top of page
327304.jpg

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่ง ลงทุนอะไรดี??


- ตลาดหุ้น ตลาดเงิน และตลาดพันธบัตร กำลังส่งสัญญาณอะไรเมื่อพันธบัตรมะกันให้ผลตอบแทนเพิ่มเป็นอายุ 10 ปี 3%

ตัวของดอกเบี้ยพันธบัตรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เพราะราคาสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะตัวที่มี Cash Flow หรือ เงินปันผล มีดอกเบี้ย ก็จะมีตัวแปรอยู่ 2 ตัวที่จะไปกระทบ คือ 1. อัตราการเติบโตว่าปันผลที่ได้รับมาโตกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี รวมถึงการมองไปข้างหน้าว่าอัตราการเติบโตเป็นอย่างไร ถ้าจะโตดีขึ้นก็ต้องมาใส่สูตรคำนวณก็จะทำให้ได้ราคาที่เหมาะสมหรือมูลค่าที่เหมาะสมในสินทรัพย์นั้นๆ สูงขึ้น เมื่อคนเห็นมูลค่าที่เหมาะสมสูงขึ้น ถ้าราคาตลาดยังต่ำกว่านั้นคนจะเข้าไปซื้อดีมานด์มาก ก็จะไล่ราคาขึ้นไปจนกระทั่งได้ราคาที่เหมาะสมก็จะเป็นเรื่องของทฤษฎีอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า ซึ่งแล้วแต่ว่าจะมากกว่าหรือน้อยกว่าจะทำให้เกิดโอกาสของการลงทุน ในขณะที่ความคาดหวังในการเติบโตมีมากจริง แต่อยู่ในราคาที่ขึ้นไปเยอะแล้วก็อาจไม่ได้เป็นโอกาสการลงทุนเท่าไหร่

2. อัตราดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยส่วนใหญ่ไม่พอเพราะเป็นดอกเบี้ยระยะสั้น ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางต่างๆ อาจจะเป็นดอกเบี้ยข้ามคืน ดอกเบี้ย 7 วันหรือ 14 วันแล้วแต่ แต่ว่าอาจจะเอาไปเปรียบเทียบกับการลงทุนหรือการใส่สูตรคำนวณมูลค่าเหมาะสม อาจจะไม่เหมาะมากนักในหลายกรณี เช่น เราลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวแล้วเอามาเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยระยะสั้น อาจจะไม่เป็นธรรมมากนักที่จะเปรียบเทียบแบบนี้ การลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวก็ต้องไปเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยระยะยาวเช่นเดียวกัน ตัวดอกเบี้ยระยะยาวจะเรียกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาวอย่าง 10 ปี หรือ 20 ปี 30 ปี เป็นระยะเวลาที่เท่ากันหรือเปรียบเทียบกันได้ในการลงทุนระยะยาวอย่างหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ที่เราคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาว

เพราะฉะนั้นการปรับตัวขึ้นของ Yield พันธบัตร ที่จริงแล้ว Yield พันธบัตรมีหลายตัวหลายอายุแต่ว่าอายุที่คนดูกันจะเป็นตัว 10 ปี เป็นตัวที่คนสนใจมากเป็นพิเศษ และมีการซื้อขายสภาพคล่อง ซึ่ง Yield พันธบัตรขึ้นมาถึงระดับ 3% เป็น Yield พันธบัตรของสหรัฐ อาจจะเลยไปหน่อยด้วยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เป็นจุดสนใจและคนจ้องดูกันมานาน บางคนบอกอาจจะขึ้นไปอีก 3.1-3.2% บางคนบอกจุดนี้ดีแล้ว เพราะการปรับตัวขึ้นไปของ Yield พันธบัตร แปลว่าราคาพันธบัตรปรับตัวลงเพราะขึ้นลงสวนทางกัน คนที่อาจจะรอซื้ออยู่อาจจะบอกว่า Yield ขึ้นไป 3% ราคาก็ลงมาถูกพอแล้วก็น่าจะเข้ามาซื้อ เช่น คนที่เราใช้บริการของเขาที่เราไปซื้อกองทุนของเขาอีกทีอย่างกองทุนต่างประเทศอย่าง PIMCO ที่เป็นบริษัทจัดการด้านตราสารหนี้ระดับโลกก็บอกว่า 3% ก็พอแล้ว เขาน่าจะซื้อตรงนี้ เราก็มองว่ามีรายใหญ่ที่จะซื้ออยู่ เราเองค่อนข้างที่จะไปทางไม่น่าจะเกิน 3% เรียกว่า 3% พอแล้ว เพราะว่าปัจจัยในระยะสั้นที่ทำให้ Yield พันธบัตรปรับตัวขึ้นไปอาจจะเป็นเพราะเศรษฐกิจอาจจะดีจริงในสหรัฐ แล้วยังไปกระตุ้นมันอีก และยังไปลดภาษีลงไปซ้ำมันอีก คนก็กังวลกันว่ามันจะทำให้เศรษฐกิจดีมากหรือร้อนแรงเกินไปก็จะทำให้เงินเฟ้อมา เมื่อเงินเฟ้อมาดอกเบี้ยก็จะขึ้น ตัว Yield พันธบัตรระยะยาวก็ปรับตัวขึ้นไป

การรับรู้ตรงนี้รู้มานานหลายเดือน แล้ว Yield ก็ขึ้นมาเยอะเป็นเปอร์เซ็นต์จากจุดต่ำสุดในปีที่แล้ว มันไม่สามารถขึ้นไปแล้วไม่มีที่สิ้นสุดได้ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ พอเราเห็นแบบนี้ตั้งแต่ต้นปีมาค่อนข้างจะส่งสัญญาณมาให้กับนักลงทุนว่าถึงระดับที่น่าจะสนใจมากขึ้นในการซื้อพันธบัตรโดยเฉพาะตัวระยะยาว และคิดว่า 3% ไม่ใช่ตัวเลขที่ขีดไว้แล้วสถานการณ์จะแตกต่างกันระหว่าง 2.99% กับ 3.01% ไม่ใช่แบบนี้ เป็นเพียงตัวเลขจิตวิทยาเพราะเป็นตัวเลขกลมๆอาจจะเลยขึ้นมาหน่อยแล้วกลับลงมา อย่างตอนนี้ลงมาที่ 2.95-2.96% ค่อนข้างสอดคล้องที่เรามองอยู่ว่าจุดนี้อาจจะเป็นจุดที่สมดุลและดูภาวะต่อไปว่าอย่างตัวเลขข้างหน้าว่าจะมีตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ตัวเลขการจ้างงานดีอยู่แล้วแต่ตัวเลขที่คนดูในระยะหลัง คือ ค่าจ้างแรงงาน เป็นค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง อาจจะเป็นสัญญาณนำของเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้นไปอีก แต่ก็ยังขึ้นๆลงๆในช่วงต้นปีที่ผ่านมาไม่ได้เร่งไปทุกเดือน

เพราะฉะนั้นการลงทุนของเรา การลงทุนที่กลัวว่า Yield จะขึ้นทะลุ 3% แล้วไปเรื่อย บุคลิกของเราเป็นชาวสวนของบลจ.ทหารไทยจะชอบการลงทุนแบบนั้น เช่น ตราสารหนี้ที่มีอายุยาว กองทุนตราสารหนี้เราค่อนข้างชอบและมีไม่กี่เจ้าในตลาดที่ชอบตราสารหนี้ ด้วยลักษณะ 2 อย่าง คือ อายุยาวลงทุนได้เราไม่กลัวเพราะคิดว่าซึมซับอยู่ในความคาดหวังของคน และ Yield พันธบัตรอายุยาวไม่น่าจะเลยไปไหนได้ไกล และอาจจะปรับตัวลงมาด้วยถ้าเกิดมีอะไรผิดคิวอย่างคนที่คิดว่าจะดีแต่ปรากฎว่ามันไม่ดี ใน Yield พันธบัตรระยะยาวจะปรับลงมาอาจจะเป็นโบนัสของนักลงทุนแล้วแต่ว่าจะไปลงทุนในตราสารหนี้ยาวแค่ไหน ความกลัวอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ คนไม่อยากจะซื้อแปลว่า Yield พันธบัตรระยะยาวไม่เป็นที่ต้องการ ราคาน่าจะดีเวลาที่คนไม่ต้องการ และเรายังชอบตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงอยู่ เช่น พันธบัตร อาจจะเป็นตราสารหนี้ที่เป็นลักษณะความน่าเชื่อถือสูง ระดับลงทุนเหนือกว่าตราสารหนี้ที่ต่ำกว่าระดับลงทุน Non-investment grade หรือ junk bonds high yield แต่ก็ยังชอบ investment grade high quality และตัว duration ยาวได้เพราะเป็นมุมมองที่เรามองแตกต่างจากตลาดที่ยังระมัดระวังมาก และยังชอบพันธบัตรระยะสั้น และยังเน้นที่ต่างประเทศที่บางคนบอกว่าในประเทศดีกว่าไหมเพราะที่ผ่านมาผลตอบแทนดีกว่า เพราะตลาดดอกเบี้ยหรือตลาดพันธบัตรในประเทศมีความผันผวนน้อยกว่าทำให้ทำผลตอบแทนได้ดีกว่า คนก็แห่กลับมาซื้อตราสารในประเทศ แต่อย่าลืมหลักการหนึ่งที่เชื่อว่ากำไรไม่สามารถเป็นของคนส่วนใหญ่ได้ ทุกคนรวยกันหมดไม่ได้ในโลกทุนนิยม เพราะฉะนั้นในเมื่อคนแห่กันมาบอกว่ามาตราสารหนี้ไทยดีกว่าเพราะที่ผ่านมาดีกว่าต่างประเทศ แต่ผมบอกว่าไปต่างประเทศก็ได้เพราะมันลงมาแล้วราคาจึงดี เลยชี้ไปที่กองทุนอย่าง global bond หรือ asian bond ที่ลงมาค่อนข้างหนักในช่วงต้นปีก็สามารถลงทุนได้ แต่ใครที่อยากได้ duration ที่สั้นก็ไปที่ global income ก็เป็นอะไรที่คนนิยมและเชื่อว่าผ่านช่วงเวลาเลวร้ายสุดมาแล้ว

- มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ Yield จะพลิกลงมา เช่น 2.5% หรือขึ้นไป 3.5%

ในเรื่องที่ Yield จะไปทางไหน หลายคนไปนั่งจ้องโฆษณาทางการอย่างเฟด หรือว่า ECB ในยุโรป หรือ BOJ ของญี่ปุ่น หรือ BOE ของอังกฤษ

ขอเล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาของยูโรโซนที่ประชุมออกมาก็คงนโยบายเหมือนเดิม ทำ QE เหมือนเดิมยังไม่ได้กำหนดวันที่จะไปเลิกมัน ก็เป็นสิ่งที่คนคิดว่าจะเกิดขึ้นเพราะเศรษฐกิจยุโรปคนชื่นชอบกันมาก ในช่วงต้นปีที่ผ่านถึงตรงนี้ค่อนข้างน่าจะผิดหวังมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กลายเป็นว่าจากตอนต้นปีคนเชื่อว่าสิ้นปีนี้โครงการ QE คือ พิมพ์เงินมาซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรปน่าจะเลิกได้ในสิ้นปีนี้ก็เริ่มจะไม่แน่ใจแล้ว ดอกเบี้ยของยูโรโซนที่ยังติดลบอยู่คิดว่าน่าจะขึ้นได้ในช่วงกลางปีก็อาจจะไม่ค่อยแน่ใจแล้วหรือจะเป็นปลายปี 2019 ดีไหม ความเชื่อมั่นลดลงก็สอดคล้องกับที่เราคิดไว้ เพราะตอนมกราคมที่หุ้นขึ้นในความคาดหวังแบบนี้พูดเต็มตลาด เราก็เลยออกมาเตือนว่าความคาดหวังมันมากเกินไป เศรษฐกิจดีอยู่แล้วแต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้ามวัน แต่ความคาดหวังชอบโอเวอร์ไป ดีใจเกินไป เสียใจหรือกลัวก็มากเกินไป พอมาถึงตรงนี้ ECB ค่อนข้างจะเฉื่อยลงจากที่จะดาหน้าเลิก QE เลิกมาตรการผ่อนคลาย คิดว่าจะรอดูหน่อยไหม

2. BOJ ธนาคารญี่ปุ่น เขาเขียนไว้อย่างเดียวเลย คือ จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายอย่างแข็งขัน Powerful คือ มั่นใจในสลิปมาตรการหรือไม่ ไม่รู้ แต่เขาก็ต้องมั่นใจไว้ก่อน ว่าจะดำเนินต่อไปไม่เลิกง่ายๆ เงินเฟ้อแต่เดิมที่ตั้งเป้าไว้ตอนที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะเข้ามาเมื่อปลายปี 2012 และก็มีนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ เข้ามาเป็นผู้ว่าฯและบอกว่าจะกระตุ้นเงินเฟ้อเพราะเงินฝืดแต่เดิมภายใน 2 ปี ตอนนี้ 2018 ตั้งเป้าแบบนี้ จนกระทั่งครั้งนี้มีสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น คือ ไม่ให้ระยะเวลาแล้ว วิธีการหนึ่งที่แก้ปัญหาที่พลาดเป้า คือ เลิกมันเลย ทีนี้พอไม่ได้เลือกเป้าเงินเฟ้อมันจะกระตุ้นได้ 2% แต่เขาเลิกเป้าในเรื่องระยะเวลาว่าจะถึงเมื่อไหร่ คราวนี้ไม่บอกแล้วเพราะบอกมาตั้ง 6 ปีก็ยังไม่ถึง แล้ว BOJ ยังไม่มีทีท่าว่าจะเลิกค้ำเงินและไม่เลิกคืนเงินง่ายๆ ไม่มีทีท่าว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้

- มาถึงจีน

จีนเรามองว่าเขาดำเนินนโยบายการคลัง คือ การใช้จ่ายภาครัฐ เก็บภาษีมากขึ้น/น้อยลง จีนดำเนินนโยบายการคลังที่ค่อนข้างเข้มงวดกว่าสหรัฐชัดเจน เพราะสหรัฐดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย คือ ไปลดภาษี แต่จีนอาจจะมีการลดภาษีในบางส่วน แต่สุดท้ายค่อนข้างจะเข้มงวดเพราะเขามีการตั้งเป้าเมื่อเดือนก่อนว่าตั้งเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณลงเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP เรียกว่า ขาดดุลงบประมาณลดลง รายจ่ายเกินรายได้ลดลง สวนทางกับสหรัฐ ที่คาดกันว่าการลดภาษีรายได้จากภาษีน้อยลง และการเก็บภาษีจากการกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็ยังทำให้ยอดการขาดดุลงบประมาณของเขาเพิ่มเป็นหลักพันล้านดอลลาร์ในหลายปีข้างหน้า

นโยบายการคลังของสหรัฐและจีนค่อนข้างสวนทางกัน ก็เป็นปัจจัยที่ระยะหลังที่นักลงทุนให้ความสำคัญและทำให้กดดันเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินหยวนอยู่แล้ว เมื่อเป็นแบบนี้จีนมีช่องอยู่แล้วว่าเงินหยวนมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าเมื่อเทียบเงินดอลลาร์อยู่แล้ว เขาก็สามารถจะดำเนินนโยบายอีกอย่าง คือ นโยบายการเงินของจีนที่จะผ่อนคลายได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่แล้วของสหรัฐ 0.25% จีนขึ้นดอกเบี้ยตามก็จริงแต่ขึ้นมาแค่ 0.05% ขึ้นมาน้อย ในเชิงเปรียบเทียบแล้วนโยบายการเงินของจีนในแง่ดอกเบี้ยค่อนข้างที่จะผ่อนคลายกว่าสหรัฐ ที่ทำอย่างนี้ได้เพราะว่าตัวของค่าเงินหยวนถูกหนุนด้วยนโยบายที่เข้มงวดทำให้แข็งค่า พอดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายก็ไม่ต้องไปกลัวว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าอะไรมากมายเพราะมีการชดเชยกันเท่านั้นเอง

เราเห็นแล้วว่าการลด 3R การลดอัตราการสำรองของธนาคารพาณิชย์ อันนี้ก็เพื่อชดเชยตัวหนี้ที่ครบอายุแต่เป็นการทำให้เขาสามารถทำสภาพคล่องของเขามีเพียงพอได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่า เพราะเวลาอัดทรัพย์เข้าไปเยอะๆหยวนก็จะอ่อนค่า และในปี 2015 ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีทำให้เงินมันไหลออกคนก็กลัวว่าทุนสำรองจะหมด แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจจีนแข็งแกร่งเรียกว่าดีและเขาสามารถทำให้การเงินผ่อนคลายได้ ไม่ว่า BOJ/BOE/ECB เรียกว่าจะหยุดแล้วรอก่อนเพราะนโยบายการเงินไม่เข้มงวดนโยบายการเงินผ่อนคลายลงจาก 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่จีนผ่อนคลายลงอย่างที่เราคาดไว้เพราะนโยบายการคลังเข้มงวดและนโยบายการเงินก็ผ่อนคลาย

ส่วนของอังกฤษเศรษฐกิจไม่ดีและตัวเลขนโยบายที่ออกมา GDP ต่ำกว่าคาด ตรงนี้การเจรจาของ Brexit ก็มีผลในระดับหนึ่งและอาจจะมีเรื่องของสภาพอากาศไม่ดีในช่วงต้นปีแต่ก็แย่กว่าคนที่คาดไว้อีกจากที่คาดว่าจะแย่อยู่แล้ว ตัวของ Bank of England ที่ขึ้นดอกเบี้ยไปของ Cycle เมื่อปลายปีที่แล้วก็อาจจะหยุดรอดูก่อน ตอนแรกคนคิดว่าเดือนพฤษภาคม Bank of England จะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งตอนนี้ไม่เชื่อแล้ว ตอนนี้คิดว่าต้องเป็นปลายปีและบางคนอาจจะบอกว่าปีนี้หยุดก่อน เพราะฉะนั้นธนาคารกลางที่สำคัญของโลกไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน ค่อนข้างผ่อนคลาย คนเลยมองว่าถ้ามองชั้นเดียวสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยคนเดียว เป็นนโยบายที่สวนทางกับธนาคารกลางหลักทั้งหมดในโลก เงินดอลลาร์ควรจะแข็งค่า Yield พันธบัตรสหรัฐควรจะปรับตัวขึ้นต่อไป ส่วนต่างควรจะต่างกว้างขึ้นเมื่อเทียบกับเยอรมันไม่ใช่เทียบกับญี่ปุ่น แต่ในสิ่งที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาเราเริ่มเห็น Yield พันธบัตรสหรัฐ เริ่มไปต่อไม่ค่อยไหว แต่ก่อนหน้านี้คนละเลยบอกว่านโยบายการเงินสวนทางกัน

นี่คือละเลยสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า Interrelation หรือว่า ความเกี่ยวพันธ์สัมพันธ์ต่อเนื่องที่สิ่งหนึ่งส่งผลกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่ง คือ การคลี่คลายต่างๆผ่อนคลายแล้วสหรัฐจะเดินหน้าขึ้นต่อไป แน่นอนว่าทำให้Yield พันธบัตรขึ้น เงินดอลลาร์แข็งค่า ถ้าเฟดตัดสินใจได้เขาจะตัดสินใจทำแบบนั้นต่อไปหรือไม่

สิ่งที่เกิดขึ้นมันจะไปกระทบการตัดสินใจของเฟด แต่เดิมเฟดจะบู๊ล้างผลาญมากบอกว่าปีนี้จะขึ้น 3-4 ครั้ง อาจจะเหลือแค่ 3 ครั้งหรือ 2-3 ครั้ง หรืออาจจะปรับโทนไหมในการสื่อสารในต้นเดือนพฤษภาคม เป็นไปได้ไหมที่คนไม่คิดถึงมาก่อนอาจจะต้องปรับการคาดหวังกันไหม ตลาด Bond มันบอกเราแบบนั้น การตีความของ Yield พันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปได้ว่า Interrelation ความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องสิ่งหนึ่งกระทบอีกสิ่งหนึ่งมันอาจจะเกิดขึ้นในข้างหน้าและอาจจะสะท้อนในคำพูดหรือมุมมองของ Statement ของเฟดก็เป็นไปได้ อย่าลืมว่านายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ แต่เดิมก็เคยพูดแบบนางเจเน็ต เยลเลน ก็ค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐจะต้องไม่ไปกระทบกับตลาดเกิดใหม่ เพราะตลาดเกิดใหม่ถ้าผันผวนมีความเสี่ยงอาจจะต้องทำให้เขามาหยุดคิด เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อตอนกันยายน 2015 นางเจเน็ต เยลเลน กำลังจะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อนข้างชัวร์แต่จีนรับไม่ไหวเลยต้องเลี่อนไปเดือนธันวาคม

เพราะฉะนั้นกระบวนการหรือเงื่อนไขในการตัดสินใจของเขามันเป็นแบบนี้อยู่แล้ว แล้วพอเราเอาไปประกอบกับข้อมูลที่อยู่ก็จะพอมองได้ว่าเฟดเองก็ไม่ควรบู๊มากไป อาจจะลดระดับความบู๊ลงซึ่งจะทำให้ดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลงและ Yield พันธบัตรตรงนี้ ถ้ามีปัจจัยลบเข้ามาก็อาจจะทำให้ Yield พันธบัตรร่วงลงจากจุดนี้ได้

- แล้วผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์

อันนี้เป็นสิ่งที่คนที่ลงทุนในกองอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในต่างประเทศค่อนข้างตกใจ ส่วนของไทยค่อนข้างแข็ง ในต่างประเทศค่อนข้างตกใจในเดือนกุมภาพันธ์เพราะ Yield พันธบัตรปรับตัวขึ้น อยากให้คอนเซ็ปต์สั้นๆว่า Yield พันธบัตรปรับตัวขึ้นอย่าไปดูว่า Yield ขึ้น 3% Yield พันธบัตรมีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่าง องค์ประกอบแรก คือ Yield ที่แท้จริง องค์ประกอบที่ 2 คือ ความคาดหวังเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ในเดือนกุมภาพันธ์ Yield พันธบัตรปรับตัวขึ้นด้วยความคาดหวังเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ขึ้นมาก่อนแล้ว และ Yield ที่แท้จริงขึ้นตามมาด้วย แล้ว Yield ที่แท้จริงสำคัญที่จะขึ้นหรือลงนั้นตัวธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมมัน เพราะถ้า Yield แท้จริงมันขึ้นมามากๆ ขึ้นกว่าประเทศอื่นเงินจะแข็งค่า แต่ถ้า Yield แท้จริงลงมากๆเมื่อเทียบกับประเทศอื่นเงินจะอ่อน แล้วสมมุติฐานเราบอกว่าเศรษฐกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ทำสงครามค่าเงินกันโดยเฉพาะสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น เขาไม่ยอมให้ค่าเงินเขาแข็งค่าแบบโดดเดี่ยว เพราะฉะนั้นต้องไปควบคุม Yield แท้จริงไว้ไม่ให้ขึ้นแรงมาก

ในเดือนกุมภาพันธ์ตลาดคาดหวังว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นก็จะไปกระทบ Yield แท้จริง พอไปกระทบ Yield แท้จริงที่ขึ้นมาทำให้สินทรัพย์แบบอสังหาริมทรัพย์แย่ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ลองสังเกตว่าตอนที่ Yield มันขึ้นหลังจากนั้นมันเป็นการคาดหวังจากเงินเฟ้อ มันก็จะไม่กระทบกับอสังหาริมทรัพย์มากนัก เพราะถ้า Yield ปรับตัวขึ้นไปเพราะความคาดหวังเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินทรัพย์จริง ราคาค่าเช่าอาจจะขึ้นไม่ทันเงินเฟ้อหรืออาจจะชนะเงินเฟ้อด้วย มันอาจจะไม่กระทบมากถ้าเงินเฟ้อขึ้นแต่ว่าธนาคารกลางควรอยู่นิ่งๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้เราเห็นการฟื้นตัวแล้วในอสังหาริมทรัพย์ในกอง Reit realestate investment trust ที่คล้ายกับ property fund ในสหรัฐฟื้นตัวค่อนข้างแรงวันหนึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์กว่า เพราะฉะนั้นเราค่อนข้างมั่นใจแล้วเหมือนก่อนหน้านี้บอกว่าเลวร้ายสุดแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ เพราะตลาดปรับการคาดหวังว่าเฟดจะปรับดอกเบี้ย 2-3 ครั้ง เป็น 3-4 ครั้ง แต่ตอนนี้หยุดแล้วยิ่งปรับลงด้วย

สินทรัพย์ที่โดนกระหน่ำมาเมื่อต้นปีอาจจะกลับมาเป็นดาวเด่นได้ในไตรมาส 2 ผมได้ชี้ไปที่กองทุน เช่น property income plus ที่ลงทุนในไทยกับสิงคโปร์เป็นหลัก และ TMB global property ที่เริ่มฟื้นตัวและยังเป็นตัว overweight ของเราด้วย ส่วนที่กลัว Yield พันธบัตรปรับตัวขึ้น แต่ถ้าปรับขึ้นผมให้ดูองค์ประกอบถ้าขึ้นด้วยเงินเฟ้อไม่ค่อยน่ากลัว ถ้าชอบตราสารหนี้หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ดู global property เป็นหลัก

236 views
bottom of page