top of page
312345.jpg

ระวัง! วิกฤต Sanction อิหร่าน น่ากลัวกว่าซาอุฯ


Interview: ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์

 

เตือนระวังวิกฤตแซงชั่น “อิหร่าน” รอบใหม่ ส่งผลกระทบโลกน่ากลัวมากกว่าวิกฤตซาอุฯ เชื่อสหรัฐอเมริกาไม่กล้าแตกหักกับพันธมิตรชาติสำคัญในตะวันออกกลาง กระทบเสถียรภาพกับผลประโยชน์มากมายมหาศาล นอกเหนือจากผลักไสซาอุฯ ไปพึ่งจีน-รัสเซียศัตรูตัวกลั่น

ให้น้ำหนักในเรื่องบอยคอตแซงชั่นอิหร่านรอบใหม่ กับเรื่องวิกฤตซาอุฯมากน้อยแค่ไหน

อิหร่านเป็นเรื่องที่มีน้ำหนักที่สุด และอาจจะไม่ใช่มาตรการที่จะถอนออก และตัวนี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันที่ตกลงไปกลับขึ้นมาใหม่ในอนาคตได้เหมือนกัน

ส่วนเรื่องซาอุฯ โดยพื้นฐานก็คือว่า ซาอุเขาพยายามเปลี่ยนแปลงประเทศเศรษฐกิจของเขา โดยเฉพาะภายหลังจากที่มีมกุฎราชกุมารคนใหม่เจ้าชายโมฮัมเมด บิน ซัลมาน ขึ้นมามีอำนาจในปีที่แล้ว เริ่มขยับไปเยอะเหมือนกัน คือพยายามผันตัวเองออกจากธุรกิจน้ำมัน แล้วก็พยายามทำให้การจับจ่ายใช้สอยพึ่งน้ำมันเยอะให้ลดลง ตรงนี้ก็มีส่วนเหมือนกันทำให้ซาอุ หันเหออกจากธุรกิจน้ำมัน แล้วก็ไม่เพิ่มน้ำมันมากนัก แต่ว่าพอ “จามาล คาช็อกกี้” นักข่าวถูกสังหาร นักข่าวชื่อดังที่มีความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาด้วย ตรงนี้ก็ทำให้สหรัฐอเมริกาหนักใจ

ส่วนตัวผมให้น้ำหนักไม่มากเพราะว่า “จามาลคาช็อกกี้” ถึงแม้ว่าจะมีบทบาทสำคัญกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แล้วก็มีผลต่อเสียงในรัฐสภา แต่ว่าสำหรับทำเนียบขาวแล้ว ถึงอย่างไรเขาก็มองว่าซาอุเป็นพันธมิตรสำคัญในตะวันออกกลาง แล้วการทำอะไรก็ตามที่ทำให้เสถียรภาพมีปัญหา ก็เป็นอะไรที่เขาต้องหลีกเลี่ยงที่สุด เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็ต้องเป็นอย่างนั้น

สมมุติว่าถ้าความตึงเครียดมันเกิด มันผิดปกติขึ้นมาจริงๆ อะไรจะเกิดแทน มันก็ต้องดูว่ามันเกิดจากอะไรด้วยเหมือนกัน ถ้าเกิดจากสหรัฐอเมริกาแซงชั่น ก็มีโอกาสกระทบกับราคาน้ำมันเยอะเหมือนกัน ถ้าไม่ถึงขั้นแซงชั่น ก็จะกระทบกับน้ำมันน้อยแล้วทางซาอุฯก็อาจจะต้องขายน้ำมันในสหรัฐอเมริกาถูกลง สังเกตว่าราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาตอนนี้ถูกลงมาก แล้วซาอุก็แบ่งสาขาไปขายน้ำมันในสหรัฐอเมริกาในราคาที่ถูกลงด้วยเพื่อแข่งกับสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น น้ำนักส่วนตัวยังคิดว่าโดยยุทธศาสตร์ ทางสหรัฐอเมริกายังต้องรักษาซาอุไว้กับตัวเอง มากกว่าให้ซาอุไปเผชิญความลำบากในตะวันออกกลาง แล้วก็ทำให้รัฐบาลซาอุ ต้องไปพึ่งจีนหรือไปพึ่งรัสเซีย เป้าหมายของสหรัฐอเมริกา อย่างไรเป้าหมายของเขาก็อยู่ที่จีน แต่ว่าความไม่สบายใจเกิดขึ้นเนื่องจากว่าทำเนียบขาว เขาพยายามช่วยเหลือทางรัฐบาลซาอุอยู่ แต่ว่าจะช่วยได้ระดับไหนเท่านั้นเอง

คงจะไม่ถึงกับแตกหัก

ไม่แตกหัก เพราะซาอุ ยังเป็นกลไกสำคัญในตะวันออกกลาง และถ้าเกิดซาอุ เกิดไปจับมือกับรัสเซียหรือจีนมันจะยุ่งไปกันใหญ่ ถ้าเกิดว่าสหรัฐอเมริกาไปแซงชั่นเขา เพราะรัฐบาลซาอุเขาเป็นรัฐบาลที่รวบอำนาจ ทุกอย่างเป็นสัญลักษณ์ของการปกครอง เพราะฉะนั้นเขาถอยไม่ได้เหมือนกัน

สบายใจได้เหมือนกันว่าราคาน้ำมันคงจะลงไปได้อีกนิดหน่อย คงจะอยู่ประมาณนี้ คิดว่าคงจะลงไปได้อีก 2-3 เหรียญต่อบาร์เรล หรือ 66-67 ประมาณนี้ แต่ถ้าขึ้น คงจะขึ้นไปถึง 75 เหรียญต่อบาร์เรล

42 views
bottom of page