top of page
312345.jpg

กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี

นายทิตนันท์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 19 ธันวาคม 2561

คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จาก ร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ขณะที่ 2 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี

ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตาม แรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้อุปสงค์ต่างประเทศชะลอลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจ สะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในอนาคต

คณะกรรมการฯ เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ใน ระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงที่ผ่านมามีส่วนช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่สอดคล้อง กับศักยภาพและกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นว่าความจ่าเป็นในการพึ่งพานโยบาย การเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับที่ผ่านมาลดน้อยลง และเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบาย การเงิน (policy space) ส่าหรับอนาคต กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่ร้อยละ 1.75 ยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนกรรมการ 2 ท่านเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงและ ความไม่แน่นอนจากต่างประเทศปรับสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป จึงควรรอ ประเมินความชัดเจนของผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและความยั่งยืนของแรงส่งจากปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศ ไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ด่าเนินการไปได้ดูแลความเสี่ยง ด้านเสถียรภาพระบบการเงินในบางจุดไปบ้างแล้ว

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพ แม้การส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงและมาตรการกีดกันทางการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน แต่เริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้น แรงส่งของอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามรายได้ครัวเรือน นอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม แม้รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรลดลงบ้างและยังมีแรงกดดันจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่าหรับ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และโครงการร่วมลงทุนของรัฐ และเอกชนในโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากความล่าช้า ในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง คณะกรรมการฯ จะติดตามความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และจีน ที่อาจจะกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปียังมีแนวโน้มทรงตัว แต่มีความเสี่ยงด้านตำ่จากความผันผวนของราคา พลังงานและราคาอาหารสด อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ปรับ สูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจาก การขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ท่าให้ ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต

ภาวะการเงินที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับตำ่ ท่าให้ภาคเอกชนสามารถระดมทุนได้ ต่อเนื่องโดยสินเชื่อขยายตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญและสินเชื่ออุปโภคบริโภคคณะกรรมการฯประเมินว่า แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มีเสถียรภาพ เมื่อเทียบกับเงินสกุลภูมิภาค ในระยะข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนยังมีแนวโน้มผันผวน คณะกรรมการฯ จึง เห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป

ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงท่ีอาจสร้างความเปราะบางให้ เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจน่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงตำ่กว่าที่ควร (underpricing of risks) คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะช่วยลดการสะสมความเปราะบาง ในระบบการเงินควบคู่กับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ด่าเนินการไป

มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้แรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศ ชะลอลง คณะกรรมการฯ เห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะยังมีความเหมาะสมในระยะข้างหน้า โดยจะ ติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัย เสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการด่าเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป

11 views
bottom of page