top of page
312345.jpg

Trump เตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม...ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. หดตัวและแย่กว่าที่ตลาดคาด


Source : TISCO ESU

 

ปธน. Trump เตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก USD1,200bn เพื่อลดทอนผลกระทบจาก COVID-19


วานนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อลดทอนผลกระทบจาก COVID-19 คิดเป็นมูลค่าราว USD1,200bn (หรือราว 6% ของ GDP) โดยมาตรการที่สำคัญมีดังนี้


- การให้เช็คเงินสดกับประชาชนโดยตรง โดยระบุ USD250bn จะดำเนินการทันทีในสองสัปดาห์ และอีก USD250bn จะให้เพิ่มเติมอีก 4 สัปดาห์หลังจากนั้น หาก COVID-19 ยังอยู่ในขั้นภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ (รัฐบาลระบุต้องการให้อย่างน้อย USD1,000/คน)


- การให้เงินกู้กับธุรกิจขนาดเล็กมูลค่า USD300bn


- จัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ (Stabilization Funds) มูลค่า USD200bn


- การเลื่อนระยะเวลาการจ่ายภาษีออกไป 90 วัน (จากกำหนดวันที่ 15 เม.ย.) ซึ่งประเมินว่ามูลค่าจะอยู่ที่ USD 200bn


ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้น มูลค่าราว USD100bn หรือ 0.5% ของ GDP ซึ่งสภาผู้แทนฯ ได้มีมติเห็นชอบในวันเสาร์ที่ผ่านมา และคาดจะผ่านมติในชั้นวุฒิสภาในสัปดาห์นี้ โดยมาตรการที่สำคัญได้แก่


- การให้ประชาชนตรวจหา COVID-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


- การให้เงินช่วยเหลือแรงงานที่ต้องหยุดงานจากเหตุ COVID-19 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์


- การให้เครดิตภาษี 100% แก่แรงงานที่ต้องหยุดงานจากเหตุ COVID-19


- การให้เงินช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานเนื่องจาก COVID-19


- การให้ความช่วยเหลือด้านอาหารสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19


- การให้เงินช่วยเหลือภาครัฐผ่านโครงการ Medicaid


- ด้านนโยบายการเงิน Fed ได้ประกาศใช้มาตรการ Commercial Paper Funding Facility (CPFF) ซึ่งเป็นการเข้าซื้อ


- ตราสารหนี้เอกชนระยะสั้น โดยจะเข้าซื้อของบริษัทที่ประสบปัญหาจากการระบาดของ COVID-19 เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องสำหรับการดำเนินกิจการ


สหรัฐฯ ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ทั้งภาคการเงินและการคลัง หลังการรระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงมากขึ้น และได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดเงินจากความกังวลว่าเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย


มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐก้อน USD1,200bn ยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากต้องรอได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาเสียก่อน ซึ่งอย่างเร็วสุดจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์หน้า เพราะสภาผู้แทนฯ จะกลับมาเปิดทำการ


ยอดค้าปลีกสหรัฐฯเดือน ก.พ. พลิกกลับมาหดตัวและแย่กว่าที่ตลาดคาดในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมพลิกกลับมาขยายตัวเล็กน้อย


ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน ม.ค. หดตัว -0.5% MoM จากที่ขยายตัว 0.6% ในเดือนก่อน และแย่กว่าที่ตลาดคาดที่ 0.2% โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดค้าปลีกชะลอตัวลงเป็น 4.3% YoY ( vs. 5.0% ในเดือนก่อน)


ยอดค้าปลีกที่หักสินค้าที่มีความผันผวน (รถยนต์, วัสดุก่อสร้าง และปั๊มน้ำมัน) หรือ Retail Control Group ซึ่งเป็นส่วนที่นำไปคิดใน GDP ไม่ขยายตัวจากเดือนก่อน (0.0% MoM) ซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 0.4% MoM ขณะที่ตัวเลขเดือน ม.ค. ถูกปรับเพิ่มขึ้น 0.4ppt เป็น 0.4% MoM


โดยยอดค้าปลีกหดตัวมากในกลุ่มรถยนต์ (-0.9%MoM vs. 0.8% เดือนก่อน) และยอดขายของปั๊มน้ำมัน (-2.8% vs -0.4% เดือนก่อน) เป็นหลัก


ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ก.พ. พลิกกับมาขยายตัว 0.6% MoM จากที่หดตัว -0.5% MoM ในเดือนก่อนและดีกว่าตลาดคาดที่ 0.4% MoM จากผลผลิตในกลุ่มสาธารณูปโภคที่พลิกกลับมาขยายตัว (+7.1%MoM vs -4.0% เดือนก่อน)


การระบาดของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงขึ้นจะกดดันยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมต่อจากนี้ และกดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก


โดยต้องจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และราคาน้ำมันที่ร่วงลงแรง ที่จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเราแนะติดตามตัวเลขยอดขอรับสวัสดิการว่างงาน (Jobless Claims) ที่มีการรายงานรายสัปดาห์ โดยถ้าหากตัวเลขมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ จะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยได้

15 views
bottom of page