Carbon Footprint พันธสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศ เรื่องที่ต้องรู้ แต่คนไทยและผู้ประกอบการ SME รายเล็กจำนวนมากยังไม่รู้ เผย...ไทยร่วมเซ็นสัญญาข้อตกลงปารีส 2005 เป็นการให้คำมั่นในการลดภาวะโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาครัฐต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุมภาคประชาชน ครัวเรือน ธุรกิจ อุตสาหกรรม ให้ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ต้องรายงานระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินธุรกิจและการผลิตในรูป Carbon Footprint ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินจากที่กำหนดจะต้องจ่ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงต้องจ่ายภาษีขาเข้าเพิ่มในกรณีการส่งออกไปยังต่างประเทศต่างๆ เร่ง...ภาครัฐผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับ Carbon Footprint รวมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ผู้ประกอบการในการเตรียมรับมือ ตลอดจนเตรียมแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ SME ในการปรับปรุงขั้นตอน วิธีการผลิต ปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายและมาตรฐานสากลของโลก
Interview : คุณสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีบีซีไอ จำกัด
ที่ผ่านมาทาง EBCI จัดงานเกี่ยวกับ Carbon Footprint ที่ฝ่ายบัญชีและฝ่ายจัดซื้อควรรู้
Carbon Footprint เป็นเรื่องสำคัญระดับนานาชาติ ผมอยากจะทำความเข้าใจก่อนเพื่อจะได้ศึกษาเบื้องต้น ก๊าซเรือนกระจกคือเป็นกลุ่มก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกที่สามารถกักเก็บและดูดกลืนคลื่นความร้อนหรือรังสีอินฟราเรดที่ส่งผ่านไปยังพื้นผิวโลกได้ดีก่อนปล่อยพลังงานดังกล่าวในรูปของความร้อน ซึ่งทำให้โลกเกิดภาวะเรือนกระจกที่สามารถช่วยกันรักษาสมดุลของอุณหภูมิพื้นผิวโลกให้อยู่ในระดับที่ดี ในตัวก๊าซเรือนกระจกมีก๊าซอื่นๆ ที่ปนมาด้วยหลายตัว ตัวที่มากคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถ้าก๊าซเหล่านี้สะสมมากเกินไปจะทำให้การรักษาระดับอุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลงไป หากปราศจากก๊าซเรือนกระจกโลกก็จะหนาวเย็นจนสิ่งที่ชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้ามีก๊าซเรือนกระจกมากเกินไปจะเป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและนำไปสู่ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก
มีคำหนึ่งซึ่งเป็นคำที่สำคัญ คือ Carbon Footprint คือปริมาณก๊าซที่ปล่อยกลับและดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ หรือจากชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือการบริการขององค์กรต่างๆ และเกิดจากกิจกรรมที่ดำเนินการขององค์กร ส่วนภาวะโลกร้อน Global Warming คือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในระยะยาว ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น การสะสมของก๊าซเรือนกระจกเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ เพราะถูกจัดเก็บในชั้นบรรยากาศโลกมากขึ้น การที่จะถูกสะท้อนกลับสู่อวกาศปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ Greenhouse Effect เพราะโลกร้อนมันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ใช้ถ่านหิน น้ำมัน การใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การผลิต อุตสาหกรรม การตัดไม้ทำร้ายป่าก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้แรงดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง การเกษตรและปศุสัตว์ ก็มีการปล่อยก๊าซมีเทนจากการย่อยอาหาร เช่นการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวัน รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้านเรือนและการผลิตสินค้าต่างๆ
ผลกระทบของโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบฝน เช่นการเกิดภัยธรรมชาติ เช่นพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วม อย่างตอนนี้ถ้าไม่จำเป็นผมก็ไม่เดินทางไปต่างประเทศ เพราะมีหลุมอากาศที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ซึ่งรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกเกือบ 200 ประเทศลงนามร่วมกันในข้อตกลงปารีสในปี 2005 โดยให้คำมั่นว่าจะพยายามรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ Net Zero ได้ภายในปี 2050 ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากสุดเท่าที่จะมากได้จะทำได้ รวมถึงการกำจัดมลพิษทางอากาศที่เหลืออยู่จากชั้นบรรยากาศด้วย
ขณะนี้ผู้นำทั่วโลกพบปะกันทุกปีเพื่อพูดคุยกันในเรื่องที่เกี่ยวกับพันธสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศ วิทยาการและสุขภาพ อาจจะมีข้อสงสัยว่า Carbon Footprint เกี่ยวอะไรกับงานด้านบัญชีหรือจัดซื้อ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดง่ายๆ คือในส่วนของ Carbon Footprint จะมีเรื่อง Carbon Accounting อยู่ในนั้นด้วย คำว่า Accounting เป็นเรื่องของการบันทึกผลของกิจกรรมทางธุรกิจที่มีต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศของแต่ละองค์กร จะมีความคล้ายคลึงกับ Financial Accounting ในเนื้อหาที่บันทึกกิจกรรมขององค์กร ทีนี้ Carbon Footprint เกิดได้ในโลกนี้จาก 1. องค์กร 2. เกิดจากผลิตภัณฑ์และสารบางอย่างที่มนุษย์ผลิตขึ้น ในกรณีของ Carbon Accounting ในข้อที่ 3 คือ จะไม่ได้บันทึกในรูปแบบของการเงินแต่จะเป็นการบันทึกผลของกิจกรรมทางธุรกิจที่มีปริมาณต่อก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยมาถึงชั้นบรรยากาศของแต่ละองค์กร
ไทยก็ลงชื่อใช้ข้อตกลงปารีสปี 2005 ด้วย
ใช่ หมายความว่าต่อไปนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเกิดขึ้น หมายถึงว่าองค์กรต่างๆ ทั้งระดับใหญ่ ระดับเล็ก ต้องเข้าสู่การแสดงผลของการปล่อย Carbon Footprint ว่าอยู่ในปริมาณเท่าไหร่ โดยมีหน่วยวัด ตัวอย่างง่ายๆ การรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลนี้ที่เป็นประเด็นหนึ่งที่จะปรากฏอยู่ใน Carbon Accounting เช่น การรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล ปัญหาคือภาวะโลกร้อนที่อาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงและข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายใน พ.ร.บ.ที่กําลังรออนุมัติอยู่ คือ พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ Carbon Footprint และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบตามมาคือองค์กรต้องเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานใหม่ อาจต้องลงทุนในระบบเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ เพื่อรวบรวมและรายงานข้อมูลตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบการต้องเตรียมการในการจัดทำคู่มือรายงานและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและฝึกอบรมพนักงานด้านการบัญชีเพื่อให้สามารถรายงานได้อย่างถูกต้อง
การจัดสัมมนาในวันที่ 28 ที่สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่จะตรวจสอบว่าบริษัทไหนบ้างที่จะเข้าสู่ระบบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เขาจะมาตรวจสอบให้ว่าเข้าข่ายตามที่ พ.ร.บ.กำหนด หรือเข้าข่ายตามองค์กรที่กำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ก็เป็นตัวอย่างในด้านบัญชี และยังมีด้านจัดซื้อ ยกตัวอย่าง เดิมทีจะซื้อสินค้าที่ไหนจากต่างประเทศหรือในประเทศ เอาชื่อสินค้าที่จะซื้อเอาไปให้ผู้ขายซึ่งในต่างประเทศเรียกซัพพลายเออร์ สั่งแล้วส่งของมาให้เรา แล้วก็เอาเข้าสู่กระบวนการผลิต แต่พอมี พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมีการควบคุมเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง ทางผู้ขายหรือซัพพลายเออร์จะต้องบอกผู้ซื้อว่าเขาซื้อวัตถุดิบในการผลิตมาจากประเทศไหน ถ้าสินค้าที่ซื้อมาต้องมีเอกสารรับรองเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกจากคู่ขายหรือไม่ ซึ่งเมื่อก่อนนี้เราไม่เคยต้องเก็บข้อมูลเหล่านี้ เราเก็บแค่ว่าสินค้า วัตถุดิบที่ซื้อมาจากต่างประเทศมีสเปกอย่างไรแบบไหน แต่เมื่อมี Carbon Footprint สิ่งเหล่านี้จะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ สมมุติว่าอีกหน่อยจะเปิดโรงงาน จะซื้อของชิ้นหนึ่งจากต่างประเทศ จะต้องขอ Carbon Footprint เพื่อแสดงว่าซัพพลายเออร์ที่ส่งมาได้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่อย่างไร ต้องลงข้อมูลในระบบของโรงงานที่ซื้อมา ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ทั้งระบบทั้งประเทศไทยหรือทั้งหมดในโลกนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เช่นสมมุติผมขี่มอเตอร์ไซค์คันหนึ่ง ปรากฏว่าเป็นมอเตอร์ไซค์เก่าแล้วปล่อยก๊าซเรือนคาร์บอนไดออกไซด์เยอะ เราก็ต้องหาทางที่จะปรับปรุงโดยซ่อมเครื่องให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง เปลี่ยนท่อเปลี่ยนอะไหล่ตามสภาพของมัน หรือเรามาเปลี่ยนแปรสภาพให้มันใช้ไฟฟ้าให้น้อยลงหรือวิ่งได้เท่าเดิม นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 2 ปีข้างหน้า
รัฐบาลใหม่เพิ่งเข้ามาควรทำอย่างไร เช่นผลักดันกฎหมายฉบับนี้ หรือเตรียมแหล่งเงิน
คือเป็นเรื่องที่ต้องรอ พ.ร.บ.ก่อน เข้าใจว่า พ.ร.บ.อยู่ในวาระการประชุมแล้ว Carbon Footprint เป็นเรื่องที่เรารู้กันในกลุ่มนักวิชาการเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็รู้กันในบริษัทใหญ่ๆ แต่ประชาชน ธุรกิจ SME ทั่วไปยังไม่รู้เท่าไหร่ สิ่งที่ผมคิดจะเสนอรัฐบาลใหม่คือต้องพยายามประชาสัมพันธ์และให้การสนับสนุนภาคเอกชนภาครัฐให้ปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจอย่าให้ประชาชนตกอกตกใจ เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่องที่เศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดีและยังมีเรื่องมาซ้ำเติมอย่างนี้อีก ซึ่งรัฐบาลต้องประชาสัมพันธ์ว่านี่เป็นเรื่องของนานาชาติและประเทศไทยเซ็นสัญญาไปแล้ว ในเมื่อ 200 กว่าประเทศไปเซ็นสัญญากันหมดเราจะอยู่เฉยๆ ได้อย่างไร
ผมคิดว่าเราจะต้องให้การดูแล SME มากหน่อย เขาต้องเปลี่ยนเครื่องจักร ปรับปรุงเครื่องจักร สภาพการผลิตให้ดีขึ้น รัฐบาลควรจะให้ SME มีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงทั้งด้านเทคโนโลยี ทั้งด้านเกี่ยวกับเงินทุนที่ดอกเบี้ยเป็นอัตราที่รับได้ ตรงนี้เป็นปัญหาที่ผมเป็นห่วง
แล้วนโยบายของรัฐอาจจะต้องทำงานมากขึ้นโดยการที่จะให้ความรู้ ให้ความเข้าใจกับบริษัทโลจิสติกส์เล็กๆ เช่น บริษัทรถบรรทุกที่ตอนนี้กำลังมีปัญหาว่าจะสู้บริษัทจากต่างชาติได้หรือไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความเห็นใจกับ SME เล็กๆ ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่คงไม่ต้องช่วยเหลือเขาเท่าไหร่เพราะเขามีเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากรที่ดูแลพร้อมอยู่แล้ว
Comments