top of page
379208.jpg

แนะกลยุทธ์ Sell in May...รับมือความผันผวนต่อไป



ทีมวิจัย บล.เอเซียพลัส หรือ ASP ประเมินหุ้นไทยรับผลกระทบจากประเด็น COVID-19 ทั้งในมุมตัวเลขเศรษฐกิจ และประมาณการกําไรบริษัทจดทะเบียนทําให้เห็น Downside ตลาดชัดขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ในเดือนพฤษภาคมคือ ต้องรับมือกับความผันผวนต่อไป ขณะที่ Valuation ตลาด หุ้นเริ่มตึงๆ โดยลดน้ำหนักการลงทุนในพอร์ตหุ้นไทยลง 5% เหลือ 35% ของพอร์ต และเลือกลงทุนในหุ้นที่ผันผวนต่ำ ปันผลสูง

ผลกระทบ COVID-19 ส่งผ่านไปถึงภาคเศรษฐกิจต่างๆอย่างชัดเจน สะท้อนผ่านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบปรับฐานแรงเกือบ 70% ดัชนีภาคการผลิต PMI ของ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นชะลอตัวลงค่อนข้างแรง ขณะเดียวกันด้านตลาดแรงงานพบว่ามีแรงงานขอรับสวัสดิการการว่างงานในสหรัฐสูงกว่าช่วงเกิดวิกฤต Hamburger Crisis มากๆ ส่งผลให้ IMF ลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World GDP) ปี 2563 พลิกกลับมาติดลบ 3%

ส่วนในประเทศไทยแม้สถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้นผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงเป็นลำดับ แต่ พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังคงใช้อยู่ โดยมีการผ่อนคลายข้อจำกัดเพื่อให้บางธุรกิจเริ่มทยอยกลับมาดำเนินการได้

GDP ไตรมาส 1/2563 ของไทยที่ สภาพัฒน์กำหนดประกาศในวันที่ 18 พฤษภาคม มีการคาดการณ์กันล่วงหน้าแล้วว่าจะหดตัว แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 นั้น บล.เอเซียพลัส ยังคงมีมุมมองเดิมว่าจะเข้าสู่ภาวะ Recession กล่าวคือ GDP หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 2 ไตรมาส โดยคาด GDP ทั้งปี 2563 จะติดลบ 1.4% โดยอิงจาก Leading Economics Indicator ของ ไทย ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 ออกมาติดลบ 7% ถือเป็น Downside ต่อประมาณการ GDP ปี 2563 ทั้งนี้ ไตรมาส 2/2563 จะเป็นงวดที่ GDP จะติดลบมากที่สุด และน่าจะเป็น Bottom ของปี และคาดจะกลับค่อยๆ ดีขึ้นในงวดไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป

แนวโน้ม Fund Flow เดือนพฤษภาคม ซึ่งตลาดหุ้นปกติจะเผชิญกับเหตุการณ์ Sell in May เสมอ และนักลงทุนต่างชาติมักจะขายสุทธิหุ้นไทยมากที่สุดในเดือนนี้ เฉลี่ย 1.65 หมื่นล้านบาท กดดันให้ตลาดหุ้นไทยมักปรับฐานแรงเสมอ ขณะที่แรงซื้อจากนักลงทุนกลุ่มสถาบันเริ่มแผ่วลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจากกองทุน SSFX อาจไม่ช่วยหนุนตลาดอย่างที่นักลงทุนคาดหวังมากนัก เนื่องจากมียอดซื้อสะสม ณ 24 เมษายน 2563 น้อย ซึ่งไม่ถึง 1 พันล้านบาท

ส่วนภาพรวมตลาดหุ้นไทยยังมีความเสี่ยงจากกำไรบริษัทจดทะเบียนงวดไตรมาส 1/2563 หดตัวแรง อาจเปิดความเสี่ยงให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสปรับลดกำไรต่อหุ้นปี 2563 ลง เป็นรอบที่ 4

ความคาดหวังการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถูกสะท้อนในตลาดหุ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว บวกกับ Valuation ทางพื้นฐานเริ่มตึงตัว ซึ่งกำหนดบนคาดการณ์ EPS ของตลาดปี 2563 ที่ 72.62 บาท/หุ้น (ตํ่ากว่า Consensus ที่ 75 บาท/หุ้น) และให้ Market Earning Yield Gap ที่ 5% จะให้ค่า PER เป้าหมายที่ 17.4 เท่า คิดเป็น SET Index เป้าหมายที่ 1264 จุด เท่ากับว่าระดับ SET Index ปัจจุบันไม่เหลือ Upside ทางพื้นฐานแล้ว

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในเดือนพฤษภาคม 2563 นี้ บล.เอเซียพลัสจึงแนะให้จัดพอร์ตเตรียมรับ ความผันผวนของตลาดโดยเน้นเลือกลงทนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ ปันผลสูง อย่าง RATCH, KBANK และ DCC หุ้นที่ผลประกอบการโดดเด่น ต่อจากนี้คือ STA, IVL, COM7 ขณะเดียวกับแนะนำหลีกเลี่ยง Over Value อย่าง ERW และ DELTA

24 views

Comments


bottom of page