top of page
369286.jpg

10 บิ๊กอุตสาหกรรมเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ โดดร่วมวง นำ 5G Digital Infrastructure ใหม่ของชาติ


10 บิ๊กอุตสาหกรรมเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ โดดร่วมวง นำ 5G Digital Infrastructure ใหม่ของชาติ ร่วมแรงสู้ฟื้นฟูประเทศไทย


26 มิถุนายน 2563: ประสานพลัง 10 บิ๊กอุตสาหกรรมชั้นนำเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ นำเทคโนโลยี 5G มาใช้ประโยชน์สร้างความเข้มแข็งร่วมฟื้นฟูประเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม AIS เดินหน้าลงทุนและพัฒนาเครือข่าย AIS 5G Digital Infrastructure ใหม่ของชาติ ที่พร้อมสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับทุกภาคส่วน โดยผนึกกำลังกับ

  • ภาคอุตสาหกรรมใหญ่แห่งพื้นที่ EEC ได้แก่ อมตะ, สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง, ดับบลิวเอชเอ, กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ผู้ร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, การท่าเรือแห่งประเทศไทย,

  • ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก เซ็นทรัล รีเทล,

  • ภาคการท่องเที่ยง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,

  • ภาคการศึกษา สสวท.

  • ภาคพัฒนาเพื่อความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นำ 5G ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนทั่วประเทศ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ช่วยเพิ่มผลผลิต อันก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของสังคมและประเทศ


นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ได้เดินหน้าทดลองทดสอบรูปแบบการใช้งาน หรือ Use case บนเทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแพทย์ โลจิสติกส์ การผลิต การรักษาความปลอดภัย สมาร์ทซิตี้ ตลอดจนเกิดการใช้งานจริงในด้านสาธารณสุขในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงวันนี้ เทคโนโลยี 5G ได้พิสูจน์เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า นี่คือเทคโนโลยีใหม่ที่เป็น The Real New Normal ด้านเทคโนโลยีที่พร้อมสนับสนุนการทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และประชาชน ซึ่งในโอกาสนี้ เอไอเอสมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกราย นำนวัตกรรม 5G ไป utilize ใช้งานจริง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม รีเทล การท่องเที่ยว การศึกษา ความบันเทิง และความยั่งยืน เพื่อพลิกฟื้นและสนับสนุนการฟื้นฟูประเทศ พาคนไทยก้าวผ่านวิกฤตและชนะไปด้วยกัน”


  • บุก EEC ปูพรม 5G เต็มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ครบทั้งพื้นดิน ทะเล และอากาศ ผลักดันศักยภาพทำเลเศรษฐกิจและเมืองใหม่ ดึงดูดการค้าการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน

    • เสริมแกร่งด้าน LAND ยกระดับการบริหารจัดการภายในนิคมอุตสาหกรรมด้วย Smart Industrial Estate, Smart Building Management และ IoT & Smart Communication ก้าวสู่การเป็น Smart City อย่างครบวงจร

    • เสริมแกร่งด้าน SEA นำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในกิจการท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแหลมฉบัง เพื่อให้สามารถควบคุมเครนยกตู้สินค้าได้จากระยะไกล เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนระบบรักษาความปลอดภัย CCTV Via 5G และ Security Control Building ปั้นท่าเรือไทยสู่การเป็น Smart Port

    • เสริมแกร่งด้าน AIR ยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา สู่การเป็น Smart Airport แห่งยุค New Normal ด้วย 5G และเทคโนโลยีดิจิทัล Facial Recognition และ Object Detection

นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน กล่าวว่า “อมตะฯ ดำเนินธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมมากว่า 30 ปี เราเล็งเห็นแล้วว่า Smart City คือ เป้าหมายที่ประเทศไทยจะต้องไปสู่จุดนั้น และต้องไปพร้อมกันทั้งแผงของประเทศ เพื่อให้เรามีความสามารถที่จะแข่งขัน ดึงดูดการลงทุนมายังประเทศเราได้ ประเทศไทยจึงต้องการ Engine ที่จะมาขับเคลื่อนให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ซึ่ง 5G คือคำตอบที่จะเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตให้ธุรกิจอย่างน้อย 3% และหากใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คาดว่าจะสร้างการเติบโตได้ถึง 5% เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยก้าวทันประเทศชั้นนำอย่างจีน เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น ที่ได้นำ 5G มาเพิ่มมูลค่าไปแล้ว ผมเชื่อว่า การที่เราร่วมมือกับเอไอเอส เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วย 5G จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงมาสู่เมืองอมตะในอนาคต”


นายวิชัย กุลสมภพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เครือสหพัฒน์มีเป้าหมายที่จะผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่เป็นธรรมให้กับลูกค้า โดยนำเทคโนโลยีเข้าช่วยเสริมศักยภาพ ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการควบคุมสต็อกสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ดังนั้น การมาถึงของเทคโนโลยี 5G เปรียบเหมือนสิ่งที่เรารอคอยมานานมาถึงแล้ว และจะมาติดจรวดให้เราก้าวเดินได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยต้นทุนที่ต่ำลง อย่างเช่น โรงงานมีบริษัทแม่อยู่ที่ญี่ปุ่นหรือเกาหลี เขาสามารถรีโมตคอนโทรลมาควบคุมการผลิตที่ศรีราชาได้โดยไม่ต้องเดินทางมาประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ลดต้นทุน แต่ยังช่วยรีโลเคตบางโมดูลมาผลิตที่สายการผลิตในไทยได้ จากเดิมที่ไม่เคยคิดว่าจะมาผลิตที่ไทยได้ เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ในราคาต้นทุนที่ต่ำลง”


นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA กล่าวว่า “การเกิดโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายฐานทุนจากประเทศจีน ที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดสงครามการค้า เพื่อป้องกันการหยุดชะงักของซัพพลายเชน ตรงนี้คือโจทย์สำคัญของประเทศไทยที่ต้องมองต่อและผลักดันตัวเองด้วย High Technology เพื่อดึงดูดการลงทุน ซึ่ง 5G ถือเป็น Digital Infrastructure ที่เราพัฒนามาดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และตอบความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการ Infrastructure ที่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งาน ทั้งในแง่ Robotic, AI หรือ IoT โดยในส่วนของ WHA จะร่วมมือกับเอไอเอส นำ 5G บนคลื่นความถี่ที่เหมาะสม มาใช้ในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนร่วมโซลูชันส์ที่ตอบโจทย์สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า”


นายเรืองศักดิ์ บำเหน็จพันธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายวิศวกรรม กล่าวว่า “E-logistic Platform ภายใต้โครงการ Port Community System มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการ Big Data ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านการขนส่งทางน้ำ ตลอดจนการขยายขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ดังนั้น การมีเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงอย่าง 5G จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของการท่าเรือฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการรับส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน E-logistic Platform และการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่เมื่อเรือสินค้าเข้าเทียบท่าโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงยกตู้สินค้าจากเรือมาวางไว้ที่ลานวางตู้ และเตรียมที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งต้องขอบคุณ เอไอเอส ที่มาเป็นหัวหอกสำคัญ นำเทคโนโลยี 5G เข้ามาใช้ เพื่อพัฒนากระบวนการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้าของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป”


นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบไปด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA, บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC กล่าวว่า “เราได้เซ็นสัญญา MOU กับเอไอเอส ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับสนามบินอู่ตะเภาสู่การเป็น Smart Airport โดยเฉพาะอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับสู่การเป็นมหานครการบินภาคตะวันออก เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย ใช้เวลาในสนามบินน้อยลง และมีเวลาไปทำกิจกรรมที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งผมมั่นใจว่าเทคโนโลยี 5G ของเอไอเอส จะช่วยเราได้มากอย่างแน่นอน”


  • พลิกโฉมอุตสาหกรรมรีเทล เป็นผู้สร้าง Game Changer และประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนให้นักช้อปชาวไทยและต่างชาติ

ภายใต้ความร่วมมือกับ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) นำนวัตกรรมเครือข่าย 5G และดิจิทัลพลิกโฉมธุรกิจค้าปลีก ด้วยการผสานเทคโนโลยีออนไลน์เข้ากับการจับจ่ายแบบออฟไลน์ สร้างประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น Total Smart Retail อาทิ

  • Smart Mirror เทคโนโลยีกระจกดิจิทัลแสดงผลการช้อปในร้านค้าต่างๆ เช่น การจำหน่ายเสื้อผ้า เมื่อส่องแล้วจะสามารถวัดขนาดตัว และเลือกไซส์ที่เหมาะสมให้อัตโนมัติ แสดงผลได้รวดเร็วผ่านเครือข่าย 5G

  • Advance Digital Signet จะหลักการ Data Analytic มาวิเคราะห์ใบหน้าเมื่อลูกค้าเดินเข้าในศูนย์การค้า และจะแสดงโฆษณาตามความสนใจของลูกค้า

  • Real-Time Personalize to the Right Target วิเคราะห์ใบหน้าและนำเสนอสินค้าได้ตามความต้องการส่วนตัวของลูกค้า

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธุรกิจค้าปลีกและการให้บริการเป็นธุรกิจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากกว่า 2 ใน 3 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศไทย และทางเซ็นทรัล รีเทล เอง ก็ถือเป็นสัดส่วนหลักที่มีการจ้างงานในกลุ่มค้าปลีกและการให้บริการนี้ และในโอกาสที่เราจะร่วมกับ เอไอเอส ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เราพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็น Game Changer ไปด้วยกัน โดยใช้ Big Data ของ The 1 Card,Smart Logistic และ Smart Payment รวมทั้งศักยภาพของ AIS 5G สร้างประสบการณ์ใหม่ของการ Shopping ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย และจะทำให้เซ็นทรัล รีเทล เป็นแพลตฟอร์ม ที่ Anywhere และ Real-time อย่างแท้จริง”

  • ยกระดับการท่องเที่ยวไทยในมิติที่แตกต่าง กู้วิกฤตแหล่งรายได้หลักของประเทศ

จับมือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พลิกสูตรการท่องเที่ยววิถีใหม่ในยุคหลังโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยี 5G VR เปิดมุมมองใหม่กับสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ดึงดูดนักท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่แหล่งชุมชน


นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูรณ์ รองผู้ว่าการด้านสินค้า และธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เทคโนโลยี 5G จะช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ Virtual Reality ที่จะมีความสมจริงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะร่วมกับ เอไอเอส ในการนำต้นทุนทางธรรมชาติและต้นทุนทางวัฒนธรรมของไทย ที่เปรียบเสมือน Unseen Destination ผสมผสานกับเทคโนโลยี 5G VR พัฒนาเป็น Virtual Reality เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทางมาสัมผัสและซึมซับบรรยากาศจริงที่เมืองไทย ขอขอบคุณเอไอเอส ที่นำเทคโนโลยีดีๆ มาให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำตลาด สร้างประเทศไทยให้สมบูรณ์แบบ และก็เป็น Preferred Destination สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างแท้จริง”


  • เปิดโลกแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ด้วยเทคโนโลยี 5G VR

ผนึกกำลัง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สร้างคอนเทนต์แห่งการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในรูปแบบ VR สำหรับหลักสูตรการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษา รวมถึง พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ สร้างคอนเทนต์ให้ชมเครื่องบินในแต่ละรุ่นในรูปแบบ VR ให้ภาพเสมือนจริง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่แตกต่างและดึงดูดความสนใจให้เด็กๆ และคนไทยสนุกไปกับการเรียนรู้ยิ่ง


  • นำนวัตกรรมดิจิทัล สร้างโมเดลแห่งการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมศึกษาวิจัยการนำเทคโนโลยี 5G, IoT ผ่านโครงการ SDG Lab ที่อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี บนพื้นที่ 100 ไร่ ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต

  • Smart City ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, 5G และ IoT พัฒนาระบบการขนส่งและระบบการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ให้สอดรับกับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (Urban Sustainable Development)

  • Smart Living ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้กับคนในสังคม ผ่านการบริหารจัดการพลังงาน, ทรัพยากรธรรมชาติ และขยะรวมทั้ง Electronic Waste เพื่อประโยชน์ สูงสุดต่อส่วนร่วม

  • Smart Farming พัฒนาเทคโนโลยี ทดลอง ทดสอบ เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ตอบรับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร, อาหารที่ปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร

  • People ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ธรรมศาสตร์มีจุดมุ่งหมายในการตั้ง SDG Lab ก็เพื่อที่จะส่งเสริมการลงมือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และใช้ธรรมศาสตร์เป็นพื้นที่ในการทดลองทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การหาทางดูดซับก๊าซเรือนกระจกกลับคืนมา การใช้พลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน รวมถึงคุณภาพชีวิตของเราที่ต้องดีขึ้น มีอาหารปลอดภัย อย่างหลังคาของอาหารป๋วย 100 ปี เราได้ใช้เป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับปลูกผักออร์แกนิกลอยฟ้า ทำนาขั้นบันไดออร์แกนิกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และในบรรดามหาวิทยาลัยด้วยกัน ที่นี่เป็นที่ 1 ของโลก สร้างแหล่งอาหารปลอดภัย รวมไปถึงการมีเทคโนโลยี 5G ที่จะมาช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง ทำให้พื้นที่นี้สามารถบริหารจัดการได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสามารถต่อไปสู่การใช้งานในชุมชนอื่นๆ ได้ในอนาคต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของพวกเราทุกคน”



11 views

Comments


bottom of page