top of page
312345.jpg

คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย ควบรวมธุรกิจก้าวสู่ผู้นำตลาด

ดีลซื้อขายและควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โตเกียวมารีนประกันภัย และบริษัทประกันคุ้มภัยเสร็จสิ้นลงอย่างเป็นทางการ เหลือแต่กระบวนการจัดการภายใน หลังจากที่เริ่มดีลมาตั้งแต่กลางปี 2561 ภายใต้กลุ่มทุนยักษ์ประกันภัยญี่ปุ่นกำเงินกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท เข้ามาซื้อกิจการ เพื่อต้องการต่อยอดธุรกิจและสร้างการเติบโตให้ขยายเพิ่มขึ้น

ความคืบหน้าหลังการควบรวมกิจการ จะทำให้คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 4 ในตลาดประกันวินาศภัยไทย จากทั้งหมดเกือบ 50 บริษัท ภายใต้สัดส่วนงานรับประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล (มารีน) และประกันภัยรถยนต์

ขณะที่การจัดทัพองค์กร เพื่อพร้อมก้าวสู่การเติบโตระยะยาว บริษัทกำหนดกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจในระยะสั้นและกลาง โดยเน้นการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า จากการเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลผ่านเครือข่ายการบริการที่แข็งแกร่งทั่วประเทศ โดยบริษัทมุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนธุรกิจประกันวินาศภัยไทยสู่ความยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “Foster a Sustainable Future”

นายสุธีชัย สันติวราคม กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) กล่าวว่าขณะนี้ การควบรวมมีความคืบหน้าหลายด้าน นับจาก 3 ก.พ.ที่ผ่านมา แม้บริษัทต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ถือว่าบริษัทสามารถฝ่าวิกฤต จากการผ่านความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างทีมจากคุ้มภัยและโตเกียวมารีนประกันภัย ซึ่งทั้ง 2 ทีม ต่างนำจุดแข็งมาหลอมรวมทุกหน่วยธุรกิจขององค์กร ร่วมกันวางแผนกำหนดทิศทางและกลยุทธ์หลายด้าน โดยการผสานความร่วมมือ (Synergy) ได้แก่

1. Revenue Synergy ความร่วมมือ เพื่อสร้างรายได้จากบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของกโตเกียวมารีนกรุ๊ป ผ่านเครือข่ายสาขาทั่วประเทศ

2. Capital Synergy ความร่วมมือด้านการบริหารเงินทุน ภายใต้โตเกียวมารีนกรุ๊ป ซึ่งได้รับการจัดอันดับด้านเสถียรภาพทางการเงินจากหลายสถาบัน โดยจะส่งผลให้การบริหารงานด้านการรับประกันภัยต่อ (Reinsurance) มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. Cost Synergy ความร่วมมือด้านการบริหารต้นทุนให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าและวางแผนการรวมสำนักงานไว้ด้วยกัน

4. Investment Synergy ความร่วมมือด้านการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพอร์ตลงทุนให้สามารถจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้นและสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

จากสถานการณ์โควิด-19 แม้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการของบริษัท โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นผลจากยอดขายรถยนต์ป้ายแดงลดลงและปริมาณการส่งออกที่ลดลง แต่หลังจากมาตรการผ่อนปรนของภาครัฐ ผลประกอบการของบริษัทก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ช่วงมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา บริษัทยังสามารถดูแลและให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนจากเครือข่ายสาขาทั่วประเทศ ตลอดจนบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามมาตรการ Work from Home ไปด้วยความราบรื่น ทำให้บริษัทสามารถให้คำปรึกษาและบริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน ตลอด 24 ชม. ขณะเดียวกัน แผนดำเนินงานหลังควบรวมจากส่วนธุรกิจต่างๆ มีความคืบหน้าไปมาก การดำเนินงานเป็นไปอย่างบูรณาการมากขึ้น ปีนี้บริษัทจึงคาดว่าจะมีรายได้เบี้ยประกันรวมประมาณ 17,000 ล้านบาท

นายฮิโระโนะริ คิริว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) กล่าวว่าแผนการควบรวมธุรกิจของบริษัท จนถึงตอนนี้คืบหน้าไปมาก มีการผสานความร่วมมือเป็นทีมเดียวกัน โดยต่างนำจุดแข็งมาเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้นเดือน พ.ย.นี้ มีแผนจะย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่อาคารเอสแอนด์เอ ชั้น 2-6 ย่านสีลม

นอกจากนี้ ยังวางแผนรวมกิจการสาขาใน 23 จังหวัดที่มี 2 สาขาเข้าไว้ด้วยกัน ปัจจุบันได้รวมสาขาเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว 10 แห่ง โดยจะทำให้บริษัทสามารถดูแลและให้บริการลูกค้าและคู่ค้าได้ดียิ่งขึ้น และบริษัทยังพัฒนาระบบออนไลน์ “SafeSmart” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ตัวแทนและนายหน้าให้สามารถบริหารจัดการกรมธรรม์ประกันภัยของลูกค้าที่แจ้งไว้กับบริษัท ซึ่งการจัดทัพองค์กรครั้งนี้ จะเป็นการเสริมศักยภาพทางธุรกิจ เพื่อมุ่งยกระดับประสบการณ์ให้กับลูกค้าและยังสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่งทั่วประเทศ

“แผนงาน 3 ปีข้างหน้าของบริษัท ได้แก่ 1. เน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน 2. การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เพื่อลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำ และ 3. การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้การแข่งขันที่เข้มข้น ซึ่งกรรมวิธี Synergy Value ถือเป็นจุดเด่นของบริษัท”


คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย เน้นกลยุทธ์ผ่านช่องทางขายหลัก ได้แก่ 1. สาขาที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ 2. ฐานลูกค้าที่แข็งแก่รงจากเครือข่ายบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในไทยและกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 3. ช่องทางขายผ่านตัวแทนและโบรกเกอร์ 4. การเป็นพันธมิตรร่วมกับดีเอร์ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์และ 5. ช่องทางอื่นๆ เช่น B2B และ B2C เป็นต้น

84 views
bottom of page