top of page
312345.jpg

เทเรซา- “Soft Brexit”...ความเสี่ยงถูกจำกัดวง


จากที่กังวลและเป็นประเด็นปัจจัยลบ ด้วยความเป็นห่วงว่าอังกฤษจะใช้วิธีการที่แข็งกร้าว - Hard Brexit กลายเป็น Soft Brexit มร.เมสเซนเจอร์ชี้ เป็นความเสี่ยงถูกจำกัดวง หลังนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ของอังกฤษ ได้แถลงการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อ 17 มกราคม ที่ผ่านมา

ก่อนการแถลงการณ์ของนางเทเรซ่า เมย์ ...ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนว่า สถานการณ์ Brexit จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินโลก

นายรามิน นาคิซา นักวิเคราะห์จากยูบีเอส ระบุว่า Brexit จะทำให้สกุลเงินสำคัญของโลกเกิดความผันผวน และส่งผลต่อการขยายตัวของอังกฤษ ซึ่งจะกระทบจีดีพีราว 2% ในระยะยาว ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้นถึง 3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ดัชนีตลาดหุ้นอังกฤษติดลบ และมีการเตือนว่า เงินปอนด์จะทรุดตัวลงจนมีค่าเท่ากับยูโร ขณะที่ยูโร และเศรษฐกิจยุโรปก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน ทางด้านเอชเอสบีซี เตือนว่า เงินปอนด์จะทรุดตัวลงถึง 20% แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ก่อนที่จะดิ่งลงจนแตะระดับเดียวกันกับยูโร ขณะที่จีดีพีของเศรษฐกิจอังกฤษจะหายไปถึง 1.5% ส่วนนายคัลลูม พิคเกอริง จากวาณิชธนกิจเบเรนเบิร์ก ระบุว่า Brexit จะส่งผลกระทบไปทั่วยูโรโซน และตลาดการเงินหลายแห่ง รวมทั้งส่งผลต่อภาวะการเมืองในยุโรปด้วย

ในการแถลงของ นางเทเรซ่าเมย์ ระบุในการแถลงการว่า จะเริ่มกระบวนการเจรจาข้อตกลง Brexit กับสหภาพยุโรปในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม โดยจะใช้เวลา 2 ปี โดยจะใช้หลักการเจรจา 4 ข้อ ได้แก่ ความแน่นอนและความชัดเจน , การทำให้อังกฤษมีความแข็งแกร่งขึ้น , การทำให้อังกฤษมีสภาพที่ดีขึ้นและการทำให้อังกฤษมีความเป็นระดับโลกอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเจรจากับอียู จำนวน 12 ข้อภายใต้เป้าหมายใหญ่ในการทำให้อังกฤษเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์กับอียู ด้วย

นิวยอร์กไทม์ ได้รายงานว่า มีประเด็นที่น่าสนใจ 4 ประเด็น ในการแถลงการณ์ถ่ายทอดสดไปทั่วโลกถึงขั้นตอนและการเตรียมความพร้อมในการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ Brexit นั่นคือ

1. อังกฤษจะทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป (EU) หลังถอนตัวจากตลาดร่วมยุโรป (Single market) นั่นหมายถึงยังคงให้ความสำคัญกับสหภาพยุโรปในการค้าในระยะยาว

2. อังกฤษยังมีความตั้งใจจะเจรจาการค้ากับสหภาพยุโรปในรูปแบบของ custom union หรือเขตการค้าเสรีที่เรียกเก็บภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน รวมถึงการเจรจาการค้ากับประเทศอื่นนอกจากสหภาพยุโรป เช่น อินเดีย จีน เท่ากับอังกฤษจะมีอิสระในการเจรจาการค้ากับนานาประเทศมากขึ้น แต่ยังมีความตั้งใจที่เป็นมิตรกับ สหภาพยุโรปอยู่

3. อังกฤษต้องการความมั่นใจในสิทธิของการเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป ที่อาศัยในอังกฤษจำนวน 3.2 ล้านคน และพลเมืองอังกฤษที่อาศัยในประเทศของสมาชิก 1.2 ล้านคน ซึ่งก่อนหน้านี้ เทเรซ่า เมย์ ต้องการหาทางออกให้ประชาชน2 กลุ่มนี้หลัง Brexit

4. เทเรซ่า เมย์ ยืนยันว่า จะไม่ยอมรับบทลงโทษใดๆจากสหภาพยุโรปที่ว่าจะมีบทลงโทษหากอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป

สรุปคือ อังกฤษจะใช้กฎหมายเพื่อเข้าสู่กระบวนการถอนตัวจากสหภาพยุโรปในเดือนมีนาคม 2560 ซึ่งจะใช้เวลาราว 2 ปี ก่อนจะออกจากสมาชิกอย่างเป็นทางการ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ มร.เมสเซนเจอร์ ให้ความเห็นว่า ความเสี่ยงกรณี Brexit ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบเนื่องจากยังใช้เวลาอีกนานพอสมควร 2. ท่าที ของ เทเรซ่า เมย์ เป็นมิตรต่อสหภาพยุโรป ทำให้ความกดดันว่าจะเกิด Hard Brexit ลดลง

“แต่ในระยะยาว ประเด็นเรื่องสิทธิของประชาชนและบทลงโทษต่ออังกฤษ น่าจะเป็นข้อถกเถียงที่มาฃิกสหภาพยุโรปไม่ยอมถอดออกจากโต๊ะการเจรจาง่ายๆแน่นอน ตรงนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ยุโรปตรึงเครียดมากขึ้นในระยะยาว”

1 view
bottom of page