top of page
327304.jpg

ขึ้นต่อให้รอขาย...แถวๆ 1,700 จุด


หุ้นโลกขึ้นต่อ !

ทิศทางของตลาดหุ้นโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมากลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ในทางเทคนิคดัชนี S&P500 ของสหรัฐ, Stoxx 50 ของยุโรป และ NIKKEI ของญี่ปุ่น กลับขึ้นมาแกว่งตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA ทุกเส้นอีกครั้ง หลังจากความกังวลที่ลดลงเกี่ยวกับการเกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือ Recession อีกครั้ง บนสถานการณ์ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐเกิดรูปแบบที่เราเรียกกันว่า “Inverted Yield Curve” หรือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว

ความเชื่อของนักลงทุนในตลาดหุ้นโลก สะท้อนออกมาจากรายงานของ Goldman Sachs หรือ GS ที่ระบุว่าแม้ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 3 เดือนขยับขึ้นมาอยู่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 แต่ GS ประเมินว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่เฟดออกมาปรับท่าทีว่าอาจจะไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Fed Fund Targeted Rate ในปีนี้ และโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือ Recession อีกครั้งมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับการถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือ Recession ของสหรัฐ 4 ครั้งหลังสุด เนื่องจากมุมมองต่อความเสี่ยงของภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐยังคงต่ำ สะท้อนออกมาจากส่วนต่างผลตอบแทน หรือ Yield Spread ระหว่างตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีระดับความน่าเชื่อถือ BBB ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในกลุ่ม Investment Grade เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง หรือ Risk Free Rate ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 154 bps ลดลงจาก 200 bps เมื่อต้นปี 2562 สะท้อนว่ามุมมองต่อความเสี่ยงของภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐที่ลดลง

นอกจากนี้ส่วนต่างผลตอบแทน หรือ Yield Spread ระหว่างตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีระดับความน่าเชื่อถือ BBB เทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง หรือ Risk Free Rate ของสหรัฐในปัจจุบัน ยังคงต่ำกว่าระดับ 300 bps ในช่วงต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งล่าสุดค่อนข้างมาก ขณะที่สถานการณ์ “Inverted Yield Curve” หรือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐระยะสั้นสูงกว่าระยะยาวค่อยหายไปแล้วสัปดาห์ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐระยะสั้นช่วงอายุ 2-7 ปี เริ่มกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1-2 bps พร้อมๆกับการที่ดัชนี US Dollar Index แข็งค่า 0.73% หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างตัวเลข Initial Jobless Claim ออกมาดีกว่าคาด โดยลดลงสู่ระดับ 211,000ราย ลดลงมากกว่าที่คาดที่ว่าจะลดลงสู่ระดับ 220,000 ราย เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้นักลงทุนในตลาดหุ้นที่เริ่มคลายความกังวลในการเกิด Recession ของสหรัฐลง

แนวต้านแข็ง 1,700 จุด : แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากทิศทางของตลาดหุ้นโลก ในส่วนของตลาดหุ้นไทย “นายหมูบิน” ยังคงยืนยันในทางเทคนิคว่าในช่วงหลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 กรอบแนวต้าน 1,670-1,700 จุดของ SET มีความแข็งแกร่งมาก โดยที่บริเวณดังกล่าวจริงๆ

ถ้า SET ปรับตัวขึ้นไปถึงเป็นโอกาสในการขายออกมาก่อนด้วยซ้ำ จากการที่ตลาดหุ้นไทยยังคงขาดปัจจัยหนุนใหม่ในเชิงพื้นฐาน โดยเฉพาะหลังจากที่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2561 ขยายตัวเพียง 2.2% ต่ำกว่าที่ Consensus คาดการณ์ที่ 2.4% ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภค และภาคธุรกิจ รวมทั้งการลดลงของการลงทุนของรัฐบาล และการลงทุนในการสร้างบ้าน ขณะที่ในเชิงของทิศทางผลการดำเนินการของตลาดหุ้นไทยก็มีความน่าสนใจน้อยมาก โดยที่ล่าสุด Consensus ประเมินว่ากำไรปกติของตลาดหุ้นไทยในไตรมาสที่ 1 แม้ว่าจะเพิ่มขึ้น 15% QoQ แต่จะปรับตัวลดลง 3% YoY ขณะที่ทั้งปี 2562 Consensus ประเมินว่ากำไรปกติของตลาดหุ้นไทยจะเพิ่มขึ้นเพียง 3% YoY เท่านั้น

ในส่วนของกลยุทธ์ สำหรับการลงทุนระยะสั้น (ไม่เกิน 1 สัปดาห์) ใช้โอกาสที่ SET ดีดตัวขึ้นไม่ผ่าน 1,700 (+/-5) จุด เป็นโอกาสในการ “ขายทำกำไร” ในลักษณะ “Short-Against” ไปรอ “เข้าซื้อสะสม” ในหุ้น PTTGC, PTTEP, BCP, EGCO, TISCO, SCC, HMPRO, AOT และ ADVANC อีกครั้ง สำหรับการลงทุนระยะกลาง (1-3 เดือน) ในลักษณะ Long-Only แนะนำ “คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ระดับ 75% ของพอร์ต”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนด้วยครับ สำหรับการพูดคุยกันระหว่างสัปดาห์นอกจากทาง Facebook ที่ www.facebook.com/wealthhuntersclub และ e-mail ที่ moobin.stockmania@gmail.com แล้ว แฟนๆยังสามารถติดตามมุมมองเกี่ยวกับการลงทุนจาก “นายหมูบิน” ได้ในรายการ ”เซียนเศรษฐกิจ” ทาง FM 101 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00-12.00 น.เช่นเดิมครับ

 

ภาพประกอบ : การวิเคราะห์ทิศทางตลาดหุ้นไทยในทางเทคนิครายวัน (Daily)

Source: Wealth Hunters Club

16 views
bottom of page