ทีมวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส เพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นไทย ระบุตลาดหุ้นไทยกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง หลังเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นของการแพร่ระบาดโควิดและการเปิดเมือง อีกทั้งดัชนีหุ้นไทยยัง Laggard ตลาดหุ้นอื่นๆ อยู่มากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด แต่ต้องระวังกระแส Fund Flow ไม่จีรัง ต้องจับตา QE Tapering ด้านทิสโก้แนะจับตาการประชุม Fed 22 กันยายน เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของทิศทางตลาดหุ้นกดดันหุ้นทั่วโลกปรับฐาน ส่วนทรีนีตี้ให้ Let Profit Run
รายงานจากทีมกลยุทธ์ บล.เอเซีย พลัส หรือ ASPS ชี้ทิศทางการลงทุนในเดือนกันยายน เดือนส่งท้ายไตรมาส 3/2564 ระบุตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสเดินหน้าต่อ ทั้งนี้จากสัญญาณ COVID-19 ที่ดูดีขึ้นในหลายมิติ ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มลดลง ความเพียงพอของวัคซีน และการเดินหน้าฉีดวัคซีนให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ภายในปีนี้
อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง เพราะการขยับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นยังขาดความมั่นคง รวมถึง Fund Flow ที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา (ทำให้เดือนสิงหาคมนักลงทุนต่างชาติมียอดกลับมาเป็นซื้อสุทธิราว 5,500 ล้านบาท) นั้นยังขาดความเสถียร
ASPS ให้มุมมองว่า ที่ว่า เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าไทยยังขาดความเสถียร คืออาจไม่ได้เข้ามาอย่างยั่งยืนนั้น มีเหตุผลประกอบคือ
1) ความกังวลประเด็น QE Tapering มีโอกาสเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเงินเฟ้อสหรัฐยังยืนระดับสูงต่อเนื่องจากฐานต่ำช่วงไตรมาส 4/2563 ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐมีการ Lockdown พอดี
2) ตลาดหุ้นโลกปัจจุบัน มีค่า P/E ที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 ช่วงต้นปี 2563 แล้ว อาทิ ตลาดหุ้นไทย ปัจจุบันมี P/E สูงกว่า 20 เท่า แต่ช่วงก่อนเกิด COVID-19 ซื้อขายบน P/E ที่ 18-19 เท่า เท่านั้น
3) แม้ภาพรวม กำไรบริษัทจดทะเบียนครึ่งปีแรก 2564 ออกมาดี 5.35 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 121%yoy) ส่งผลให้นักวิเคราะห์มีการปรับลดกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2564 ลงน้อยกว่าคาด (ฝ่ายวิจัย ASPS ปรับขึ้นเป็น 73.6 บาท/หุ้น) แต่แนวโน้มกำไรช่วงครึ่งปีหลัง 2564 มีโอกาสลดลง -42% HoH ถือเป็นอุปสรรคในการขยับขึ้นของดัชนีหุ้นไทย
ทั้ง 3 ปัจจัยที่กล่าวมา อาจส่งผลให้ Fund Flow ที่ไหลเข้าในช่วงนี้ อาจเป็นลักษณะการเก็งกำไรเป็นรายประเทศในช่วงก่อน Fed เริ่มลด QE เท่านั้น ขณะที่แรงขับเคลื่อนตลาดต่อจากนี้ ต้องพึ่งพิงเม็ดเงินในประเทศเป็นหลัก เนื่องจาก กนง. น่าจะยังไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ ทำให้ยังเห็นการ Search for Yield ของนักลงทุนในประเทศต่อเนื่อง
สะท้อนได้จากในปีนี้ ยังมีแรงหนุนจากนักลงทุนรายย่อยที่ซื้อสุทธิ หุ้นไทยสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการเปิดบัญชี ซื้อขายหุ้นใหม่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีสูงถึง 1.25 ล้านบัญชี (เพิ่มขึ้น 173% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน)
ในมุมของ Valuation ฝ่ายวิจัย ASPS คงดัชนีเป้าหมายที่ 1,670 จุด ถือว่าสมเหตุสมผล ภายใต้ EPS64F ที่ 73.6 บาท/หุ้น มี Market Earning Yield Gap อยู่ที่ระดับ 3.9% (ระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยใน อดีต) และ EPS Growth64F ที่ 38% รวมถึง PER64F ที่ 22.7 เท่า
“กลยุทธ์ในการเอาชนะตลาดในเดือนกันยายน ต้องเน้นหุ้นที่มีผลประกอบการช่วงที่เหลือของปีโดดเด่น มีปัจจัยเฉพาะตัวหนุน โดยแบ่งธีมการลงทุนหลักๆ ออกเป็น 3 ธีม 7 หุ้นเด่น คือ หุ้น 1. Low Interest Rate : SPAL , JMT 2. Earning Momentum : SFLEX, KCE 3. Re-open Economy : M, COM7, AOT
Kommentare