top of page
312345.jpg

ทีเอ็มบี รายงานกำไรสุทธิ ปี 2563 ที่ 10,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% จากปีก่อน


ทีเอ็มบี รายงานกำไรสุทธิ ปี 2563 ที่ 10,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% จากปีก่อน หนุนโดยการรับรู้ผลประโยชน์จากการรวมกิจการกับธนชาต สำหรับไตรมาส 4 ยกระดับสำรองฯ ขึ้นแม้หนี้เสียยังอยู่ในระดับต่ำที่ 2.5% เพื่อเตรียมรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2564 ด้านการรวมธนาคารเสร็จสิ้นได้ตามแผนภายในเดือนกรกฎาคมนี้


กรุงเทพฯ, 20 มกราคม 2564 -- ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 4 และ 12 เดือน ปี 2563 โดยรวมแล้วผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 ทั้งด้านรายได้และการบริหารค่าใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ทำให้มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) 9,805 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากไตรมาสที่แล้ว รวมทั้งปี PPOP อยู่ที่ 37,266 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 90% จากปีก่อนหน้า สะท้อนถึงการรับรู้ผลประโยชน์จากการรวมกิจการ ซึ่งทำได้ตามแผนตลอดทั้งปี จากการดำเนินงานที่ดีขึ้นนี้ ธนาคารจึงตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นแม้ว่าสัดส่วนหนี้เสียยังอยู่ในระดับต่ำที่ 2.5% โดยในไตรมาส 4 ตั้งสำรองฯ อีก 8,237 ล้านบาท รวมทั้งปีเป็นจำนวน 24,831 ล้านบาท ถือเป็นการเสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินเพื่อรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจและผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2564 หลังหักสำรองฯ และภาษี กำไรสุทธิ ปี 2563 อยู่ที่ 10,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% จากปี 2562

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า สำหรับทีเอ็มบีและธนชาต เป้าหมายหลักในปี 2563 เป็นเรื่องของการดำเนินการตามแผนรวมกิจการเพื่อให้เกิดการรับรู้ผลประโยชน์ด้านงบดุล (Balance Sheet Synergy) และด้านต้นทุน (Cost Synergy) และเพื่อให้การรวมธนาคาร (Integration) เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้ แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 สิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้าทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการเสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินและบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ และกลายมาเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญในปีที่ผ่านมา

ในด้านผลประกอบการ แน่นอนว่ามีแรงกดดันด้านรายได้จากเศรษฐกิจที่หดตัวและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหลายครั้ง อย่างไรก็ดี ทีเอ็มบีและธนชาตสามารถดำเนินการตามแผนรวมกิจการได้ตามเป้าหมาย จึงทำให้เกิด Balance Sheet Synergy จากการปรับโครงสร้างเงินฝากและสินเชื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนรายได้ดอกเบี้ย ขณะที่ Cost Synergy ซึ่งเกิดจากการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดค่าใช้จ่ายที่ทับซ้อนกันระหว่าง 2 ธนาคาร ช่วยให้ธนาคารสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างดี ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานยังคงแข็งแกร่ง

ในด้านการบริหารความเสี่ยง แม้ว่าสัดส่วนหนี้เสียในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำที่ 2.50% ใกล้เคียงกับ 2.35% ในปีก่อนหน้า และลูกค้าส่วนใหญ่ที่ออกจากโปรแกรมพักชำระหนี้สามารถกลับมาชำระหนี้ตามปกติ แต่ธนาคารประเมินว่าสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่จะกลับมาสร้างแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าในช่วงถัดไป ดังนั้น จึงตัดสินใจตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากผลการดำเนินงานที่ยังคงดีอยู่ ผลลัพธ์คือสัดส่วนเงินสำรองฯ ต่อหนี้เสียซึ่งเปรียบเสมือนกันชนรับความเสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 134% เทียบกับ 120% ในปี 2562 ถือเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบและเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรองรับแนวโน้มหนี้เสียในอนาคตภายหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2563 สินเชื่อภายใต้โปรแกรมพักชำระหนี้ของธนาคารลดลงจากระดับประมาณ 40% ในช่วงเริ่มต้นโปรแกรม มาอยู่ที่ประมาณ 15% ของสินเชื่อรวม ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมหลังจากที่โปรแกรมแรกจบลง

สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินรอบ 12 เดือน ปี 2563 มีดังนี้ เงินฝากอยู่ที่ 1.37 ล้านล้านบาท ลดลง 1.8% จากสิ้นปี 2562 การลดลงดังกล่าวเป็นไปตามแผนการบริหารการเติบโตของเงินฝากให้สอดคล้องกับภาวะสินเชื่อ และการปรับโครงสร้างเงินฝากหลังการรวมกิจการ โดยการปรับลดสัดส่วนเงินฝากประจำและแทนที่ด้วยเงินฝากที่เป็นผลิตภัณฑ์หลัก เช่น เงินฝาก All Free และเงินฝาก No Fixed ซึ่งยังคงเติบโตได้ดี

เงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 1.39 ล้านล้านบาท ทรงตัวจากปีก่อน ตามการชะลอตัวของสินเชื่อใหม่ และการปรับโครงสร้างเพื่อเสริมคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ โดยการลดสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันลง ทั้งนี้ เมื่อรวมพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารธนชาตเข้ามา ส่งผลให้สินเชื่อที่มีหลักประกันมีสัดส่วนสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพอร์ตสินเชื่อรายย่อย ซึ่งประมาณ 90% ของพอร์ตเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน

ด้านรายได้ ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 53,805 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100.3% จากปีก่อนหน้า (YoY) หนุนโดยส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย หรือ NIM ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.00% จาก 2.81% ในปีก่อนหน้า เป็นผลจากการรับรู้ Balance sheet synergy และการบริหารการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 14,986 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7% YoY การเติบโตที่น้อยกว่าด้านรายได้ดอกเบี้ย สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อรายได้ค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิอยู่ที่ 10,575 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.6% YoY จากการชะลอตัวของรายได้จากการขายประกันและกองทุนรวมโดยเฉพาะในไตรมาส 2 ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 68,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72.8% YoY

ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น แม้ว่าในปีนี้ธนาคารมีการทำ Integration แต่จากการรับรู้ประโยชน์ด้าน Cost synergy ก็ทำให้สามารถบริหารค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ทำให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงมาอยู่ที่ 46% จาก 51% ในปีที่แล้ว และส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ ทรงตัวในระดับแข็งแกร่งที่ 37,266 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.6% จากปี 2562 และเอื้อให้ธนาคารสามารถตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นเป็น 24,831 ล้านบาท หลังหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารรายงานกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 10,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.0% จากปี 2562

ด้านสภาพคล่องและเงินกองทุนยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราส่วน LCR ซึ่งบ่งบอกถึงสินทรัพย์สภาพคล่องที่ใช้รองรับความผันผวนในภาวะวิกฤต ในปีผ่านมาอยู่ในช่วง 170%-220% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 100% มาโดยตลอด สำหรับความเพียงพอของเงินกองทุนยังอยู่ในระดับสูงเป็นลำดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมธนาคารไทย โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อัตราส่วน CAR และ Tier I (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.5% และ 15.4% จาก 18.9% และ 14.6% ในปีก่อนหน้า และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 11.0% และ 8.5% ตามลำดับ

นายปิติ ตัณฑเกษม กล่าวในตอนท้ายว่า “ด้วยการเตรียมการและเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินในปี 2563 ที่ผ่านมา ธนาคารมีความพร้อมในการรับมือกับปี 2564 และพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในครั้งใหม่ ด้านการรวมธนาคารคาดว่าเสร็จสิ้นได้ตามแผนภายในเดือนกรกฎาคมนี้”

 

TMB posted 2020 net profit of THB 10,112 million, up 40% from previous year on the back of synergy realization from the merger with Thanachart Bank. In 4Q20, the Bank raised provision level further although NPL ratio remained low at 2.5% in preparation for 2021 economic uncertainties. Integration is expected to be completed by July 2021 as plan.

Bangkok, 20 January 2021 - TMB or TMB Bank Public Company Limited and its subsidiaries announced today the financial performance of 4th quarter and 12 months of 2020. Overall for 4Q20 results, both income generation and expense management continued to improve from 3Q20 and led to the Pre-Provision Operating Profit (PPOP) of THB 9,805 million, an 11% increase quarter-on-quarter. For full year, PPOP was at THB 37,266 million, a 90% increase from the previous year. This reflected synergy realization as the Bank could execute the synergy initiatives as plan. With improving performance, the Bank therefore raised its provision further although NPL ratio remained relatively low at 2.5%. In 4Q20, the Bank set aside provision of THB 8,237 million and a total of THB 24,831 million for full year with objective to strengthen financial position ahead of economic outlook and Covid-19 impact in 2021. After provision and taxes, 2020 net profit was recorded at THB 10,112 million, up 40% from 2019.

Mr. Piti Tantakasem, CEO, mentioned “Key mission of TMB and Thanachart Bank in 2020 was to focus on the execution of the synergy initiatives to realize merger synergies, especially balance sheet synergy and cost synergy and the completion of integration process within this July. But when Covid-19 outbreak started, we have emphasized on providing financial supports to our affected customers as well as heightening our financial position and maintaining prudent risk management. All of these have become our top priories in 2020.

In terms of financial results, unavoidably there was a pressure on revenue side due to economic contraction and multiple interest rate cuts. Nonetheless, TMB and Thanachart Bank could execute the synergy initiatives as plan. As a result, the Bank realized balance sheet synergy value from the optimization of deposit and loan mix. Cost synergies from operating efficiency and cost saving from duplicate expense between the two banks also helped improve cost management. Consequently, operating performance remained strong.

For risk management, although the current NPL ratio was relatively low at 2.50%, compared to 2.35% in the previous year and the majority of customers who exited debt-relief program could resume normal loan repayment, the Bank expected that the new round of Covid-19 outbreak would put pressure on customers’ debt service ability going forward. Therefore, the Bank decided to raise provision level significantly given our strong operating performance. Consequently, coverage ratio which indicates risk cushion rose to 134% from 120% as of 2019. This reflected our prudent risk management and the preparation against NPL trend after the expiry of debt relief programs. Note that, at the end of 2020, loans under debt relief programs dropped from around 40% at the beginning to approximately 15% of total loan portfolio. The remaining portion are mostly under the second phase of moratorium programs.

The details of 12-month 2020 operating results are as follows. Deposit of THB 1.37 trillion declined by 1.8% from 2019. Such a decline was in line with the optimization of deposit and loan balance. Moreover, as part of the post-merger plan, the Bank continued to reduce Time Deposit and replace it with flagship products such as All Free and No Fixed which continued to grow well.

Loans was reported at THB 1.39 trillion, relatively flat from previous year. Key factors were the slow growth of new loans and the change in loans structure to improve portfolio quality by reducing unsecured loan portion. With the consolidation of Hire Purchase portfolio from Thanachart Bank, secured loan portion increased and approximately 90% of retail loan portfolio was collateralized.

On the revenue side, TMB reported net interest income of THB 53,805 million, up 100.3% from last year (YoY). Key driver was NIM which rose to 3.00% from 2.81% last year, reflecting a realization of balance sheet synergy and the well-managed uses of funds.

Non-interest income was at THB 14,986 million, up 15.7% YoY. The slower growth when compared to interest income side showed the impact of Covid-19 on fee income generation. Net fee and service income was recorded at THB 10,575 million, up 30.6% YoY as a result of a slowdown in bancassurance and mutual fund fees especially during 2Q20. Lastly, total operating income was reported at THB 68,791 million or grew 72.8% YoY.

On the expense side, cost synergy realization supported the Bank’s cost management despite the integration cost incurred from integration process and resulted in lower cost to income ratio to 46% from 51% in last year. PPOP therefore remained strong at THB 37,266 million, up 89.6% from 2019 and this allowed the Bank to increase provision level to THB 24,831 million. After provision and taxes, 2020 net profit was recorded at THB 10,112 million, up 40% from 2019.

Liquidity and capital remained strong. The Bank’s Liquidity Coverage Ratio (LCR), which shows the stock of liquid assets to support liquidity needs under severe liquidity stress scenarios, stayed in the range of 170%-220% during the year, well above the BoT’s minimum requirement at 100%. Capital adequacy was among the top tier in Thai banking industry. As of December 2020, the preliminary CAR and Tier 1 rose to 19.5% and 15.4% from 18.9% and 14.6% last year. Also, the capital ratios were well above the Bank of Thailand’s minimum requirement of 11.0% and 8.5%, respectively.

Mr. Piti Tantakasem concluded “with our preparation and financial strengthening done in 2020, the Bank is ready for 2021 and will continue to support our customers who affected from the new wave of Covid-19. For the merger deal, the integration is expected to complete by this July as plan.”

8 views
bottom of page