top of page
312345.jpg

คาด BoT ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติมอีก 0.25% สู่ระดับ 0.75% หรืออย่างช้าภายในไตรมาส 2



Source: TISCO


คาด BoT ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติมอีก 0.25% สู่ระดับ 0.75% หรืออย่างช้าภายในไตรมาส 2 (หลังก่อนหน้านี้ปรับลดไปแล้ว 0.25% เมื่อวันที่ 5 ก.พ.) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบและเสริมสภาพคล่องภาคเอกชนผ่านดอกเบี้ยที่ต่ำลง ขณะที่เรามองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิมที่ 1.7% หลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะนอกประเทศจีนมีแนวโน้มลากยาวเข้าสู่ไตรมาส 2 รวมทั้งเครื่องชี้ภาวะการท่องเที่ยว (อาทิ จำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติ) ออกมาอ่อนแอกว่าที่เราประเมินไว้เดิมในกรณีฐาน นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงจากเรื่องภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่คาด และความไม่สงบทางการเมืองในประเทศหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังไม่แน่นอนสูง


อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. ชะลอลงเป็น 0.74% YoY ด้านธปท. มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อพยุงเศรษฐกิจ


อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. ชะลอลงเป็น 0.74% YoY (vs. +1.05% เดือนก่อน) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อไม่รวมอาหารสดและราคาพลังงาน) เร่งตัวขึ้นเป็น 0.58% (vs. +0.47% เดือนก่อน)


โดยอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่หดตัว -2.1% (vs. +1.5% เดือนก่อน) ซึ่งไปหักล้างกับราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้นตามผลผลิตที่ลดลงจากสถานการณ์ภัยแล้ง (ราคาอาหารสดเพิ่มขึ้น +3.5% ในระดับเดียวกันกับเดือนก่อน)

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2020 อยู่ที่ 0.89% และ 0.53% ตามลำดับ


Our take: เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ 1% ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จะกดดันให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับต่ำลงเป็นเวลายาวนานขึ้น ผ่านอุปสงค์ที่อ่อนแอและราคาพลังงานที่ลดลง (ราคาน้ำมันดิบดูไบในล่าสุดอยู่ที่ 51 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล vs. 65 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ สิ้นปี 2019 หรือลดลง –22%)


ดังนั้น หลังจากที่ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 5 ก.พ. เราคาดว่า ธปท. ยังมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพิ่มเติม โดยมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 25 มี.ค. (หรืออย่างช้าไม่เกิน 2Q20F) เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อเศรษฐกิจไทย (ผลกระทบส่วนใหญ่มาจากการแพร่ระบาดของไวรัส)


ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมยังมีความเป็นไปได้ แต่จะขึ้นอยู่กับว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะมากกว่าที่ประเมินไว้เพียงใด ทั้งนี้ การคาดการณ์ GDP และอัตราเงินเฟ้อของเราในปี 2020F (ปัจจุบันอยู่ที่ +1.7% และ +0.7% ตามลำดับ) โน้มเอียงไปด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสมีแนวโน้มแย่กว่ากรณีฐานที่เราประเมินไว้

24 views
bottom of page