top of page
379208.jpg

ดีแทคชวนทำความรู้จัก Cabin fever ผลกระทบทางจิต ที่แฝงมากับการใช้เวลากับสื่อออนไลน์ระหว่างกักตัว



ดีแทคชวนมาทำความรู้จัก Cabin fever ผลกระทบทางจิตและภัยอื่นๆ ที่แฝงมากับการใช้เวลากับสื่อออนไลน์ที่มากเกินไป ในระหว่างกักตัวอยู่บ้านระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

8 เมษายน 2563 - เด็กๆ ที่ติดอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน อาจเผชิญภาวะที่เรียกว่า “Cabin fever” หรือสภาวะกดดันทางจิตใจที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้านลบและความทุกข์ที่เกิดจากการถูกจำกัดพื้นที่ ตลอดจนความหงุดหงิดใจ เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หรือแม้กระทั่งมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ กระสับกระส่ายและไม่มีสมาธิ ทั้งนี้ สิ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ ผ่อนคลายภาวะ Cabin fever ได้ก็คือ การนอนและการออกกำลังอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างมากในการออกแบบกิจวัตรประจำวันที่ทำให้เด็กๆ มีวินัยในการใช้ชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น

ดีแทคมี 5 ข้อแนะนำดีๆ มาฝากสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อการดูแลลูกหลานในช่วงอยู่บ้านยาวๆ ดังนี้



1. หมั่นพูดคุย อธิบายเหตุการณ์ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถช่วยให้ลูกหลานเข้าใจถึงสถานการณ์ด้วยการอธิบายข้อมูลที่แท้จริงด้วยภาษาที่เรียบง่ายและเหมาะสมกับวัยของเขา สิ่งนี้จะช่วยลดความสับสน ความโกรธ ความเศร้าและความกลัว

ที่อาจเกิดจากการรับข่าวสารที่ถาโถมบนโลกออนไลน์ได้



2. ออกแบบกิจกรรมเพื่อการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ

ลูกหลานที่กักตัวอยู่ในบ้านส่วนใหญ่มักใช้เวลาไปกับสื่อออนไลน์เพื่อความบันเทิง ขณะเดียวกัน พ่อแม่ผู้ปกครองก็สามารถช่วยทำให้เวลาเหล่านั้นเป็นเวลาที่มีคุณภาพขึ้นได้ เช่นหรือ ช่วยเด็กๆ แบ่งเวลาทำกิจกรรมให้สมดุลกัน สำหรับกิจกรรมเพื่อความบันเทิงอย่างเกมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียกับกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทำร่วมกับการวิดีโอคอลกับเพื่อนๆ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี



3. ตรวจสอบข่าว-อย่าเชื่อข้อมูลอะไรง่ายๆ

เพราะข้อมูลต่างๆ หลั่งไหลผ่านสื่อออนไลน์มาถึงเราอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็มาพร้อมกับความเสี่ยงของข่าวลือและข้อความที่ไม่เป็นความจริง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองในการย้ำเตือนลูกหลานต่อการแยกแยะก่อนที่จะเชื่อข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดยแหล่งข้อมูลควรมาจากพ่อแม้ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ และหน่วยงานที่เชื่อถือได้



4. หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกหลาน

ในช่วงที่เด็กๆ ใช้เวลาบนโลกออนไลน์เป็นเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดต่อกับบุคคลแปลกหน้าหรือผู้ไม่ประสงค์ดีมากขึ้น เพราะหลายครั้งการปล่อยเด็กไว้กับโลกออนไลน์โดยที่ไม่มีการควบคุมหรือตรวจสอบ อาจทำให้พวกเขารู้สึกเคว้งคว้างได้ ดังนั้น การให้เวลากับเด็กๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำผ่านการพูดคุยและถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ และควรแนะนำเด็กๆ ว่าหากพบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือหวาดกลัว ควรปรึกษาพ่อและหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ทันที

สำหรับเด็กบางคน อาจจะไม่แสดงพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากการใช้สื่ออนไลน์ ดังนั้น การเข้าไปพูดคุยและใช้เวลากับเด็กๆ มากขึ้น จะทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมที่ผิดแปลกได้อย่างทันท่วงที



5. สร้างวินัยในการชีวิตในแต่ละวัน

สิ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ ผ่อนคลายจากภาวะ Cabin fever ได้ก็คือ การนอนและการออกกำลังอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างมากในการออกแบบกิจวัตรประจำวันที่ทำให้เด็กๆ มีวินัยในการใช้ชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ซึ่งอาจหมายรวมตั้งแต่เวลาในการรับประทานอาหารจนถึงเล่นเกม โดยควรเลือกกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ มีความสุขและไม่เครียดจนเกินไป



นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ในภาวะอันยากลำบากเช่นนี้ ซึ่งมีเด็กๆ กว่า 5 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบ หน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่สำคัญประการหนึ่งคือ การสร้างความเข้าใจและสร้างสมดุลต่อการใช้สื่อออนไลน์ในช่วงที่ต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเด็กและความเสี่ยงอื่นๆ ที่ตามมากับโลกออนไลน์ ในช่วงปิดภาคเรียน ที่มีแนวโน้มว่า จำเป็นต้องขยายเวลาออกไปอีกนี้ จะมีวัยรุ่นที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปลายมากกว่า 5 ล้านคน ที่จะใช้เวลาอยู่หน้าจอนานมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน และจะเผชิญความเสี่ยงออนไลน์หลายรูปแบบ ดีแทคได้จัดค่ายออนไลน์ Young Safe Internet Leaders Cyber Camp สำหรับวัยรุ่นอายุ 13 – 18 ปี เพื่อเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ให้เยาวชนได้ใช้เวลาได้อย่างมีประโยชน์และสนุกสนาน เยาวชนที่เข้าร่วมแคมป์จะได้เรียนรู้เรื่องภัยร้ายต่างในโลกออนไลน์ และเทคนิคที่ช่วยให้สามารถเป็นผู้นำรุ่นเยาว์ในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ จากวิทยากรที่มีชื่อเสียงมากมาย สามารถสมัครเข้าร่วมค่ายได้ที่ www.safeinternet.camp ตั้งแต่วันนี้ถึง 10 เมษายน 2563”


 

Get to know “Cabin Fever”, psychological effects and other risks that are hidden in spending too much time on the Internet, during the lockdown period caused by COVID-19


April 8, 2020 - Children that are trapped in the house for a long time may face a condition called “Cabin Fever” or mental stress condition that they are not allowed to go anywhere, except staying at home. It is a feeling that is associated with negative emotions and suffering caused by limited space. Also, it significantly leads to irritability, boredom, distracting, hopelessness or even abnormal behavior. Nevertheless, things that could help children from Cabin Fever are sleeping and exercising properly, in which parents play a big role in designing their daily activities to make more discipline in their daily life.


Hence, dtac has 5 Tips To Help Your Children Stay Safe Online During Lockdown


1. Talk to your children about what’s happening

Try to help your child understand what is going on by giving a truthful explanation that is appropriate for their age. This may help reduce feelings of confusion, anger, sadness, and fear.

You can’t fix everything, but you can make sure that they know you are there for them.


2 .Help them spend quality time online

Children who are stuck inside are likely to be drawn to screens for entertainment, but you can help them make good choices about how they spend that time. Try to balance the time they spend on games and social media with offline activities and video chats with friends.


3. Encourage them to think about what they read

Information spreads quickly online. This can be great, but it also makes it easy for rumours and false statements to get out of hand. Remind your child that if they’re not sure about something they see online, they can always ask you, or another trusted adult.


4. Consider who your children are in contact with

Talk to your child about online friendships. Let them know that if they ever feel uncomfortable at the way a conversation is going, they should end it immediately and talk to an adult they know they can trust.


It can be hard to spot the signs of online grooming, so if you’re worried that your child’s behaviour is out of character, talk to them to find out what’s wrong.


5. Take care of their mental health

Children who are used to running around and hanging out with friends might get cabin fever when stuck inside for long periods. It’s important for their mental health that they still get exercise and sleep properly – so sit down with them and draw up a schedule that gives their day some structure.

It can include everything from meal times to gaming sessions – just make sure that it’s varied and that they are happy with it too.


In this difficult situation, over 5 millions of Thai children are being affected by cyber risks. Accordingly, one of the important duties of parents is to guide their children on how to use the internet wisely, to help reduce the impact on children’s mental health and other risks that followed by social media.


Moreover, during the semester break which is likely to be extended due to the COVID-19 outbreak, there will be more than 5 million secondary school students spend more than 10 hours online with their phones or tablets, which means that the cyber risk they faced will be dramatically increased.


On-Uma Rerkpattanapipat, Head of Communications and Sustainability at Total Access Communication PLC or dtac, said: “As a consequence, dtac has organized the Young Safe Internet Leader Cyber Camp for teenagers aged 13-18 years old. The Young Safe Internet Leader cyber camp is aimed to empower Thai youth to improve society and develop their digital resilience. The participants will gain a range of digital skills from digital literacy to critical thinking from famous coaches and mentors. The Young Safe Internet Leader Cyber Camp is now accepting applications through April 10 via https://www.safeinternet.camp/ Qualified teams will be announced on April 20. The camp runs online from April 27 onwards.”

15 views

Comments


bottom of page