top of page
312345.jpg

Work from Home...อุปสรรคทางการค้า-ภาษี-นำเข้า



'ผู้นำเข้าไทย' มึนตึ้บ ขั้นตอน-พิธีการยุ่บยั่บ ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจาก 30-40 หน่วยงาน อุปสรรคทางการค้า-ภาษี-ยุ่งยากสับสนที่สุดในอาเซียน ยิ่งช่วง work from home ยิ่งหนักข้อ การยื่นเรื่องขออนุมัติล่าช้ามากขึ้น หาผู้มีอำนาจเซ็นได้ยาก อ้างคำเดียวว่า work from home แจง...ต้นตอปัญหามาจากผู้ออกกฎระเบียบเป็นราชการ ไม่เข้าใจหัวอกเอกชน ออกกฎระเบียบเพื่อให้ตัวเองทำงานได้ง่ายๆ สบายๆ ไม่สนใจว่าเอกชนจะต้องเจอความยุ่งยากหรือปัญหาอะไรบ้าง ทุกวันนี้โลจิสติกส์ของไทยพัฒนาก้าวหน้าไปมาก เก่งเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน แต่กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นเหมือนเต่าล้านปี ไม่ทันยุคสมัย



กรณีนำเข้าสินค้าต่างประเทศ ผู้นำเข้าร้องเรียนกว่าจะออกของได้ล่าช้า มีขั้นตอนต้องผ่าน 30-40 หน่วยงาน

ข้อมูลพวกนี้สามารถพูดได้เป็นอาทิตย์ เอาเป็นว่าผมขอเวลาสั้นๆ ที่มีการบ่นกันว่าเวลาผู้นำเข้านำสินค้าเข้ามามีขั้นตอนเยอะ ทั้งที่ความจริงแล้วประเทศไทยมีความสามารถด้านโลจิสติกส์ เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน แต่สิ่งที่เป็นปัญหาเพราะสินค้านำเข้าส่งออกประเทศไทยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการไม่น้อยกว่า 30 หน่วยงาน ไม่ใช่เอกสาร 1 ชุดต้องติดต่อ 30 หน่วยงาน แต่เอกสาร 1 ชุดต้องติดต่อแล้ว 10 หน่วยงานทั้งเอกชนและราชการ พอติดต่อหน่วยงานเยอะก็จะมีขั้นตอนเยอะ เชื่อไหมว่าประเทศในอาเซียนนั้น ประเทศไทยมีอุปสรรคทางการค้าเรียกว่าภาษีมากที่สุดในอาเซียนมีทั้งหมด 1,360 รายการ ใครเข้ามาก็ต้องขออนุญาต พูดง่ายๆ ที่เดียวโดนจับโดนปรับ ตรงนี้เป็นเรื่องขั้นตอนที่ผมเชื่อว่าประเทศไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น และหน่วยงานต่างๆ ที่บอกว่าต้องใช้เอกสารตัวจริง ไม่เชื่อไปเดินที่ท่าเรือว่าจริงหรือไม่ ในเรื่องนี้อยากเรียนว่าการที่ช้าอาจมีส่วนนึงที่เกิดจากคนทำงานไม่เข้าใจระบบต่างๆ อาจจะต้องติดต่อเยอะ แล้วตอนนี้ขั้นตอนเยอะ เจ้าหน้าที่ในบางหน่วยงานหรือราชการ work from home เวลาโทร.ไปไม่มีใครรับโทรศัพท์แล้ว อ้างว่า work from home จะรอเจ้านายเซ็นก็ work from home ยังเซ็นไม่ได้ ก็เป็นอุปสรรคของการค้าระหว่างประเทศสำหรับประเทศไทย


พูดถึงช่วง work from home จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ยกตัวอย่าง ยกโทรศัพท์หาบางหน่วยงาน ถามว่าเอกสารตอนนี้อยู่ตรงนี้ ก็ต้องรอต่อไป ไม่ใครอยู่เพราะ work from home แม้หน่วยราชการบางหน่วยที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตต่างๆ เวลาเอกชนต้องการสินค้าเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก ปรากฏว่ากรมศุลกากรหยุด ซึ่งกรมศุลกากรต้องจัดคนไปอยู่ อันนี้ต้องชมเขา แต่ปรากฏว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตต่างๆ ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำจุดที่ต้องขออนุมัติ แบบนี้แล้วจะทำอย่างไร ก็เป็นปัญหา ผมคิดว่าราชการไทยหรือประเทศไทยกฎหมาย ประกาศต่างๆ ร่างโดยข้าราชการ เป็นประเทศที่อาศัยราชการเป็นคนจัดทำ ดังนั้นกฎหมายหรือระเบียบต่างๆ ร่างมาเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ แต่ไม่สะดวกกับผู้ประกอบการ หลายคนก็มองแบบนี้


กรณีเราสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์จากต่างประเทศก็ผ่านเข้ามาสบายๆ ไม่ต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยาก

อันนี้จะมีกฎเกณฑ์พิเศษอีกแบบสำหรับผู้ที่นำเข้ามาตามกฎเกณฑ์นำเข้าสินค้าเร่งด่วน จะมีพิธีการอีกแบบนึง จะเป็นกฎหมายอีกฉบับนึงซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ อย่างสินค้าเข้ามา 1 ตู้อาจมีสินค้า 100 อย่าง เขาจะมีวิธีการเตรียมล่วงหน้าที่มีวิธีการเยอะแยะไปหมด เขาทำงานล่วงหน้า ของมาแล้วออกได้เลย ก็ต้องชมคนที่ทำงานตรงนี้ว่าเขารู้เรื่องวิธีการด้านศุลกากร


ส่วนของสินค้านำเข้าที่มีปัญหาต้องผ่าน 30 หน่วยงาน ไม่ได้แก้ไข เหมือนบีบคนไปสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีเอเยนต์หรือบริษัทสั่งมาขาย

คงไม่ใช่ เมืองไทยทุกอย่างจัดทำโดยราชการ การจะออกกฎอะไรมาต้องออกกฎเกณฑ์ที่สะดวกต่อการตีความและการทำงานของเจ้าหน้าที่ ขณะที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ทำเงินเข้าประเทศแต่ต้องเดือดร้อน ยกตัวอย่าง ยกเว้นอากรนำเข้า ตามกฎเกณฑ์เขาใส่ตัวอักษรย่อ แต่เมืองไทยบอกต้องใส่ให้เต็ม แต่ต่างประเทศที่ออกแบบฟอร์มนี้เขาไม่ยอมแก้ไขมา เขาบอกถ้าไม่แก้ไขมาก็ชำระอากร อันนี้เรื่องเล็ก ราชการตีความไปอีกอย่าง เรื่องแบบนี้ถึงเวลาแล้วและผมเห็นสัญญากฎหมายมาตั้งแต่สมัยคุณอภิสิทธิ์ถึงรัฐบาลคุณประยุทธ์ก็ยังไม่แก้ไขปัญหาอะไรเลย ปัญหาเรื่องกฎหมายเยอะแยะไปหมด


10 กว่าปีที่ผ่านมาทุกอย่างอยู่ที่เดิมหรือถอยหลังไปกว่าเดิม

คงอย่างนั้น แต่เรื่องสำคัญกับประเทศไทยคือ RCEP ที่ไทยต้องพร้อม


การนำเข้าสินค้ามีความล่าช้า ขั้นตอนเยอะ ส่งผลต่อคนที่ต้องซื้อวัตถุดิบเข้ามาโดยเฉพาะ SME ทั้งหลาย รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจพิเศษการค้าเสรีเข้ามาเยอะแยะ จะแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร

การนำเข้าส่งออกมีปัญหาหลักอยู่หลายเรื่อง 1. ถ้าเกี่ยวข้องกับศุลกากรในเรื่องพิกัดศุลกากรในปี 65 มีการเปลี่ยนแปลงการแจ้งพิกัดใหม่ เรื่องที่ 2 แบบฟอร์มการใช้สิทธิประโยชน์จากภาษีอากรทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เรื่องพิกัดและสิทธิภาษีอากรเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากที่สุดในการผ่านพิธีการศุลกากร อย่างเรื่องพิกัดสินค้าในเมืองไทยมีในโลกเป็นล้าน อย่างคนเอาปากกาเข้ามาด้ามนึงศุลกากรตีความว่าคุณต้องรู้ว่าปากกาด้ามนี้ทำด้วยอะไร เป็นปากกาหมึกซึมหรือปากกาลูกลื่น แล้วปากกาด้ามนี้อีกด้านฉายแสงเลเซอร์และปากกาด้ามนี้ยังถ่ายรูปได้อีก คนนำเข้าต้องแสดงพิกัดให้ชัดเจนไม่อย่างนั้นโดนสละสิทธิ์เพราะแจ้งพิกัดผิด เรื่องอย่างนี้เจ้าหน้าที่ต้องมีการอธิบายและมีการสอนเวลาที่คนทำเรื่องขอคำอธิบายจากศุลกากร เข้าใจว่าบางทีเป็นเรื่องยาก

104 views
bottom of page