top of page
327304.jpg

BREXIT ส้มหล่นไทย...เจรจาทวิภาคี FTA


รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ กล่าวในรายการ “เซียนเศรษฐกิจ” ที่จัดโดยกองบรรณาธิการ “ดอกเบี้ยธุรกิจ” ถึงเรื่องสหราชอาณาจักร Brexit ออกจาก EU ในช่วงที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ได้ใช้มาตรา 50 ในสนธิสัญญาออกจากสหภาพยุโรปมาใช้ Brexit เป็นมติภายในของสหราชอาณาจักรที่ต้องการจะออกจากสหภาพยุโรป แต่เมื่อจะออกอย่างเป็นทางการก็ต้องมีกลไกลกฎหมายมาใช้ โดยใช้มาตรา 50 เป็นทางการแล้วในทางกฎหมาย ตอนนี้ก็มีการเจรจากันว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าสหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรปมีเงื่อนไข ปัจจัยสิ่งแวดล้อมอย่างไร จะอยู่ใน Single Market หรือไม่ เรื่องนโยบายการเข้าเมืองต่างๆ

“คือคนเราจะเลิกกันแล้วยังจะมีความร่วมมือกันขนาดไหน เลิกแบบเด็ดขาดเลยหรือยังมีเยื้อใยกันบ้าง ก็เป็นการเจรจาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป” รศ.ดร.ฐิตินันท์กล่าวและพูดถึงผลกระทบที่ตามสหราชอาณาจักรจะมีความโดดเดี่ยวมากขึ้นเต็มตัว เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นแต่มีผลกระทบหลายอย่าง เท่าที่สังเกตสถาบันการเงินบางแห่งอาจจะย้ายออกจากลอนดอน เพราะกลัวว่าจะไม่ได้สิทธิพิเศษแบบสหภาพยุโรป แต่พอเอาเข้าจริงแล้วในช่วง 1-2 ปีอาจจะมีบ้างที่เล็กน้อยที่ออกไปแต่โดยรวมแล้วก็ยังมีอยู่ เพราะว่าสถาบันการเงินที่อยู่กันมีขนาดใหญ่การจะออกไปก็ยากเหมือนกัน

“ผลกระทบต่อไทย เท่าที่ทราบมาว่าในแวดวงการฑูตของทางสหราชอาณาจักรต้องการให้สหภาพยุโรปกระชับความสัมพันธ์กับไทยให้มากขึ้น เพราะว่าทางสหราชอาณาจักรต้องการมีความสัมพันธ์เดินหน้ากับไทย สหราชอาณาจักรจะออกแล้วแต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้เพราะสหภาพยุโรปมีนโยบายร่วมกัน คือ ถ้ามีนโยบายทหารร่วมกันก็อาจจะไม่ทำอะไร หรือจะไม่มีรัฐมนตรีหรือสมาชิกอาวุโสของรัฐบาลไหนมาเยือนไทย ซึ่งสหราชอาณาจักรต้องการจะแก้จุดนี้เพราะรู้แล้วว่าจะ Brexit และเมื่อสหราชอาณาจักรออกแล้วก็จะดำเนินการหรือเดินหน้าทางทวิภาคีมากขึ้น ก็อาจรวมไปถึงการเจรจาหรือมีการค้าเสรีกับไทยอย่าง FTA ได้หรือไม่”

ดร.ฐิตินันท์ตั้งข้อสังเกตว่าการเตรียมตัว Brexit ค่อนข้าง Hard Brexit คือ เลิกกันแบบหนักหน่อยแบบแชร์กันน้อย สหราชอาณาจักรน่าจะออกจาก Single Market และเมื่อออกแล้วก็ต้องหันมาหาสหรัฐอเมริกาและเอเชียมากขึ้นก่อนที่จะเข้ามาเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วทางสหราชอาณาจักรก็จะกลับไปทำแบบนั้นมากขึ้น ความสัมพันธ์กับทางยุโรปจะลดลงมาก แล้วจะหันไปหาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เครือจักรภพทั้งหลาย และรวมไปถึงเอเชีย

“ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลต่อไปก็เห็นแล้วว่าระบบทุนนิยมไม่ค่อยเดินหน้าแล้ว คือจะเข้าสู่ระบบทวิภาคีมากขึ้นอย่าง AEC แต่ก็จะเรื่องระบบทวิภาคีมากขึ้น รัฐบาลก็ต้องมาดูเรื่องทวิภาคีโดยเฉพาะเรื่อง FTA ทั้งหลาย เพราะ FTA ของไทยในอดีตเป็นเรื่องอื้อฉาวมีประสบการณ์ไม่ดีไม่โปร่งใส แต่ในอนาคตเรื่อง FTA จะต้องทำ และต้องทำแบบโปร่งใส รัดกุม และต้องสร้างบุคคลากรเพื่อไปเจรจาเรื่องพวกนี้ เพราะในที่สุดแล้วระบบการค้าโลกต่อไปจะไม่เป็นแบบระบบทุนนิยมแล้ว เป็นการรับมือนโยบายการค้าของเศรษฐกิจโดยรวม การที่สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปเป็นเรื่องใหญ่ ต่อไปสหภาพยุโรปก็ยังมีเยอรมันเป็นหลักอยู่ซึ่งสหภาพยุโรปก็ยังอยู่ได้ แต่ไทยก็รู้ว่าในอนาคตสหภาพยุโรปจะไม่สดใสเหมือนเดิม ก็ต้องมาดูในเอเชียมากขึ้น ลาตินอเมริกา หรือ แอฟริกามากขึ้น สำหรับสหราชอาณาจักรต้องดูตัวต่อตัวในเรื่องทวิภาคีโดยเฉพาะการพิจารณาสนธิสัญญา FTA ระหว่างกัน”

24 views
bottom of page