top of page
379208.jpg

หยวนต้าชี้ บจ.จ่อคิวซื้อหุ้นคืน จำกัด Downside ช่วงขาลง


บล.หยวนต้าประเมินสถานการณ์ ว่าจะมีจะมีบริษัทจดทะเบียน ประกาศซื้อหุ้นคืนนับจากนี้ เพื่อเป็นการจำกัด Downside ช่วงขาลง


ทั้งนี้หลังจากการประกาศล่าสุดของ ธนาคารพาณิชย์อย่าง KBANK เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ไล่ๆ กับอีก 3 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ประกาศซื้อคืนหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ SPALI, CK และ TPIPL วงเงินรวม 10,400 ล้านบาท


บล.หยวนต้าได้ประเมินสาเหตุการซื้อหุ้นคืนว่า มาจาก 3 ปัจจัยคือ 1) ราคาหุ้นปรับตัวลงจน Valuation อยู่ในโซนที่ถูกมาก 2) ROE ลงมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตของตัวเองและของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ 3) เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในช่วงนี้


“ด้วยสมมติฐานของเราที่เชื่อว่า 3 เงื่อนไขนี้ยังกดดัน SET INDEX ในช่วง 1H63 จึงเป็นไปได้ที่จะเห็นบริษัทขนาดใหญ่ประกาศซื้อหุ้นคืนเพิ่มเติม


ประเมินหุ้นใน SET100 ที่มีเงินสดต่อหุ้นในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับราคาหุ้นและมี PBV และ ROE อยู๋ในระดับต่ำพบว่าหุ้นในกลุ่มแบงก์มีโอกาสซื้อหุ้นคืนมากที่สุด รองลงมาคือโรงกลั่น ปิโตรเคมีท่องเที่ยว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเกษตรอาหาร ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่ปรับตัวลงมาก แม้หุ้นที่ Ranking ตาม Score card อาจไม่มีการประกาศซื้อหุ้นคืน แต่อย่างน้อยก็ได้ข้อสรุปว่าหุ้นเหล่านี้มี Downside จำกัดที่ไม่ควรไปให้น้ำหนักกับการเก็งกำไรขาลงมากจนเกินไป”

บล.หยวนต้าได้สรุปว่า ในรอบปี 2562 ที่ผ่านมามีกว่า 21 บริษัทที่ประกาศซื้อหุ้นคืนเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มี 19 บริษัท และปี 2560 ที่มีเพียง 3 บริษัท ส่วนใหญ่ที่ประกาศซื้้อคืนในปี 2562 เป็นบริษัทขนาดเล็ก-กลางที่เคยเติบโตเร็วแล้วเผชิญกับภาวะฟองสบู่แตกในปี 2557- 2559 จนราคาหุ้นหลายตัวปรับตัวลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ของช่วงที่ร้อนแรง แล้วแทบไม่ขยับไปไหนเพราะสภาพคล่องหดหาย จึงจำเป็ นต้องส่งสัญญาณว่าราคาหุ้นอยู่ในโซนที่ถูกมากเกินไป

แต่ด้วยภาวะตลาดหุ้นโดยรวมที่ผันผวน ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วง 2H62 ที่ Trade War ไม่มีความชัดเจน ทำให้ผลจากการซื้อหุ้นคืนโดยเฉลี่ยเป็นเพียงการ “พยุงราคา” ไม่ให้ปรับตัวลงแรงเท่านั้น โดยหุ้นที่ประสบความสำเร็จกับการซื้อหุ้นคืน (ผลตอบแทนเป็นบวกในช่วงซื้อ คืน) คือ BA (+6.0%), BJCHI (+9.6%), LPN (+10.3%), SIRI (+20.3%), SUSCO (+11.4%), SVI (+5.9%) TCAP (+7.0%) ส่วนหุ้นที่น่าผิดหวังกับการซื้อหุ้นคืน (ผลตอบแทนเป็นลบในช่วงซื้อคืน) คือ BANPU (-10.2%), BR (- 9.6%), MM (-20.7%), SYNTEC (-17.7%), TITLE (-21.6%)

ทั้งนี้ ถ้าคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยวงเงินการซื้อหุ้นคืน หุ้นทั้ง 21 ตัวให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย เพียง 1.1% ในช่วงที่ซื้อคืน ใกล้เคียงกับ SET INDEX ที่ให้ผลตอบแทนตลอดปี 2562 ที่ 1.0% สะท้อนว่าผลลัพธ์ของการซื้อหุ้นคืนไม่ได้หนุนให้ราคาหุ้นโดยเฉลี่ยปรับตัวขึ้นมากนัก แต่ถือว่าช่วยจำกัด Downside โดยเฉลี่ยไม่ให้ปรับตัว ลงแรงกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมหรือ SET INDEX ได้

“ดังนั้น จึงคาดว่ามีอีกหลายบริษัทจ่อประกาศซื้อหุ้นคืนในปี 2563 ถ้าอิงจากแนวโน้มในปี 2561-2562 ที่มีบริษัทประกาศซื้อหุ้นคืนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผนวกกับภาวะตลาดหุ้นที่ไม่เป็นใจ ตั้งแต่ต้นปี คาดว่าปี 2563 จะมีจำนวนบริษัทที่ซื้อหุ้นคืนมากกว่าปี 2562”

บล.หยวนต้า ประเมินความเป็นไปได้ที่บริษัทจะประกาศซื้อหุ้นคืนจาก 5 เหตุผลคือ

1) ราคาหุ้นปรับตัวลงจน Valuation อยู่ในโซนถูก ทั้ง ในแง่ของ PER และ PBV อยู่ในโซน -1 ถึง -2 S.D. ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลัง


2) ROE ลงมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยใน อดีตของตัวเองและของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการซื้อหุ้นคืนจะช่วยหนุน ROE ในกรณีที่ความสามารถจาก การทำกำไรยังอยู่ในระดับเดิม


3) ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว โดยเฉพาะงวด 2H63 ที่เผชิญกับการเบิกจ่าย งบประมาณล่าช้า ทำให้หลายบริษัทใหญ่ เช่น กลุ่มแบงก์ยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในช่วงนี้


4) มีเงินสดในมือ อยู่ในระดับสูงโดยวัดจากเงินสดต่อหุ้นเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน


5) ฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง D/E Ratio ยัง อยู่ในระดับต่ำทำให้การซื้อหุ้นคืนไม่เป็นภาระทางการเงินและการลงทุนในอนาคต ในสมมติฐานของเรา จะพิจารณาเฉพาะหุ้นใน SET100 เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าราคาหุ้นของบริษัทขนาดเล็กไม่ตอบสนองเชิงบวกต่อการซื้อหุ้นคืน

“ผลการทดสอบโดยการให้คะแนน ตามลำดับการจัดเรียงแบบปกติพบว่า กลุ่มแบงก์มีโอกาสซื้อหุ้นคืนมากที่สุด รองลงมาคือโรงกลั่นปิโตรเคมี ท่องเที่ยว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรอาหาร ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่ปรับตัวลงมาก YTD ที่น่าสนใจ คือ Scorecard ของเราบ่งชี้ว่า KBANK มีโอกาสซื้อหุ้นคืนมากที่สุดใน SET100 ซึ่งได้ประกาศซื้อไปแล้วเมื่อ 30 ม.ค. 63 ด้วยวงเงิน 4,600 ล้านบาท”

บริษัทที่เข้าข่ายประกาศซื้อหุ้นคืนในลำดับถัดไปนอกจากการให้คะแนนจากการจัดลำดับแล้ว ยังให้ความสำคัญกับแนวโน้มผลประกอบการและความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการ กลับสถานะ Short Sales ด้วย ได้แก่ BBL/SCB/BCP/IRPC/STA/ERW/HANA/KCE แม้ผลการวิเคราะห์อาจไม่สามารถชี้นำการตัดสินใจของฝ่ายบริหารบริษัทเหล่านี้ได้ แต่อย่างน้อยเชื่อว่าหุ้น ชุดนี้มี Downside จำกัดในเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งไม่เหมาะกับการนำมาใช้เก็งกำไรขาลงผ่านธุรกรรม SBL หรือ Short Block Trade ใน Single Stock Futures

32 views

Σχόλια


bottom of page