
สัมภาษณ์พิเศษ คุณเวทย์ นุชเจริญ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส แบงก์กรุงไทย
และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจSME
มาตรฐานบัญชี IFRS9 กระทบหนักมากทุกวงการ ที่น่าห่วงมากที่สุด คือธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม เอสเอ็มอี ที่ต้องรับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อม หวั่นจากนี้ไปปัญหาหนี้นอกระบบของธุรกิจเอสเอ็มอีจะงอกออกมาใหม่เหมือนหางจิ้งจก
มาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ IFRS9 ถึงตรงนี้คนยังหวาดผวา แม้จะมีการพูดคุยให้เลื่อนการบังคับใช้ออกไป แต่ก็ยังต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจาก กกบ.ก่อน
ในเรื่องการทำบัญชีมีผู้รับผิดชอบ คือ คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี หรือเรียกว่า กกบ. สำหรับ มาตรฐานทางการเงินฉบับที่ 9 ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะว่าในอนาคตถ้าเราทำมาหากินกับบริษัทต่างๆทั่วโลก สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เขาจะมาลงทุนกับเรา คือการดู รายงานทางการเงิน ซึ่งจะเป็นตัวสะท้อนบริษัทอย่างแท้จริง
ปัจจุบันทั่วโลกใช้ IFRS 9 แล้ว 140 ประเทศ เข้าใจว่าสภาวิชาชีพบัญชีเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงนำมาประกาศใช้ แต่หลังจากที่ข่าวนี้ออกไปก็มีคนกังวลค่อนข้างเยอะ เพราะว่าการที่เราจะทำอะไรอย่างหนึ่งโดยที่เรายังไม่พร้อมคิดว่าเป็นเรื่องที่อันตราย
สำหรับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมากๆ ทางตรงจากการใช้ IFRS 9 คือ
1. ธนาคาร จะต้องมีการกันสำรองเพิ่มขึ้นมโหฬาร ถ้าดูจากงบการเงินธนาคารในไตรมาส 3/2560 ธนาคารปล่อยสินเชื่อไป 17.7 ล้านล้านบาท ขึ้นไปเยอะพอสมควร ปัจจุบันธนาคารสำรองตามกฎหมายเดิมประมาณกว่า 9.4 แสนล้าน ถ้าเราจำกันได้การสำรองก็ทำได้ง่ายโดย ลูกหนี้ที่กู้ จะต้องสำรองเลยทันที
2. สำหรับลูกผิดนัดชำระจะต้องสำรองตามสัดส่วน
3. ผิดนัดชำระ 3 เดือนต้องสำรองเต็ม นี่เป็นเกณฑ์การสำรองเดิมซึ่งเป็นการสำรอง 943,000 กว่าล้านซึ่งนับว่าเยอะ เพื่อทำให้ธนาคารมีความมั่นคง มีการทำทดสอบว่าถ้าเราทำมาตรฐานบัญชีใหม่การด้อยค่าต่างๆ มูลค่ายุติธรรม รายได้ต่างๆ โดยเฉพาะการตั้งสมมุติฐานที่ใช้แบบเดิมๆ
ที่ผ่านมา วิธีการตั้งสำรอง ใช้ข้อมูลในอดีตเป็นเกณฑ์ แต่ตามกฎหมายใหม่จะใช้ forward looking คือ เราจะมองไปข้างหน้าว่ามีอะไรจะเสียบ้าง
ในประเทศต่างๆทั่วโลกที่บอกว่าเขาทำมาแล้ว 140 ประเทศ เขาประมาณการว่าจะต้องสำรองเพิ่มประมาณ 15-30% ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มหาศาล คือถ้า 15% ก็ประมาณ 140,000 ล้าน ถ้า 30% ก็เกือบ 300,000 ล้าน อันนี้ก็จะไปกระทบกำไรขาดทุนในงบการเงิน Balance Sheet ของธนาคาร เพราะเวลาเรา Research ก็จะเป็นค่าใช้จ่าย คิดหลายธนาคารผลประกอบการก็จะออกมาแย่มาก มันมีผลกระทบในวงกว้างไปถึงผู้ถือหุ้นต่างๆด้วย
2. ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทต่างๆ ที่มีมาตรฐานในตลาด ...ต้องมีการตีมูลค่าต่างๆใหม่ทั้งหมด เช่น สัญญาเช่าดำเนินงานก็ต้องเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าทางการเงิน ตรงนี้จะกลายเป็นเพิ่มหนี้ทำให้ PE สูงขึ้น เลยต้องมีการวางแผนจัดการใหม่ ...
3. กลุ่มผู้ประกอบการ SME กับธุรกิจ Start Up ต่างๆ ในบ้านเรา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ผมค่อนข้างเป้นห่วง ถึงแม้จะไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรฐานนี้ ยกเว้นถ้าไม่ได้ทำ ผลกระทบทางอ้อมจะรุนแรงมาก
SME ตายหยังเขียด
เจอทั้งทางตรงและทางอ้อม
ปัจจุบันจะเห็นว่า SME เข้าถึงแหล่งทุนยาก SME เป็นกลุ่มที่มี NPL สูงที่สุดในระบบลูกค้าของธนาคาร อันนี้ก็เป็นปัญหาที่เข้ามาถึง SME ที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 ซึ่งจะเป็นปีที่ SME เผชิญเรื่องใหม่ๆเยอะมาก เช่น มาตรฐาน SME บัญชีเดียว
ผมมีประสบการณ์ ในอดีตผมเคยทำงานด้านสินเชื่อ SME เวลาจะทำเสียภาษีทีหนึ่งถ้าเป็นนิติบุคคลเล็กๆ ก็ต้องไปจ้างบริษัททำบัญชี ส่วนใหญ่เวลาทำบัญชีเขาจะทำบัญชีในลักษณะขาดทุนเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษี เวลามาขอสินเชื่อแบงก์พนักงานสินเชื่อ คือ Loan Officer ก็จะเอางบมาประมาณการใหม่ ไปสัมภาษณ์ลูกค้าว่ารายได้ที่แท้จริงได้เท่าไหร่ เพราะถ้าใช้งบที่ไปยื่นภาษีกับสรรพกร SME ไม่สามารถกู้ได้เลย เราถึงเคยได้ยินว่า SME ในอดีตมีบัญชีถึง 4-5 บัญชีให้สรรพกร ให้แบงก์ ให้เมียหลวง ให้เมียน้อย ต่อไปนี้ก็จะทำไม่ได้แล้ว มันจะไปเผชิญกับ IFRS9 ก็เป็นปัญหาที่ต้องคิดให้หนัก
สิ่งที่ SME ต้องเผชิญทางอ้อม เรื่องแรกสมมุติว่า SME ที่เคยมีสินเชื่อกับธนาคาร ยกตัวอย่าง ถ้าเขาเคยทำธุรกิจช่วงใดช่วงหนึ่งเกิดมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจทำให้เขาเป็น NPL พอปรับโครงสร้างหนี้สมัยก่อนถ้าเขาผ่อนชำระ 3 เดือนก็หลุด NPL Exit ถ้าชำระทันทีทันใดตามอัตราตลาดก็หลุด NPL อันนี้สำรองก็จะลดลง แต่ต่อไป SME กลุ่มไม่ได้แล้ว เวลาธนาคารดูเขาจะต้องสำรองไว้เพราะมีประวัติที่ไม่ดี สมมุติว่า SME จะขอสินเชื่อเพิ่มแบงก์ก็จะคิดหนักแล้วเพราะไม่ได้คิดสำรองเพราะหนี้ใหม่ที่เกิดขึ้นแต่ต้องสำรองหนี้เดิมด้วย
เป็นปัญหาของ SME บ้านเราที่มีเยอะมาก
นอกจากนี้ ผลจาก IFRS9 ที่มีต่อ SME คือ วงเงินสินเชื่อ SME จะถูกลดวงเงินสินเชื่อลงแน่นอน เพราะแบงก์มีภาระในการกันสำรอง สมมุติ SME แห่งหนึ่งมีวงเงินสินเชื่อ 10 ล้าน ปัจจุบันใช้เงินไป 8 ล้าน ก็ต้องสำรองตามหนี้ที่เป็นยอดคงค้าง แต่ตามมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ จะต้อง Reserve วงเงินเครดิต 2 ล้านที่ไม่ได้ใช้นำมา Reserve ด้วย แบงก์จะเข้มงวดในการให้สินเชื่อกับลูกค้า SME จะจำกัดสินเชื่อให้ที่จำเป็นจริงๆ ไม่ให้เผื่อเพราะไม่อยากสำรองเพิ่ม ก็จะเป็นปัญหากับ SME แทนที่จะมีวงเงินเผื่อไว้
อีกปัญหา คือ ระยะเวลาในการให้กู้ แบงก์จะระมัดระวงมากยิ่งขึ้น การคำนวณหรือเช็ค Statement กระแสเงินสดจะเข้มงวดกว่าเดิม ที่เราเคยยืดหยุ่นเผื่อไว้ไปเจอโอกาสดีๆมันก็จะทำไม่ได้
สิ่งที่เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคสำหรับ SME คือ หลักประกัน ต่อไปแบงก์จะเรียกหลักประกัน เพราะว่าหลักประกันเป็นตัวที่หักสำรองได้ แต่ความเป็นจริงคือทุกวันนี้ SME ไม่มีหลักประกัน
อยู่แล้ว ต้องไปพึ่ง บสย. หรือเงินกู้นอกระบบ ซึ่งตัวนี้ ตามความเห็นของผมมันจะทำให้ระบบเงินกู้นอกระบบกลับมาเติบโตอีกครั้งหนึ่ง เพราะไปขอแบงก์ไม่ได้เลยตามมาตรฐาน IFRS9 ฉบับนี้
ที่เป็นห่วงมาก คือ SME ที่มีสัญญากับคู่ค้า สมมุติ SME ไปซื้อผลิตภัณฑ์กับบริษัทที่อยู่ในตลาดที่มีสัญญากับธุรกิจ บริษัทพวกนี้ก็จะระมัดระวังเพราะถ้าทำสัญญาซื้อขายแล้วก็ต้องตั้งสำรองเพิ่มแล้ว ไม่เหมือนแต่ก่อนว่าเสียแล้วค่อยตั้งสำรอง มันจะ Looking Forward คือมองไปข้างหน้าว่าคาดว่าในอนาคตอาจจะต้องเสีย ถ้า SME รายนั้นเคยปรับปรุงหนี้มาแล้วคู่ค้าจะลดเครดิต ลดการให้เครดิตการซื้อสินค้าลง
นี่คือผลกระทบทางอ้อมที่ SME ต้องเผชิญแน่นอนนอกจากเรื่องมาตรฐานบัญชี IFRS9
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคงหนีไม่พ้นเรื่อง IFRS9
ใช่ครับ
สมมุติเขาจะขยายเวลาให้ 1 ปี คิดว่าพอไหมที่จะเตรียมตัวรับเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะ SME และธุรกิจรายย่อย
ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างอินโดนีเซียที่ได้ใช้ ก็ได้ขยายเวลาไปแล้ว 1 ปี
ผมคิดว่า 1 ปีเพียงพอถ้าทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ
ตอนนี้ถ้าไปตามท้องถิ่น ท้องที่ต่างๆ ผมเดินทางไปทั่วประเทศ ผมยังไม่เห็นหอการค้าคุยกันในเรื่องนี้ คือเขาไม่รู้เรื่อง ตอนนี้ SME ทำอย่างไรไม่ให้มันเจ๊ง ปัญหาเฉพาะหน้าที่ขาด working cap
ที่ผมคลุกคลีกับ SME มาเยอะ ก็ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลมีการสำรวจหนี้นอกระบบของ SME มีแต่สำรวจหนี้นอกระบบของคนจน ผมว่าต้องสำรวจหนี้นอกระบบ SME แล้วหามาตรการมาช่วยเหมือนตอนที่ผมเคยทำที่แบงก์กรุงไทย เราออกโครงการมาช่วย SME ที่มีอนาคต มีศักยภาพทางการตลาดเยอะมาก
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่อยากฝากไว้ว่ามันต้องมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษออกไปให้ความรู้หอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศ แบงก์ทุกแบงก์ ถ้าเราไปดูตามต่างจังหวัดเราก็ยังไม่เห็นเข้าไปดูแลเท่าไหร่ ทุกวันนี้ระบบแบงก์เปลี่ยนไป ศูนย์กลางในการอำนวยสินเชื่อมาอยู่ที่สำนักงานธุรกิจ ไม่ได้คลุกคลีกับลูกค้าเหมือนสมัยก่อนที่สาขาเข้าไปพบผู้ประกอบการเข้าไปแนะนำ อันนี้เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ
เป็นเรื่องใหญ่มาก
ก็เป็นเรื่องที่แบงก์เขารู้ แบงก์ทุกแบงก์เตรียมตัวแล้ว เราจะเห็นว่าตอนนี้บริษัทตรวจสอบบัญชีที่เป็นบิ๊กโฟว์ในไทยงานเยอะ คนเข้ามาปรึกษาเยอะแยะมาก บางคนถูกซื้อตัวดึงตัวไปอยู่ที่แบงก์เพื่อทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะมันจะกระทบกับ Balance Sheet ของธนาคารมาก ผมคิดว่ามันกระทบเป็นวงกว้างไปจนถึงประเทศด้วย เพราะถ้าแบงก์มีรายได้ลดลง กำไรลดลง ก็จะกระทบตลาดหุ้น เพราะ Sector ของแบงก์เป็น Sector ที่มี Volume เยอะที่สุด
และที่สำคัญ คือ ภาษี สมมุติต้องสำรองเพิ่ม รายได้ที่ต้องส่งให้รัฐบาลก็จะน้อยลง เพราะเดิมที่คาดว่า 15% คือ 16,000 ล้าน ถ้า 30% ก็ 30,000 กว่าล้าน อันนี้เป็นเงินที่เยอะมาก
อันนี้ก็เป็นผลกระทบในวงกว้าง จากการประชุมล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรม สภาวิชาชีพบัญชี กระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ ก็ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้แล้ว เขาคงคิดอยู่ว่าจะทำอย่างไรซึ่งต้องรออีก 1 ปีว่าจะเลื่อนไปหรือไม่ หรือถ้าใช้เลยเราจะเตรียมตัวกันอย่างไรเพื่อจะทำให้ SME ไม่ลำบากไปมากกว่านี้
ผมยอมรับเลยว่าตอนนี้ SME ลำบากจริงๆ ถ้าดู GDP ที่โตขึ้นเราจะเห็นว่าโตขึ้นในกลุ่มที่เป็นบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งมีอยู่ 5% ในไทย แต่ที่เป็น SME รายเล็กรายย่อยลำบากมาก ... ผมเดินทางเยอะมาก ผมยังไม่เคยเจอใครบ่นกับผมมากแบบนี้มาก่อน ผมยังไม่เคยเห็นว่ามันเครียดขนาดนี้ในไทยมาก่อน ...ก็เป็นเรื่องที่อยากฝากไว้