EXIM BANK ขานรับ ธปท. ออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ พร้อมแถลงผลการดำเนินงานขยายสินเชื่อและประกันการส่งออกได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ปี 64
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ได้ออกมาตรการความช่วยเหลือ โดยสอดรับกับมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จำนวน 2 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) เป็นสินเชื่อหมุนเวียนสูงสุด 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.2% ต่อปี ทั้งนี้ ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี
• ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อกับ EXIM BANK ไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอกู้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาทต่อราย (รวมสินเชื่อ Soft Loan เดิมที่เคยได้รับตาม พ.ร.ก. ช่วยเหลือในปี 2563) • ผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถขอกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย (รวมทุกสถาบันการเงิน)
2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (พักทรัพย์ พักหนี้)
EXIM BANK รับโอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อนำมาชำระหนี้กับ EXIM BANK เป็นการช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว โดยไม่ถูกกดราคาทรัพย์สินและมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์คืนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีนับแต่วันที่รับโอน
ปัจจุบันมีลูกค้า EXIM BANK สนใจขอรับมาตรการความช่วยเหลือดังกล่าวจำนวนประมาณ 940 ราย เป็นวงเงินรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถแจ้งความจำนงขอรับมาตรการ หรือสอบถามได้ที่ EXIM HOTLINE เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการจากโควิด-19 โทร. 0 2037 6099
นอกจากนี้ กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2564) ว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 EXIM BANK ได้ขยายบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในด้านการเงิน ทั้งสินเชื่อและประกัน และด้านที่ไม่ใช่การเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสินเชื่อคงค้าง 134,412 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,276 ล้านบาทหรือร้อยละ 6.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 31,648 ล้านบาทและสินเชื่อเพื่อการลงทุน 102,764 ล้านบาท การให้สินเชื่อของ EXIM BANK ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 42,246 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เท่ากับ 14,399 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.08 ด้านการสนับสนุนการค้าและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 EXIM BANK มีวงเงินสนับสนุนแก่สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวม 92,907 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อคงค้างจำนวน 60,145 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,605 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้ เป็นสินเชื่อคงค้างเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ส่งออกและลงทุนในตลาดใหม่ (New Frontiers) ซึ่งรวมถึงกลุ่ม CLMV จำนวน 43,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,273 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยรุกตลาดใหม่ โดยเฉพาะเวียดนามที่มีเสถียรภาพและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง
ด้านการให้บริการประกันการส่งออกและการลงทุน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ท่ามกลางความเสี่ยงจากการได้รับชำระเงินล่าช้าหรือปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 52,366 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 15,676 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 EXIM BANK มีกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 502 ล้านบาท แต่ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ EXIM BANK มีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 ร้อยละ 4.19 โดยมี NPLs จำนวน 5,625 ล้านบาท และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 12,396 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ NPLs (Coverage Ratio) สูงถึงร้อยละ 220.36 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่ง ทำให้ EXIM BANK มีกำไรสุทธิในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 เท่ากับ 92 ล้านบาท “ในปี 2564 EXIM BANK จะทำหน้าที่เป็น ‘เครื่องยนต์รุ่นใหม่’ ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยและภาคการส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยขับเคลื่อนแบบ 2 เครื่องยนต์ (Twin Turbo) ได้แก่ การเป็น ‘ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank)’ เพื่อสร้างการลงทุนไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการเป็น ‘ศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMEs (One Stop Trading Facilitator for SMEs)’ เพื่อสร้างนักรบเศรษฐกิจไทย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์แนวโน้มใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ และดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง” ดร.รักษ์ กล่าว
EXIM Thailand Responds to BOT with Launch of Rehabilitation Credit and Debt Set-off Asset Transfer Schemes and Announces Growth of Loan and Export Insurance in Q1/2021
Dr. Rak Vorrakitpokatorn, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), said that EXIM Thailand has launched two relief schemes in response to the additional financial measures rolled out by the Bank of Thailand (BOT) to assist and revive entrepreneurs affected by the COVID-19 pandemic as follows:
1. Credit Facility Support Scheme for Entrepreneurs (Rehabilitation Credit) offering a revolving credit facility with a maximum tenure of 5 years at an average interest rate of 4.2% per annum whereby the interest rate in the 1st-2nd years is 2% per annum. • Client having credit line of not exceeding 500 million baht with EXIM Thailand may apply for an additional credit amount of not exceeding 30% of the credit line as of December 31, 2019 or as of February 28, 2021, whichever is higher, but not exceeding 150 million baht per client (including the soft loan amount earlier received pursuant to the Emergency Decree on Provision of Financial Assistance enacted in 2020). • Entrepreneur having no credit line with any financial institution as of February 28, 2021 may apply for a credit amount of not exceeding 20 million baht per entrepreneur (including all credit amounts from all financial institutions).
2. Debt Set-off Asset Transfer Scheme (Asset Warehousing)
EXIM Thailand will accept transfer of collateral assets of the Bank’s existing debtors affected by the COVID-19 for debt payment to the Bank. This aims to temporarily reduce business operators’ financial costs and shield them from having to sell their assets at fire-sale prices. They also have an option to buy back the assets within 3-5 years from the asset transfer date.
At present, around 940 clients of the Bank have shown their interest in applying for assistances under the above schemes, involving a total amount of approximately 5,000 million baht. Interested entrepreneurs may apply for or enquire about the assistances under the above schemes via EXIM HOTLINE for Assistances to Clients and Entrepreneurs Affected by COVID-19 Tel. 0 2037 6099.
EXIM Thailand President revealed that in the first 3 months (January-March) of 2021, as Thai and global economies had yet to fully recover from the COVID-19 crisis, EXIM Thailand has expanded its role in supporting Thai entrepreneurs financially with provision of credit and insurance facilities and non-financially with offering of other assistances on a consistent basis. The Bank recorded total outstanding loans of 134,412 million baht, an 8,276 million baht or 6.56% growth year-on-year, comprising 31,648 million baht in trade finance and 102,764 million baht in project finance. The Bank’s loan approvals contributed to a business turnover of 42,246 million baht, of which 14,399 million baht or 34.08% came from SMEs.
In the support for Thai entrepreneurs’ expansion of trade and investment abroad, as of the end of March 2021, EXIM Thailand recorded a total accumulated loan approval amount of 92,907 million baht for international projects, with outstanding loans accounting for 60,145 million baht, an 8,605 million baht or 16.69% growth year-on-year. Of this total outstanding loan amount, 43,485 million baht was to support entrepreneurs with export and investment in new frontier markets, including CLMV, constituting a year-on-year growth of 4,273 million baht or 10.90%. This has reflected EXIM Thailand’s commitment to encouraging Thai entrepreneurs to penetrate new frontiers, particularly Vietnam which has high economic stability and growth.
As regards provision of export credit and investment insurance facilities to enhance Thai exporters and investors’ confidence under the current circumstances where buyers overseas are likely to delay payment or make no payment, in the first 3 months of 2021, the Bank recorded 52,366 million baht in export credit and investment insurance business turnover, up by 15,676 million baht or 42.73% year-on-year.
In the first quarter of 2021, EXIM Thailand recorded an operating profit of 502 million baht. However, due to the impacts from the COVID-19 pandemic, the Bank recorded NPL ratio of 4.19% as of the end of March 2021 with total NPL amount of 5,625 million baht. As the Bank set aside allowance for expected credit loss of 12,396 million baht, its NPL coverage ratio was as high as 220.36%. This has resulted in the Bank’s strong financial position. The Bank thus posted a net profit of 92 million baht in January-March 2021.
“In 2021, EXIM Thailand will perform as a ‘new model engine’ to drive Thailand’s long-term sustainable export and economic growth with twin turbo propeller, i.e. being ‘Thailand Development Bank’ to grow Thai investment both at home and abroad on a sustainable basis alongside ‘One Stop Trading Facilitator for SMEs’ to build Thai economic warriors in conjunction with development of products and services in response to new preference trends. This aims to support and take appropriate action to assist Thai entrepreneurs amid the highly uncertain business environment today,” added Dr. Rak.
Коментарі