สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา ที่มีฉนวนเหตุมาจากการเสียชีวิตของนายพลชาวอิหร่านจากคำสั่งปลิดชีพของประธานาธิบดีของสหรัฐฯ - โดนัล ทรัมป์ ได้เริ่มส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยแล้ว โดยเห็นได้ราคาสินค้าบางอย่างที่ปรับขึ้นแทบจะทันที และสิ่งนี้อาจทำให้วิกฤตข้าวยากหมากแพงที่ประเทศเรากำลังเผชิญอยู่ทวีความรุนแรงมากขึ้นก็เป็นได้
หากมองย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งสุดท้ายเมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมา มีสินค้าหลายประเภทที่ปรับราคาสูงจากเดิมมากระหว่างทำสงคราม เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือแม้กระทั่งสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคอย่างอาหารและน้ำดื่ม เป็นต้น
ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 (1914 - 1918) และ สงครามโลกครั้งที่ 2 (1939 - 1945) พบว่าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดไปถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสงคราม
แม้ปัจจุบันยังไม่มีสงครามเกิดขึ้น แต่ภายหลังเหตุการณ์ได้มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าบางอย่างที่เกิดจากบ้างแล้ว ดังนี้
ราคาทองคำ
รอบ 7 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าววันที่ 3 มกราคม และทำให้ราคาทองในไทยเพิ่มขึ้นตามด้วย"ทองคำ" เป็นสิ่งแรกที่ขณะนี้ส่อแววเพิ่มสูงขึ้น อ้างอิงจาก สำนักข่าวรอยเตอร์ ที่รายงานว่าราคาทองคำโลก (Spot Gold) พุ่งไปแตะจุดสูงที่สุดในรอบ 7 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าววันที่ 3 มกราคม และทำให้ราคาทองในไทยเพิ่มขึ้นตามด้วย
แต่ดูเหมือนว่าการเพิ่มของราคาจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา ภายหลังการแถลงการณ์ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ทรัมป์ ที่กล่าวว่าอเมริกาจะไม่ตอบโต้ทางทหาร แต่จะใช้การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแทน ผสานกับเหตุการณ์ความพลิกผันเมื่อประชาชนอิหร่านได้ชุมนุมประท้วงของเพื่อขับไล่ผู้นำของตนในกรณียิงเครื่องบินยูเครนตก พบว่าราคาทองโลกได้ลดลงกลับสู่ภาวะก่อนหน้า ยังผลให้ราคาทองในประเทศไทยปรับลดลงมาด้วยเช่นกัน
สรุปควรรีบซื้อทองหรือนำทองมาขายตอนนี้เลยดีไหม?
จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ระบุว่า ราคาทอง ณ ตอนนี้ยังคงมีความผันผวนอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่ง ไม่แนะนำให้ลงทุนซื้อหรือเทขายทองคำปริมาณมากในช่วงนี้
ราคาน้ำมัน (เชื้อเพลิง)
สิ่งต่อมาที่ราคาสูงขึ้นคือ "น้ำมัน" ที่หลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นราคาน้ำมันโลกดีดตัวขึ้นราว 5.7% ยังผลให้ราคาน้ำมันในไทยเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากการสำรวจราคาน้ำมันจากบริษัท บางจาก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ภายหลังวันที่ 3 มกราคม ราคาน้ำมันในไทยมีการปรับตัวขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 50 สตางค์ในทุกประเภทน้ำมัน
ราคาอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนและยารักษาโรค
จากฐานข้อมูลราคาสินค้าออนไลน์บน Priceza.com ราคาขายปลีกและขายส่งสินค้าเกษตรของกรมการค้าภายใน3 และราคายากลางจากกระทรวงสาธารณะสุข4 ยังไม่พบการปรับขึ้นราคาของ สินค้าในกลุ่มอุปโภคบริโภค อาหาร น้ำดื่ม หรือยารักษาโรค อย่างมีนัยสำคัญใด ๆ
สรุปภาพรวมราคาสินค้าในไทย ที่ได้รับผลกระทบจากอิหร่าน-สหรัฐฯ
จะเห็นว่าจากสถานการณ์ดังกล่าว ณ ขณะนี้มีเพียงราคาทอง และน้ำมัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนราคาสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่เกิดมาจากกระบวนการทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ยังคงที่ หรืออาจเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามกลไกการตลาด
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคอย่างเรายังควรต้องเฝ้าระวัง และติดตามข่าวสารให้ดี เพราะไม่ใช่แค่ราคาสินค้าเท่านั้นที่อาจจะกระทบถึงเรา แต่อาจจะรวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจที่อาจเปลี่ยนไปก็ได้ เนื่องจาก ณ ปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่มีทีท่าจะจบลงด้วยดีง่าย ๆ
Source: Priceza
Comments