top of page
369286.jpg

Q4 ส่งท้ายปีชวดสมชื่อ...ความเชื่อมั่นหุ้นไทยหด


ลุ้นการเมืองไทย ลุ้นเลือกตั้งอเมริกา และความถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจากผลกระทบโควิดที่ยังระบาด กระแสการขายของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ใน 3 เดือนข้างหน้าลดลงมากถึง 21%

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ที่สำรวจล่าสุดในเดือนสิงหาคมพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลง 21% เท่ากับอยู่ในเกณฑ์ซบเซา สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ปัจจัยรองลงมาคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในอเมริกาและยุโรป ตลอดจนการเลือกตั้งในอเมริกาปลายปีนี้

ขณะที่ปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นตัวหนุน เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดได้ คือการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด (แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจค่อนข้างยากที่จะเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศในช่วงปลายปีนี้) รองลงมาคือนโยบายการเงินของสหรัฐ และการไหลเข้าออกของเงินทุน รวมถึงความคาดหวังการผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19

ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนเกือบทุกกลุ่มอยู่ในระดับ “ทรงตัว” ยกเว้นความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในกลุ่ม “ซบเซาอย่างมาก” นั่นจึงเป็นเหตุผลสนับสนุนที่ว่านักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยตลอด 9 เดือนแรกของปีเกือบ 300,000 ล้านบาท

สำหรับหุ้นหมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD) หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดธนาคาร (BANK)

“ผลสำรวจรายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติปรับตัวลงลงอยู่ในระดับซบเซาอย่างมาก ในขณะที่ความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มอื่นอยู่ในระดับทรงตัว

ช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนสิงหาคม 2563 SET Index เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบระหว่าง 1,321.23-1,346.69 จุด จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว จากนั้น ดัชนีปรับตัวลดลงหลังจากการประกาศ GDP ไตรมาส 2/2563 ซึ่งหดตัว -12.2% เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อีกทั้ง สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศหลังจากมีการชุมนุม ความกังวลต่อการระบาดรอบสองของ COVID -19 ในประเทศ และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2/2563 ที่กำไรออกมาไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายจ่ายภาครัฐ ทั้งที่มาจากการเบิกจ่ายในงบประมาณ และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบของภาครัฐ

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การแพร่ระบาดรอบสองของ COVID-19 ในหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ล่าช้าออกไป และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยปัจจัยในประเทศที่น่าติดตามได้แก่ ความไม่แน่นอนของการต่ออายุมาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่กำลังจะหมดอายุ ความเสี่ยงด้านการว่างงานและการปิดกิจการที่อาจเพิ่มสูงขึ้นมาก รวมถึงความไม่สงบทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น”

ส่วน ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนกันยายน 2563 ผลจากดัชนีสะท้อนการคาดการณ์ของตลาดที่คงมุมมองเช่นเดียวกับครั้งที่แล้ว ว่า กนง. จะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ในการประชุมวันที่ 23 กันยายนนี้

6 views

Commenti


bottom of page