top of page
312345.jpg

ดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติศาสตร์ จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน?



การประชุม กนง.25 มี.ค. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยอีกครั้ง 0.25% จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน ?


แม้ไวรัสโควิด-19 จะเป็นตัวการให้เศรษฐกิจโลกปั่นป่วน ค่าเงินอ่อนกันไปทั่วโดยเฉพาะย่านเอเชีย...แต่ในภาวะที่การส่งออกซบเซา อัตราขยายตัวของเงินเฟ้อต่ำ เพราะกำลังซื้อภายในประเทศชะลอตัวต่อเนื่องตลอดปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ ทำให้แนวโน้มในการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีมาก


หากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 25 เดือนนี้มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เหลือ 0.75% จะถือเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติศาสตร์


ส่วนจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงหรือไม่ คงจะดูยาก เพราะค่าบาทอ่อนในขณะนี้มีสาเหตุมาจากสถานการณ์ระบาดของไวรัส โควิด-19 มากกว่าเหตุอื่น


ค่าดอลลาร์ หยวน เยน ยูโร อ่อนไปตามๆ กัน ขณะที่บาทอ่อนตัวตามภูมิภาค ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สงครามค่าเงิน ทำให้ดอลลาร์กับหยวนแข่งกันอ่อนค่า โดยเฉลี่ย 7% ทำให้ค่าบาทแข็งที่สุดในเอเชียจนแข็งที่สุดในโลก...ทั้งนี้เพราะดอกเบี้ยไทยสูง เงินจึงไหลเข้ามาในตลาดทุน เพื่อเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ย หนุนค่าบาทจนแข็ง


ตั้งแต่ต้นปีที่แล้วที่ค่าบาทส่งผลกระทบต่อการส่งออกรุนแรง มีเสียงเรียกร้องจากกลุ่มผู้ส่งออก ให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่แบงก์ชาติก็ยังเฉย คงจะเป็นเพราะผู้ว่าการธนาคารกลางของไทยยังไม่หายฝันร้ายจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง 2540


การส่งออกและการท่องเที่ยวรับผลกระทบค่าบาทแข็งตรงๆ บาท/หยวนเคยอยู่ที่ 5 บาทก็เป็น 4.45-4.50 บาท ผู้ส่งออกอยากได้ 34 บาท/ดอลลาร์ ก็ได้แค่ 30 บาทต้นๆ


ปีที่แล้วทั้งปี อัตราเติบโตการส่งออกติดลบ ทำให้ กนง.ต้องกลับใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนพฤศจิกายน 0.25% เป็น 1.25%


แต่ก็สายไปเสียแล้ว สิ้นปี อัตราเติบโตของภาคส่งออกเป็น -2.65% (YoY) ตรงข้ามกับเวียดนามที่โตขึ้น 8.7%

สงครามการค้ากับสงครามค่าเงินระหว่างสหรัฐกับจีน เป็นอีกตัวการที่ทำให้บาทแข็ง เพราะสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแข่งกันลดค่าเงิน


ทำให้ทั้งดอลลาร์ทั้งหยวนอ่อนค่าลงไม่ต่ำกว่า 7% ยังผลให้บาทแข็งที่สุดในรอบ 6 ปี


และแม้จะลดดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเดือนกุมภาพันธ์ จนเหลือ 1% ต่ำสุดในรอบ 20 ปี แต่บาทก็อ่อนค่าลงไม่มากนัก

การที่บาทอ่อนค่านั้น เป็นเพราะสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 มีอิทธิพลกดดันค่าเงินในภูมิภาคอยู่แล้วมากกว่า

ค่าบาท/ดอลลาร์ช่วงสัปดาห์นี้จึงยังอ่อนค่าในกรอบ 31.30-31.50 ทั้งนี้เป็นไปตามความรู้สึกกังวลของภูมิภาคต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19


ส่วนอัตราขยายตัวของเงินเฟ้อจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ก็คงจะไม่ขยับมากนัก เพราะแม้ว่าภัยแล้งจะทำให้ผลผลิตเกษตรแพงขึ้น ทว่าราคาพลังงานที่ลดลง เป็นตัวฉุด ด้วยสาเหตุจากไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกัน


เหตุผลที่จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยนั้น น่าจะมาจากเศรษฐกิจขาดแรงกระตุ้น คนไทยขาดความเชื่อมั่น คนตกงานเพิ่มขึ้นจากโรงงานที่ปิดกันเพิ่มขึ้นทุกเดือน กำลังซื้อในประเทศอ่อน เสียมากกว่าเหตุผลอื่น

40 views
bottom of page