top of page
347550.jpg

อย่าขายหมู...“ณัฏฐะ” ย้ำจุดยืน 1,789


อย่าขายหมูเมื่อเห็นหุ้นไทยขยับเร็วจนทดสอบ 1,650 จุด และคิดว่านี่คือ “ท่าจบ” เพราะภาพของหุ้นแนวโน้มใหญ่ขาขึ้นยังฟอร์มตัวอยู่ ... ณัฏฐะ มหัทธนา แห่ง บลจ.ทหารไทย ย้ำชัดๆ หุ้นไทยยังแล็คการ์ด เมื่อเทียบกับตลาดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งยังจะเดินหน้าไปได้อีกไกล ณ จุดนี้ยังไม่ใช่จุดที่ขายของอย่างแน่นอน ปักหมุด 1 ปีจากนี้ได้เห็นระดับดัชนี 1,789 ... จับตานโยบายธนาคารกลาง ระหว่างทางอาจมีย่อเหมือนสปริงที่ยุบแล้วจะยืดเด้งดึ๋งขึ้นอีกว่า 100 จุด .. ชวนลุ้นหุ้นรัสเซียต่อ

เป๊ะเวอร์...ณัฏฐะ มหัทธนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ทหารไทย แนะไว้เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ว่าให้นักลงทุนหุ้นไทยใส่เกียร์ลุย โดยเฉพาะเมื่อสามารถก้าวผ่านจุดแนวต้านที่สำคัญ 1,585 จุด ขึ้นมาจนได้ และไต่ระดับขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว จนทดสอบ 1,650 จุด

อย่างไรก็ตามเมื่อมาถึงจุดนี้ นักลงทุนจำนวนไม่น้อย เริ่มเกิดข้อกังวลว่า หุ้นไทยปรับขึ้นมามากไปหรือไม่เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยเอง รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบต่อกาตดสินใจลงทุน โยเพาะอย่างยิ่ง การเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ จะยังเดินหน้าต่อหรือไม่

ณัฏฐะ มหัทธนา กล่าวกับ “ดอกเบี้ยธุรกิจ” โดยยืนยันเป้าหมายเดิมว่า ตลาดหุ้นไทยยังไปต่อ และเป่าหมายที่เคยให้ไว้คือ 1,789 จุด

“ในส่วนของตลาดหุ้นไทย บลจ.ทหารไทยเราเป็นบริษัทแรกๆ ที่พูดถึงแนวโน้มตลาดหุ้นไทยเมื่อเดือนสิงหาคม ก่อนวันตัดสินคดีจำนำข้าวว่าปัจจัยนี้ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจหรือกำไรของ บจ. ขณะที่ วงการหลักทรัพย์ต่างๆ บอกให้ชะลอการลงทุนบ้าง ให้ถือเงินสดบ้าง แต่ในช่วงนั้น เราคิดว่าเราจะสามารถซื้อหุ้นไทยได้โดยไม่ต้องแย่งกับใคร โดยตั้งเป้าไว้ในรอบ 1 ปีข้างหน้า คือนับจากเดือนสิงหา 2560 ไปดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 1,789 จุด อันนี้เราไม่ได้กำหนดขึ้นมาเองแต่มันเป็น All Time High แต่เป็น intra day คือหมายความว่าไม่ได้เป็นราคาปิด แต่เป็นระดับระหว่างวัน ซึ่งเคยทำไว้เมื่อ 5 มกราคม 1994 ที่แล้วยังมาไม่ถึงระดับนี้ได้อีกเลยในช่วง 20 ปีกว่าๆมานี้

เพราะฉะนั้นหุ้นไทยมาถึงจุดนี้ คือ 1640-1650 เป็นช่วงแรกของการฟื้นตัว ซึ่งลองสังเกตดูได้ว่า การฟื้นตัวของดัชนีหุ้นรอบนี้ มันมาพร้อมกันกับ ปริมาณการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ โฟลเข้ามาทั้งหุ้นและบอนด์ ขณะที่ยิลด์พันธบัตรปรับตัวลง ซึ่งแปลว่าราคาพันธบัตรปรับตัวขึ้น ในภาวะแบบนี้ที่ราคาหุ้นขึ้นพร้อมกับราคาบอนด์ที่ขึ้น เป็นการปรับตัวในลักษณะที่เรียกว่าขับเคลื่อนโดยสภาพคล่อง”

นายณัฏฐะ ย้ำว่า สภาพคล่องส่วนเกินยังคงไหลเข้าสู่ตลาดกำลังพัฒนา เนื่องจากความคาดหวังเกี่ยวกับการที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยลดถอยลงไปเรื่อยๆ มีพายุเฮอริเคน สถาบันการเงินต่างๆของสหรัฐยังไม่เคลียร์ ทำให้ความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในเดือนธันวาคมนี้เหลือไม่ถึง 50% เพราะฉะนั้น การขึ้นมาของหุ้นเฟสแรกจึงมาแบบที่ขึ้นโดยสภาพคล่องหนุน

“ผมให้พื้นฐานสำคัญเวลาประเมินมูลค่าของหุ้น คือดูจากตัวแปรต่อไปนี้ คือ โกรท หรือ โอกาสการเติบโตในระยะข้างหน้าในเรื่องของกำไร เรื่องของดิสเคาน์เรท/ดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยขึ้นจะเป็นเชิงลบต่อหุ้น คือแบบตรงไปตรงมา ดังนั้น การเติบโตและดอกเบี้ยมีผลนะครับ

ในรอบนี้ขับเคลื่อนตลาดหุ้นด้วยผลตอบแทนดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อราคา การขึ้นมาของหุ้นช่วงที่ผ่านมานี่เป็นเฟสแรก”

อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางในช่วง 1 ปีข้างหน้านี้ อาจจะมีจังหวะที่พักบ้าง ไม่ใช่ว่าจะขึ้นแบบม้วนเดียวจบ โดยมีความเป้นไปได้ว่าในระยะ 3 เดือนต่อจากนี้ อาจเป็นจังหวะที่มีการย่อตัว เป็นการย่อเพื่อยืดไปต่อ

“ดังนั้นถ้ามองไปข้างหน้าสัก 3 เดือน ก่อนถึงสิ้นปี ถ้าสมมติ เฟด ขึ้นดอกเบี้ยได้ขึ้นมา ยิลด์ในตลาดพันธบัตรจะปรับตัว สภาพคล่องในตลาดก็จะลดลงตามสูตร ดังนั้นอาจมีช่วงที่เรียกว่าพักฐาน ปรับฐานบ้าง ก่อนที่จะปรับเข้าสู่ขาขึ้นระยะถัดไป ก็คือการเติบโตที่ดีขึ้น นำโดย ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจอเมริกา จีน ปัจจัยภายในเช่นเศรษฐกิจไทยที่ย่ำอยู่กับที่มานานก็จะมีความคาดหวังเรื่องมีการเลือกตั้ง

การจะไปถึงเป้าหมายดัชนี 1789 ที่เรามองไว้ แต่ระหว่างทางมันจะไม่เป็นเส้นตรง มันจะมีการพักบ้างอะไรบ้าง

จากนี้นักลงทุนต้องมองภาพไปข้างหน้า สำหรับสภาพคล่องอาจจะต้องมีจังหวะที่ลดลงด้วยนะ เช่นเฟด อาจจะดูว่าผลกระทบจากพายุคลี่คลายลง แต่ถ้าคลี่คลายลง มีการก่อสร้างทดแทนสิ่งที่สูญหายไปหลังพายุถล่ม ซึ่งเป็นสูตรว่าเวลาเกิดภัยธรรมชาติเศรษฐกิจจะหดตัวลงไปราว 1 ไตรมาส แล้วไตรมาสถัดไป เศรษฐกิจมันจะพุ่งกลับขึ้นมาใหม่ เป็นลักษณะตัว V คล้ายกับ เมื่อตอนเกิดน้ำท่วมใหญ่ของไทย แล้วก็สินามิที่ญี่ปุ่น ซึ่งมีการก่อสร้างใหม่เกิดขึ้น

ในจังหวะที่ย่อนี้ จะซื้อหุ้นก็ซื้อได้ แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงของราคามันก็มีมากขึ้น กว่าคนที่ซื้อเมือเดือนสิงหาคม”

นายณัฏฐะ กล่าวขยายความว่า เมื่อมอง เป้าหมายระดับ 1 ปีว่าหุ้นไทยไปได้อีกยาว แม้ว่าในระยะนี้อาจจะมองว่าปรับขึ้นมาสูง อาจดูตลาดว่าขึ้นเยอะ เพราะนักลงทุนชินกับตลาดที่ไม่ค่อยคึกคักแกว่งตัวแคบๆ มาตั้งแต่ต้นปี แต่ความจริงก็คือหุ้นไทยขึ้นมาน้อยมาก เช่น หุ้นจีนขึ้นมา 40% ของไทยเพิ่งขึ้นมาเพราะบาทแข็ง บวกเข้าไปหุ้นไทยก็ยังเพิ่งขึ้นมาราว 10%

“มันขึ้นมาแค่มานิดเดียวเอง หุ้นไทยยังเป็นแล็คการ์ดอยู่ดี เมื่อเทียบกับในภูมิภาคเอเชีย สามารถจะไปได้อีก หุ้นไทยจุดนี้ยังไม่ใช่จุดที่ขายแน่นอน”

สำหรับนักลงทุนที่จะซื้อกองทุน นายณัฏฐะให้น้ำหนักไปที่กองทุนหุ้นมากกว่า เช่นกองจัมโบ้25 ของบลจ.ทหารไทย

“ตอนนี้กองทุนหุ้นจะดีกว่า กองตราสารหนี้ คือตราสารหนี้ก็ทำได้ดี ในช่วงนี้เพราะยิลด์พันธบัตรลง แต่ผมมองว่าถ้าผ่านพ้นช่วงสภาพคล่องขับเคลื่อนไปแล้ว และสมมุติว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ยใน 2 เดือนข้างหน้า มันจะต้องมีการรีเวิร์สหรือหมุนออกจากบอนด์เข้าหุ้น ผมจึงมองว่าหุ้นดีกว่า เพราะในระยะยาวไปได้ไกลกว่า ในวัฎจักรขาขึ้น

หุ้นไทยเป็นอะไรที่ไม่ควรมองข้าม แต่ถ้าไปต่างประเทศ ยังชอบตลาดเกิดใหม่ เพราะว่าจุดยืนท่าที ของเฟด อีซีบี จะขึ้นดอกเบี้ย หรือเลิกคิวอี จุดยืนท่าทีของเขาเป็นสิ่งที่เรียกว่า Behind the curve คือ รอ เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ Ahead of the curve ... คือธนาคารกลางที่คาดการณ์ไปข้างหน้าว่าเงินเฟ้อจะมา เขาจะขึ้นดอกเบี้ยเลย แบบนั้น ..แต่เฟด อีซีบี ไม่ใช่ เขาบอกว่าเขาอยากรอให้ เงินเฟ้อขึ้นมาจนเขามั่นใจก่อนจึงขึ้นดอกเบี้ย นี่คือเรียกว่าตามหลังตลาด มุมมองแบบนี้ ผมอธิบายสั้นๆว่า จะทำให้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเขาต่ำ เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับ ดอกเบี้ยลบด้วยเงินเฟ้อ ถ้าปล่อยเงินเฟ้อขึ้นก่อน ดอกเบี้ยขึ้นตาม แบบนี้ลบกันได้ค่าต่ำ เมื่อดอกเบี้ยแท้จริงต่ำ เงินก็ไหลจากที่มีดอกเบี้ยแท้จริงต่ำไปดอกเบี้ยแท้จริงสูง ดอกเบี้ยแท้จริงในตลาดเกิดใหม่นี่สูง

ดังนั้น แม้ตลาดเกิดใหม่ไม่ขึ้นดอกเบี้ย แต่ว่าอัตราเงินเฟ้อมันต่ำ ดอกเบี้ยที่แท้จริงก็เลยสูง เงินก็ไหลเข้ามา นี่คือเราอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกิดอะไรขึ้นเกาหลีเหนืออะไรพวกนี้เป็นแค่ปัจจัยชั่วคราวเท่านั้นเอง แต่ภาพใหญ่ ตลาดเกิดใหม่จะรับเงินไหลเข้ามา เน้นตลาดรัสเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล ซึ่งก่อนหน้านี้มีปัจจัย การเมือง คว่ำบาตรกดดันเอาไว้ แต่เรามองเกมว่า รัสเซียมีพีอี 7 เท่า มีหนี้ต่ำกว่ามาก ราคาต่ำกว่าบุ๊ค จึงมีมุมมองเศรษฐกิจที่ดี หุ้นถูกมาก”

92 views
bottom of page