top of page
327304.jpg

ดอกเบี้ยเฟด น้ำมัน ค่าเงินในภูมิภาค...3 แรงส่ง กดดันบาทอ่อน ปลายปี


เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าเงินบาทและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เริ่มมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ “แกว่งตัว” ชัดเจนขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเงินบาทอ่อนค่าไปแตะระดับ 33.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา (ซึ่งเป็นวันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยประมาณ 4.63 และ3.26 พันล้านบาท ตามลำดับ) หรือคิดเป็นอัตราการอ่อนค่าถึง 2.6% เพียงไม่กี่วันจากระดับ 32.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นเดือนต.ค. 2561 ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยิลด์) ของไทยระยะ 10 ปี ขยับขึ้นต่อเนื่องไปที่ 2.88% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2559

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเครื่องชี้เสถียรภาพต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของไทย อาจจะช่วยบรรเทาความผันผวนของค่าเงินบาทลงได้บ้างบางส่วน อย่างไรก็ดี เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยแวดล้อมที่รออยู่ในระยะที่เหลือของปี ทั้งการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แม้จะไม่ใช่ปัจจัยใหม่ แต่เมื่อผนวกกับช่วงห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และไทย ก็อาจจะทำให้ทิศทางของเงินบาท "มีความอ่อนไหว" ต่อปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น โดยธนาคารกสิกรไทย ยังคงตัวเลขคาดการณ์ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2561 ที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ (กรอบคาดการณ์ที่ 32.50-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ)

28 views
bottom of page