top of page
369286.jpg

เงินติดล้อ ได้เกรด A จากทริส


ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันล้านบาทในวงเงินไม่เกิน 1,700 ของ บริษัท เงินติดล้อ ที่ระดับ “A” พร้อมทั้งยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “A” ด้วย โดยแนวโน้มยังคง “Stable” หรือ “คงที่” ทั้งนี้ อันดับเครดิตสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของชื่อตราสัญลักษณ์ “ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ” ของบริษัทในส่วนของสินเชื่อบุคคลที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงระบบการบริหารความเสี่ยงที่เข้มแข็ง ตลอดจนเครือข่ายสาขาที่กว้างขวางทั่วประเทศ และฐานลูกค้าของบริษัทที่กระจายตัวดีด้วย

อันดับเครดิตของบริษัทได้รับการปรับเพิ่มขึ้นจากอันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทซึ่งสะท้อนถึงการได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านธุรกิจและการเงินในฐานะที่เป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นของธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคนับว่าเป็นข้อจำกัดต่ออันดับเครดิต อีกทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทก็เป็นปัจจัยกดดันด้วยเช่นกันเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นยังเป็นประเด็นที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปและคาดหวังว่าบริษัทจะสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะทางการตลาดและมีผลประกอบการที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังคาดว่าบริษัทจะสามารถควบคุมคุณภาพสินเชื่อเอาไว้ในระดับที่ยอมรับได้ในขณะที่การสนับสนุนจากธนาคารแม่จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป การปรับเพิ่มขึ้นของอันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตอาจเกิดขึ้นได้หากบริษัทมีสถานะทางการตลาดที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยังคงผลประกอบการด้านการเงินที่เข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่อง และควบคุมค่าใช้จ่ายทางด้านเครดิตไว้ในระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ ความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ของบริษัทที่มีต่อธนาคารแม่ที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการปรับเพิ่มอันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตด้วยเช่นกัน ในขณะที่การปรับลดอันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทอาจเกิดขึ้นได้หากมีปัจจัยที่จะลดทอนคุณภาพสินทรัพย์หรือสถานะในการแข่งขันของบริษัท รวมถึงลดการสนับสนุนจากธนาคารแม่ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทเงินติดล้อมีชื่อเดิมว่า บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส และเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัทเงินติดล้อในเดือนตุลาคม 2558 โดยปัจจุบันบริษัทจัดเป็นบริษัทย่อยในกลุ่ม Non-solo Consolidation ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากสถานะของบริษัทซึ่งเป็นบริษัทย่อยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทำให้บริษัทสามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารในการขยายสินเชื่อของบริษัทได้

นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับประโยชน์ในด้านอื่น ๆ จากการมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับธนาคาร ซึ่งรวมถึงการใช้ช่องทางในการแนะนำลูกค้าและระบบการจัดการสินเชื่อ บริษัทได้พัฒนาระบบปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงระบบการจัดการความเสี่ยงและเทคโนโลยีสารสนเทศโดยได้รับการตรวจสอบและติดตามจากธนาคารแม่อย่างใกล้ชิดและได้รับการกำกับทางอ้อมจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่านทางธนาคารแม่ด้วย

บริษัทให้บริการกู้ยืมแก่ลูกค้าที่มีรายได้ต่ำซึ่งไม่มีเอกสารแสดงที่มาของรายได้หรือมีเพียงบางรายการโดยใช้ยานพานะเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ และรถทางการเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ ปัจจุบันบริษัทใช้ชื่อตราสัญลักษณ์ “ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและในกลุ่มบริษัทที่เสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทสินเชื่อบุคคลโดยใช้ยานพาหนะเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน การอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็วเป็นกลยุทธ์หลักของบริษัทในการดึงดูดลูกค้า ความเสี่ยงของฐานลูกค้าของบริษัทลดทอนลงบางส่วนจากสินเชื่อที่มีขนาดเล็กและฐานลูกค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ความเสี่ยงดังกล่าวยังได้รับการควบคุมจากนโยบายการพิจารณาสินเชื่อและกระบวนการควบคุมและติดตามสินเชื่อที่แข็งแกร่งอีกด้วย บริษัทยังได้ขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อมซึ่งบริษัทจะได้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาดในการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ากลุ่มนี้อีกด้วยเช่นกัน

ความต้องการบริการทางการเงินจากกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีหลักฐานรายได้ชัดเจนยังคงมีอยู่สูง ในขณะที่บริษัทสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการสนับสนุนของธนาคารแม่ ส่งผลทำให้สินเชื่อของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ สินเชื่อของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1,673 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 20,979 ล้านบาทในปี 2559 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีที่ 43.5% สินเชื่อของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 21,930 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 (ยังไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี)

ทั้งนี้ ระบบปฏิบัติการของบริษัทจัดได้ว่ามีความเข้มแข็งและเพียงพอที่จะสนับสนุนธุรกิจของบริษัท

อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (สินเชื่อค้างชำระเกิน 90 วัน) ต่อสินเชื่อรวมของบริษัทลดลงจาก 1.8% ณ สิ้นปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ มาอยู่ที่ระดับ 0.6% ณ สิ้นปี 2555 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 1.4% ณ สิ้นปี 2559 แม้ว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากฐานลูกค้าของบริษัทซึ่งโดยปกติมีความเสี่ยงด้านเครดิตที่ค่อนข้างสูง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงเล็กน้อยเป็น 1.2% (ยังไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี)

บริษัทมีนโยบายการตั้งสำรองที่ระมัดระวังโดยรักษาเกณฑ์อัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อรวมขั้นต่ำที่ระดับ 6.25% ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวมากเพียงพอต่อระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบริษัทในปัจจุบันและเพียงพอที่จะลดทอนความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทได้ ทริสเรทติ้งหวังว่าบริษัทจะสามารถควบคุมคุณภาพสินทรัพย์เอาไว้ในระดับที่ยอมรับได้ต่อไป

กำไรสุทธิของบริษัทปรับตัวดีขึ้นจาก 147 ล้านบาทในปี 2554 เป็น 870 ล้านบาทในปี 2559 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยปรับลดลงเล็กน้อยเป็น 4.3% ในปี 2557 และ 4.1% ในปี 2558 จาก 4.7% ในปี 2556 แต่ปรับสูงขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2559 งบ ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.6% จากช่วงเดียวกันของปี 2559 ในขณะที่อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยก็การเงินของบริษัทที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีระบุว่ากำไรสุทธิของบริษัทในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2560 เท่ากับ 294 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.4% (ปรับเป็นตัวเลขเต็มปีแล้ว)

บริษัทมีการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินที่ดีภายใต้การควบคุมของธนาคารแม่ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นทางการเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแม่และจัดเป็นบริษัทย่อยในกลุ่ม Non-solo Consolidation ด้วย ซึ่งบริษัทที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มดังกล่าวจะมีข้อจำกัดในด้านการสนับสนุนทางการเงินที่จะได้รับจากธนาคารแม่ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดดังกล่าว แต่ระดับวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่จำกัดไว้ให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาสามารถให้แก่บริษัทได้ยังคงมากเพียงพอที่จะสนับสนุนการขยายธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทได้ใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยานับตั้งแต่มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของธนาคารเป็นต้นมา

บริษัทได้เพิ่มความแข็งแกร่งของฐานทุนผ่านการเพิ่มทุนในช่วงที่ผ่านมา โดยหลังจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สถานะของบริษัทก็เปลี่ยนมาเป็นบริษัทต่างชาติด้วยเช่นกัน โดยภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดให้บริษัทต้องดำรงฐานทุนที่เพียงพอเพื่อรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ให้ต่ำกว่า 7 เท่า

การสนับสนุนทางการเงินอย่างต่อเนื่องจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับการด้อยลงของอัตราส่วนทางด้านโครงสร้างเงินทุนของบริษัทลงได้

67 views
bottom of page