top of page
347550.jpg

กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น


นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 27 กันยายน 2560

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี โดย ในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่าน ลาประชุม

ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมิน ไว้เดิมจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและเริ่ม กระจายตัวมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลงกว่าประมาณการเดิมจากปัจจัย ด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาอาหารสดเป็นสาคัญ ขณะที่ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันมีส่วนช่วย สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่เป้าหมายได้ แม้อาจต้องใช้เวลา อีกระยะหนึ่ง จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนขึ้นจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เข้มแข็งมากขึ้น ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นใน หมวดบริการและสินค้าคงทน แม้โดยรวมจะยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกาลังซื้อที่ ยังไม่เข้มแข็งนัก โดยเฉพาะของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน การลงทุนภาคเอกชนในหมวด เครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับดีขึ้นในหลายธุรกิจและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่การลงทุน ภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้จะชะลอลงบ้างในระยะสั้นหลังจากเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไป อย่างใกล้ชิด อาทิ ผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ และการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงดา้ นภูมิรัฐศาสตร์

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิมเล็กน้อยจากราคาอาหารสดที่ปรับลดลงตาม ผลผลิตผักและผลไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะอากาศที่เอื้ออานวย ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ใน ระดับต่า รวมทั้งยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางปรับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการปรับขึ้น อัตราภาษีสรรพสามิต รวมถึงผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่อาจมีต่อค่าจ้างแรงงานใน ระยะข้างหน้า ส่วนการคาดการณ์เงินเฟ้อของสาธารณชนยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่ากลางของกรอบเป้าหมาย

ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่า และภาคธุรกิจสามารถระดมทุนได้เพิ่มขึ้นทั้งจากสินเชื่อสถาบันการเงินและตลาดทุน ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นบ้างจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. และการเกินดุลบัญชี เดินสะพัดของไทยเป็นสาคัญ อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลประเทศคู่ค้าคู่แข่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมี นัยสาคัญ สาหรับในระยะข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนจะยังมีแนวโน้มผันผวนสูงจากความไม่แน่นอนใน ต่างประเทศ อาทิ ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการดาเนินนโยบายการเงินของประเทศ เศรษฐกิจหลัก คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ตดิ ตามสถานการณ์ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด

2

คณะกรรมการฯ เห็นว่าระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงในบางจุดที่ อาจจะสร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหา ผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่าเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนาไปสู่การประเมิน ความเสี่ยงต่ากว่าที่ควร (underpricing of risks) นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความสามารถในการชาระหนี้ของ ภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเชิงโครงสร้างและรูปแบบการทาธุรกิจ

มองไปข้างหน้า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะจาก ปัจจัยด้านต่างประเทศ ในขณะที่ยังต้องติดตามความเข้มแข็งของการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่ มีอยู่เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ

 

Mr. Jaturong Jantarangs, Secretary of the Monetary Policy Committee (MPC), announced the outcome of the meeting on 27 September 2017 as follows.

The Committee voted unanimously to maintain the policy rate at 1.50 percent.

One MPC member was unable to attend this meeting.

In deliberating their policy decision, the Committee assessed that the Thai economy would grow at a faster pace than the previous assessment, driven by expansion in merchandise and service exports and a continued recovery in domestic demand that started to be more broad-based. Headline inflation was projected to edge up albeit at a slower pace than previously expected mainly because of supply-side factors, especially fresh food prices. Overall financial conditions remained accommodative and conducive to economic growth. Hence, the Committee viewed that the current accommodative monetary policy stance remained conducive to the continuation of economic growth, and it should foster the return of headline inflation to target although this could take some time. Thus, the Committee decided to keep the policy rate unchanged at this meeting.

The Thai economy gained further traction on account of stronger growth in merchandise exports and tourism driven by a stronger global economic recovery. Private consumption continued to expand on the back of services and durable goods. Nonetheless, overall private consumption gradually expanded as household purchasing power was not sufficiently strong, particularly low-income households whose income had yet to fully recover. Private investment in machinery and equipment picked up across various business sectors and was expected to gradually expand. Meanwhile, public investment remained an important growth driver, although it would likely slow down in the near term following accelerated disbursement in the previous period. Nevertheless, the improved growth outlook was still subject to both domestic and external risks that warranted close monitoring, such as impacts from regulations on immigrant workers, uncertainties pertaining to US economic and foreign trade policies, and geopolitical risks.

Headline inflation increased at a slower pace than the previous assessment. This was due primarily to the decline in fresh food prices as a result of higher output of vegetable and fruits thanks to favorable weather conditions. Meanwhile, demand-pull inflationary pressures remained low, and would be subject to structural changes that might lead to slower pace of inflation than in the past. Nevertheless, headline inflation was projected to slowly rise from the recovery in domestic demand, an increase in excise tax, and regulations on immigrant workers that might affect wages going forward. The public’s inflation expectations remained close to the midpoint of the target.

Overall financial conditions remained accommodative and conducive to economic growth with ample liquidity in the financial system. Government bond yields and real interest rates remained low. Business financing through both credit and capital markets continued to expand. Meanwhile, the Thai baht appreciated somewhat owing primarily to the weakening of US dollar, and Thailand’s current account surplus. However, the Thai baht’s movement relative to those of trading partners was largely unchanged. In the period ahead, exchanges rates might experience high volatilities due to uncertainties on the external front such as uncertainties pertaining to US economic policies, and monetary policy conducts of major advanced 2 economies. Thus, the Committee would continue to closely monitor developments in foreign exchange market.

The Committee viewed that financial stability remained sound but would continue to monitor pockets of risks that might pose vulnerabilities to financial stability in the future. These included, in particular, the search-for-yield behavior in the prolonged low interest rate environment that might lead to underpricing of risks, and the deterioration in debt serviceability of small-and-medium sized enterprises (SMEs) especially those affected by changes in structural factors and business models.

Looking ahead, Thailand’s growth outlook improved further on the back of external demand while strength in recovery of domestic demand must be monitored. Hence, the Committee viewed that monetary policy should remain accommodative and would stand ready to utilize available policy tools to sustain economic growth while also ensuring financial stability.

9 views
bottom of page