกร.ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าจะต้องทำให้เสร็จ และรอดูผลกระทบจากสถาบันการเงินที่มีการทดสอบไปเรื่อยๆ และดูของต่างประเทศว่ามีอะไรที่เขาทำแล้วเกิดปัญหา
การเตรียมเรื่องรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับให้ทราบ แปลว่าแบงก์ต้องรู้ว่าผู้กำกับจะต้องการรู้ข้อมูลหรือรายงานแบบไหน รูปแบบรายงานต้องทำในโปรแกรมอย่างน้อยต้องมี 6 เดือนเพราะผมมีประการณ์ตรงนี้อยู่ ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยออกให้แบงก์เร็วที่สุดจะได้ปรับตัวและแก้ไขได้ อย่าง Delta ไม่มีก็ต้องไปรีบค้นหามาเพราะว่า Delta ของใหม่ต้องค้นหาหลายปีมาก ต้องศึกษาดูว่าผลกระทบใดยังดูไม่ครบถ้วน ทำไปถึงจะรู้ว่าครั้งที่แล้วที่มาคุยกับสภาวิชาชีพบัญชีที่ได้รับมา 8-9 เรื่อง ดูแล้วมีปัญหาเพิ่มเติมอีก ผมจะเปิดช่องให้ว่าเราต้องมาคุยกัน ผมจะได้ไปคุยกับทางคณะกรรมการพระราชกำหนด
ที่น่าห่วง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่าเขารับรู้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเกิดเขาไม่รู้แล้วบรรดาผู้ตรวจสอบบัญชีว่าขอขึ้นค่าตรวจสอบก็จะไปกระทบต่อผู้ถือหุ้น
ถ้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ๆ น่าจะมีการเข้าอบรมในกลุ่มสภาวิชาชีพบัญชีบ้างแล้ว ท่านนายกสภาวิชาชีพบัญชีคงมอบหมายทางสภาฯทำการให้ความรู้เพิ่มเติม
2. เรื่องการตรวจสอบ ทางสภาฯก็อยากช่วยผู้ตรวจสอบให้มีความรู้ตรงนี้เพื่อว่าช่วยแล้วเมื่อมีแนวทางผู้ตรวจสอบก็ได้แรงช่วยส่วนหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาจะไปคิดเงินกับลูกค้าก็ต้องเกรงใจสภาฯบ้าง เพราะถ้าเราช่วยกันแบบนี้ค่าตรวจสอบคงไม่น่าจะขึ้นมาก แต่อย่าลืมว่ามีเรื่องโมเดลเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อมีโมเดลเข้ามาเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินการตรวจจะยุ่งยากมากขึ้น แล้วใครจะมารับรองโมเดล
ระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ 15 วัน ทันไหม
ก็ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าแล้วข้อมูลพร้อม การตรวจสอบคือมีไปเรื่อยๆ สมมุติว่าในไตรมาสต้องคุยกันเลย อย่าไปรอถึงสิ้นไตรมาสคงจะไม่ทัน เวลาเราทำงานจะไทม์มิ่งถอยหลังกลับมาว่าภายในวันที่เท่านี้จะต้องคุยเรื่องนี้ มันก็จะจบตามเวลานั้นได้ ในแง่ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังพอได้ มาถึงผู้ประกอบการรายกลางที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์พวกนี้ก็ต้องเตรียมตัวเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการแบบง่าย แต่แบบง่ายก็ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบบัญชีว่าจะยอมหรือไม่ยอมซึ่งอันนี้ก็ต้องมาถกเถียงกันอีก
ผู้ลงทุนต้องเรียนรู้อะไรใหม่ไหม
ผู้ลงทุนจะอ่านงบ การอ่านงบการเงินจะยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่างบการเงินที่ออกมา แบงก์ ก. และ แบงก์ ข. อาจจะไม่เหมือนกัน การที่กำไรที่แตกต่างกันอาจจะมาจากเรื่องโมเดลก็ได้ ตรงนี้ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบ และทุกคนบอกว่าใช้โมเดลถูกต้อง แต่แบงก์ A อาจจะดีกว่าแบงก์ B มาจากโมเดลก็ได้ เพราะตอนนี้ทุกอย่างมีเรื่องโมเดลมายุ่งเรื่องเงินสำรอง ทุนสำรองตัวใหญ่ตัวนี้เป็นเรื่องกำไรเพิ่มหรือลด ผู้คุมกฎถึงยุ่งยากมาก ในฐานะผู้ประกอบการ SME ทางสภาฯเราห่วงใยมากที่สุด เพราะว่าหัวใจธุรกิจในประเทศเรามาจาก SME ทั้งนั้น ก็ต้องฝาก SME ให้ปรับตัวในการประกอบธุรกิจโดยเฉพาะการชำระหนี้กับเงินกู้ธนาคาร คือ ต้องสร้างวินัยทางการเงินอย่างเข้มงวด แบงก์ต้องคุยกับลูกค้าว่าจะต้องใช้วินัยทางการเงินในอนาคตว่าในการทำธุรกิจพอเจริญรุ่งเรืองแบก์ก็อยากปล่อยเพิ่ม พอมีเงินแล้วใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะยุ่ง สิ่งนี้แบงก์ต้องช่วยและสร้างวินัยทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SME แล้ว SME ก็ต้องระวังการประกอบธุรกิจด้วย ก่อนการขยายกิจการให้พิจารณารอบคอบ
เวลาที่เลื่อนไปจากที่เราเคยประกาศใช้ 1 มกราคม 2562 เป็น 2563 ต่างชาติรับได้ไหม
เท่าที่ทราบจากงานวิจัยมาไม่มีปัญหา แต่ต้องยอมรับว่าสมมุติเราเป็นหน่วยงานก.ล.ต.ซึ่งเป็นผู้ถือกฎของก.ล.ต.โลกเป็นหน่วยงานที่ดูแลผู้ลงทุนก็ต้องยืนตามมาตรฐานสากล อันนี้ทำหน้าที่ของตัวเองถือว่าถูกต้องแล้วว่ายืนยันไปว่าไม่ได้ห้ามเลื่อน จะมีหน่วยงานที่เป็นสถาบันการเงินที่จะรู้ว่าเกิดเรื่องขึ้นมาทันทีทันใดแบงก์จะเหนื่อย แต่การเลื่อน 1 ปีทำให้เขาแข็งแรงขึ้น เขามีโอกาสได้ตั้งเงินสำรอง ถ้าผมเป็นนักลงทุนผมก็ดีใจว่าในแง่ของไทยถ้าขยับแล้วทำให้แข็งแรงขึ้นใครเขาจะไม่เอา เมื่อมีการเตรียมตัวให้พร้อมกัน เที่ยวนี้ทำให้คนตื่นตัวเรื่องมาตรฐานการบัญชีอย่างมาก
เคยได้ประชุมกับทาง สนช.เรื่องกฎหมายภาษีอากรเกี่ยวกับการกำหนดราคาอวน กว่าที่กรมสรรพากรจะออกประกาศต้องผ่านสนช.ก่อน ปรากฎว่ามีการอภิปรายเรื่องนี้ในคณะอนุกรรมธิการภาษีของสนช. ประธานเป็นคนเก่งมากเคยเป็นอดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ ท่านควบคุมการประชุมดีมากและมีการอภิปรายทุกแง่มุมทั้งผู้ปฎิบัติ ผู้ออกกฎ และดูผลกระทบทุดจุด โดยเฉพาะผลกระทบต่อประเทศชาติถ้านำมาใช้แล้ว ถึงจะสากลแต่ถ้าใช้แล้วประเทศชาติพังก็ต้องมาดูกันว่าจะแก้กันอย่างไร ทำไมต้องใช้ ผู้ประกอบการรับภาระอย่างไร ประเด็นใดไม่ชัดเจนท่านประธานจะให้นำเสนอใหม่จนกว่าชัดเจน
ผมกลับมีความเห็นว่ามาตรฐานบัญชีที่ประกาศใช้เป็นกฎหมาย และสมัยนี้ในต่างประเทศเก่งเรื่องบัญชีก็จะออกบัญชีใหม่เข้ามาและไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง กระบวนการประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีเลยคิดว่าน่าจะเสนอต่อรัฐสภาและพิจารณารอบคอบทุกด้าน และออกมาเป็นพระราชกิจจานุเบกษาถูกกฎหมาย ก็ฝากพวกที่เกี่ยวข้องด้วย ถ้าทำได้แบบนี้ถือว่าไม่เลว
ฝากถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถือว่ามีส่วนสำคัญมากเพราะดูเศรษฐกิจมหาภาค จะขอให้ช่วยติดตามผลรวมของผลกระทบ IFRS 9 ในต่างประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบในการแก้ไขปัญหาและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME เมื่อไหร่ที่ SME มีปัญหาแบงก์ก็มีปัญหาเงินกู้นอกระบบก็จะมา เพราะบบส. (บริษัทบริหารสินทรัพย์) ก็ต้องเตรียมตัวรับซื้อหนี้ เมื่อ SME มีปัญหาแบงก์ไม่อยากถือก็ขายหนี้ให้ บบส.กลายเป็นวุ่นกันหมด
ส่วนบริษัทลูกที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แต่มีบริษัทแม่จดทะเบียนในตลาด ต้องถือกฎตามบริษัทแม่ด้วย
มาตรฐานฉบับนี้มีเรื่องการบัญชีที่แตกต่างกับข้อกำหนดของสรรพากรหลายเรื่อง ต้องขอให้ทางสรรพากรช่วยเร่งพิจารณาว่าจะต้องให้หรือไม่ให้อย่างไร เพราะไม่อย่างนั้นทางผู้ปฎิบัติต้องไปทำบัญชีที่ต้องเตรียมให้กับสรรพากรด้วย เช่น การรับรู้รายได้ สรรพากรใช้เกณฑ์คงค้าง เงินกู้ติด 2 เดือน ดอกเบี้ยค้าง 3 เดือน แต่ว่า EAR คำนวนตามคณิตศาสตร์อีกแบบ พอคำนวนออกมาแล้วตัวเลขคนละตัวกัน ผ่อนเดือนละ 1,000 บาท ดอกเบี้ย 100 บาท เงินต้น 100 บาท พอ EAR ออกมาดอกเบี้ย 80 บาท พอเป็นแบบนี้ภาษีผิดเลย การสำรองหนี้ศูนย์จะให้แบงก์ไหม ถ้าให้แบงก์รัฐบาลจะต้องเตรียมเงินอย่างไรเพราะภาษีที่สำรองของแบงก์ แล้วหมายความว่าภาษีของสรรพากรจะน้อยลงด้วย