top of page
312345.jpg

ไทยพาณิชย์ประกาศผลกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี '63 จำนวน 8,360 ล้านบาทและครึ่งปีแรกของปี '63 จำนวน 17,611 ลบ


กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) ในไตรมาส 2 ของปี 2563 จำนวน 8,360 ล้านบาท ลดลง 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการตั้งเงินสำรองที่สูงขึ้น ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 17,611 ล้านบาท ลดลง 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรจากการดำเนินงานยังคงเติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน


รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 23,777 ล้านบาท ลดลง 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการหดตัวของอัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิสืบเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ผนวกกับการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยหลังจากที่ธนาคารได้ขายหุ้นของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา ในขณะที่สินเชื่อรวมลดลงเพียงเล็กน้อยคือ 1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาส 1 จากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจขนาดใหญ่และการสนับสนุนสินเชื่อซอฟท์โลนให้กับลูกค้าธุรกิจ


รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 12,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากรายได้ที่สูงขึ้นของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจประกันและรายการพิเศษครั้งเดียวจากการขายเงินลงทุนและธุรกรรมของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และจาก มาตรการปิดเมืองในช่วงไตรมาส 2 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักและทำให้ปริมาณธุรกิจของธนาคารลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนเมษายน อย่างไรก็ดีได้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจในเดือนมิถุนายน พร้อมกับการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองเป็นลำดับ


ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 16,141 ล้านบาท ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลงระหว่างช่วงมาตรการปิดเมืองของประเทศและการที่ธนาคารควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารในไตรมาส 2 ของปี 2563 ค่อนข้างคงที่ที่ 44.5%


ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกับการที่ธนาคารยังดำเนินโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 9,734 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ของปี 2563 ทั้งนี้โครงการเยียวยาภาคธุรกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลที่คาดว่าจะเริ่มส่งผลในช่วงต่อไปจะช่วยให้ธนาคารสามารถประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ชัดเจนขึ้นและคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะสะท้อนในผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ปรับลดลงอยู่ที่ 3.05% ภายใต้กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพักการจัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือทางการเงิน ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นเป็น 152% ทั้งนี้ เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18%

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อรายได้และแนวโน้มกำไรของธนาคารในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารเชื่อมั่นว่าสถานะเงินกองทุนของธนาคารที่แข็งแกร่งและการตั้งสำรองหนี้สูญในระดับสูง จะช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ ตั้งแต่การเริ่มระบาดครั้งใหญ่นี้ ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าบุคคลไปแล้วกว่า 1.1 ล้านรายและลูกค้าธุรกิจกว่า 13,000 ราย รวมธุรกิจขนาดย่อมและบริษัทต่างๆ คิดเป็นยอดสินเชื่อภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 รวมประมาณ 840,000 ล้านบาทหรือ 39% ของยอดสินเชื่อรวมของธนาคาร นอกจากนี้ธนาคารได้อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางดิจิทัลบน SCB EASY แอปพลิเคชั่น ตลอดจนเปิดตัวแพล็ตฟอร์มบริการส่งอาหาร ROBINHOOD เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารและลูกค้ารายย่อยโดยทั่วไป แม้ว่าเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว แต่ผลกระทบในระยะยาวจากการระบาดของโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ในช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้ ธนาคารยังคงให้การสนับสนุนกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าและทุกภาคส่วนของสังคมสามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน ในขณะเดียวกันธนาคารยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป”


 

FIRST-HALF PROFIT OF BAHT 17.6 BILLION


Bangkok: Siam Commercial Bank and its subsidiaries reported consolidated net profit (based on unaudited financial statements) of Baht 8.4 billion for the second quarter of 2020. While net profit fell 24% yoy mainly from higher provisioning, pre-provision operating profit increased 4% yoy. For the first half of 2020, net profit fell 13% yoy to Baht 17.6 billion while pre-provision operating profit still grew 15% yoy.


Net interest income decreased 7% yoy to Baht 23.8 billion mainly because of compressed net interest margin following multiple cuts in the policy interest rate to a historic low. In addition, there was also a drop in NII contribution following the SCB Life divestment. Total loans declined slightly 1% yoy but rose 2% qoq with higher loan demand from corporate customers and extension of soft loans to business customers.


Non-interest income increased 19% yoy to Baht 12.5 billion largely from improved income from wealth and bancassurance businesses as well as one-time gains on sale of investments and corporate deals. Given an abrupt halt in economic activity during the COVID-19 lockdown in the second quarter, business volume was down significantly from April but showed early signs of recovery in June as lockdown restrictions were gradually eased.


Operating expenses decreased 3% yoy to Baht 16.1 billion due to lower overall spending during the nationwide lockdown and the Bank’s effective cost control measures. The Bank’s cost-to-income ratio for the second quarter was relatively stable at 44.5%.


Given the uncertainty generated by COVID-19 and the Bank’s on-going relief programs to assist impacted customers, Baht 9.7 billion of provisions were set aside in the second quarter. As government relief and stimulus measures starting to take effect, the economic impact of this pandemic will be better assessed and reflected into the Bank’s second half financial results. Non-performing loans declined to 3.05% at the end of June 2020 given the Bank of Thailand’s current guideline on deferral of NPL classification for loans under relief programs. NPL coverage ratio increased to 152% and the Bank’s capital adequacy ratio remains strong at 18%.


“The impact of the pandemic on the Bank’s top-line performance and earnings outlook has started to be felt this quarter. Nevertheless, we are confident that the Bank's strong capital position and high loan loss provisions will enable us to weather this recession. Since the start of the pandemic, the Bank has assisted more than 1.1 million retail customers and over 13,000 business customers, ranging from SMEs to corporations, with Baht 840 billion worth of loans under relief programs, or 39% of the Bank’s total loans, at the end of June 2020.  Moreover, the Bank has used SCB EASY app to facilitate the request process for customers seeking assistance and launched a food-delivery platform, ROBINHOOD, to assist restaurant operators and retail customers in general. Although economic activity has begun to recover, the long-term impact of this pandemic on the business sector still remains highly uncertain. During this challenging time, the Bank will continue to support impacted customers so that we all, including our community at large, can get through this crisis together. At the same time, the Bank remains committed to its long-term goal of developing digital innovation to generate sustainable growth.”

10 views
bottom of page