top of page
379208.jpg

COVID-19 ดันความต้องการถุงมือทางการแพทย์ของโลกเพิ่มขึ้น...EIC ชี้มาเลเซียได้อานิสงส์ส่งออกมากกว่าไทย



  • ถุงมือยางเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพของไทย โดยสร้างรายได้เข้าประเทศถึงราว 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี ทั้งนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในวงกว้างไปทั่วโลก ถือเป็นช่วงเวลาทองของไทยในการส่งออกถุงมือยาง โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 มูลค่าการส่งออกถุงมือยางไทยเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 449 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16% จากช่วงเดียวกันของปี 2019


  • การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ความต้องการถุงมือทางการแพทย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้มาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตถุงมือทางการแพทย์รายใหญ่ที่สุดของโลก มีกำลังการผลิตถุงมือทางการแพทย์ 125,000 ล้านชิ้น/ปี โดยในปี 2019 มีการผลิตจริง 63,000 ล้านชิ้น สะท้อนศักยภาพในการผลิตเพิ่มได้อีกมาก ขณะที่กำลังการผลิตของไทยอยู่ที่ 25,000 ล้านชิ้น/ปี โดยในปี 2019 ผลิตจริงคิดเป็น 85% ของกำลังการผลิตรวม โดย EIC มองว่า หากทั้ง 2 ประเทศเร่งผลิตถุงมือทางการแพทย์เต็มกำลังการผลิตแล้ว จะส่งผลให้มาเลเซียได้อานิสงส์มากกว่าไทย เนื่องจากมีศักยภาพในการผลิตเพื่อป้อนตลาดโลกได้มากกว่า


  • ขณะเดียวกัน ไทยยังได้รับอานิสงส์ทางอ้อมเพิ่มเติมจากการส่งออกน้ำยางข้นให้มาเลเซีย เพื่อนำไปผลิตถุงมือทางการแพทย์ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 มูลค่าการส่งออกน้ำยางข้นจากไทยไปมาเลเซียอยู่ที่ 176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 7% จากช่วงเดียวกันของปี 2019 ทั้งนี้การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงแพร่กระจายในวงกว้างทั่วโลก จะส่งผลให้มาเลเซียยังคงมีความต้องการนำเข้าน้ำยางข้นจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำยางข้นเป็นการส่งออกสินค้ากลางน้ำ ซึ่งยังไม่ถูกพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มมากนัก ขณะที่มาเลเซียนำน้ำยางข้นที่นำเข้าจากไทยไปผลิตถุงมือยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ไทยต้องสูญเสียไปจากการที่ไทยไม่สามารถ แปรรูปน้ำยางข้นไปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถุงมือยาง รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในระดับต้นน้ำอย่างผู้ผลิตน้ำยางข้นสามารถยกระดับไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าปลายน้ำอย่างถุงมือยาง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น เพิ่มกำลังการผลิตถุงมือยางโดยรวม และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศได้มากขึ้น


อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/6856

ท่านผู้นำเสนอบทวิเคราะห์ : กัญญารัตน์ กาญจนวิสุทธิ์ ตำแหน่ง นักวิเคราะห์อาวุโส, Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน

 

COVID-19 increased global demand for medical glove.

EIC indicates that Malaysia gains more from export than Thailand.

  • As one of Thailand’s leading export products, rubber glove generated approximately USD 1,200 million per annum. COVID-19 global pandemic is Thailand’s golden opportunity for rubber glove export. During the first 4 months of 2020, export value increased to USD 449 million, an increase of 16% from the same period in 2019.


  • COVID-19 pandemic has generated high demand for medical glove. Malaysia is globally, the biggest producer of medical glove with production capacity of 125,000 million pieces per annum. In 2019, Malaysia’s actual production was 63,000 million pieces, reflecting the advantage in increasing production capability. Thailand’s production capacity is 25,000 million pieces per annum and in 2019, the actual production was 85% of total production capacity. EIC noted that if these 2 countries were to increase their  medical glove production capability to the fullest, Malaysia would benefit more than Thailand.


  • Thailand still has indirect benefit from the increasing export of concentrated latex to Malaysia for medical glove production. During the first 4 months of 2020, export of concentrated latex from Thailand to Malaysia was USD 176 million, an increase of 7% from same period in 2019. With the continuation of COVID-19 pandemic, it is most likely that Malaysia’s demand for Thai concentrated latex will continue.


  • Malaysia produces natural rubber glove, a high value-added product, with imported concentrated latex from Thailand, a mid-stream product with very little added value. It is an economic lost to Thailand due to the insufficient product transformation into value-added products of concentrated latex. Therefore, government sector must increase the support in R&D of rubber glove production and enhance up-stream operators who produce concentrated latex to operate in down-stream products like rubber glove. In addition, government sector should encourage foreign direct investment to improve efficiency in production technology which will increase rubber glove production capability as a whole and build a stronger value-added economy for Thailand.

Article By : Kanyarat Kanjanavisut Senior Analyst Economic Intelligence Center (EIC) Siam Commercial Bank PLC.

55 views

Commentaires


bottom of page