top of page
312345.jpg

ฤดูจ่ายปันผลยังมีมนต์ขลัง..ตลาดหุ้นไทยพร้อมขึ้น


Mr.Messenger - ชยนนท์ รักกาญจนันท์ ให้ความเห็นถึงแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมว่า แม้จะมีกระแสกดดันให้หุ้นไทยทำทางลง แต่ขณะเดียวกันก็เหมือนพร้อมที่จะขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยสังเกตจากความเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างชาติ ที่ไม่ได้ทิ้งตลาดไทยออกไปแบบทิ้งขว้าง โดยค่าเงินบาทของไทยยังแข็งค่า ทั้งที่ดอลลาร์แข็ง อีกทั้งเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมยังคงเป็นเดือนที่หุ้นขึ้นตามฤดูการปันผลต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ... แต่ต้องตามติดท่าทีของเฟดที่พร้อมขึ้นดอกเบี้ยเมื่อ เยลเลน เปลี่ยนจากพิราบเป็นเหยี่ยว พร้อมจับตานโยบายทรัมป์

นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ Mr.Messenger ให้ความเห็นต่อแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้น ท่ามกลางปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ที่ออกจะสร้างความสับสนในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ นางเจนเนต เยลเลน จะแถลงต่อสภาคองกรสว่า มีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ประเมินกันว่า เฟดมีความชัดเจนที่จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นเดิมและอาจมากขึ้น บ้างประเมินว่าในรอบการประชุมเดือนมีนาคมนี้เลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะ เจเนต เยลเลน เองก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่ตัวประธานเฟด นางเจเนตเองก็มีความเสี่ยงที่จะเก้าอี้ร้อน หากดำเนินนโยบายการเงินไม่สอดคล้องกับประธานาธิบดีคนใหม่อเมริกา เนื่องจากตำแหน่งของนางเจนเนตกำลังจะหมดลงในหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการตัดสินใจปลด หรือไม่ต่อวาระให้เธอก็เป็นไปได้

“มีการเปรียบเทียบบทสรุปการประชุมของเฟด เมื่อเดือนธันวาคม 2559 กับเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ว่าถ้อยคำแถลงมีอะไรต่างกันบ้าง ซึ่งบทสรุปการประชุมพบว่าต่างกันแบบมีนัยยะสำคัญ คือ เรื่องความกังวลของคณะกรรมนโยบายทั้ง 9 คน เพราะบทสรุปของการประชุม คือ ความเห็นส่วนใหญ่โดยไม่รู้ว่าเป็นความเห็นของใคร แต่ว่าในการประชุมบอกว่านโยบายทางการคลังที่ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องลักษณะของนโยบาย และจังหวะในการออกนโยบายถือว่าเป็นความเสี่ยงในการกดดันเงินเฟ้อในอนาคต

ตัวผลการประชุมตัวนี้ทำให้ตลาดคิดไปว่าเฟดจะรีบขึ้นดอกเบี้ย คือ มีการส่งสัญญาณค่อนข้างมากออกมา

ขณะที่การแถลงกับวุฒิสภา ทำให้เข้าใจได้ว่าการประชุมธนาคารกลางทุกครั้งก็มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้งต่อจากนี้ คือไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่ได้รีบขึ้นดอกเบี้ยแล้วจะไปขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง พอส่งสัญญาณแบบนี้ออกมาก็ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น พันธบัตรของสหรัฐฯก็ปรับตัวสูงขึ้นมาทั้งหมด คือ เงินไหลออกจากพันธบัตรมาเข้าดอลลาร์หรือหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาทำออลล์ไทม์ไฮ แสดงให้เห็นว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นมาเป็นคำพูดหรือมุมมองของเจเนต เยลเลน จริงๆ ไม่ได้มีเรื่องอื่นเข้ามามีนัยยะ”

นายชยนนท์ กล่าวด้วยว่า ตลาดมีความกังวลกรณีตำแหน่งประธานเฟดของเยนเลน ว่าจะโดนถอดถอนหรือไม่ ถ้าโดนัลด์ ทรัมป์ อยากจะทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ แปลว่านโยบายการเงินและการคลังต้องสอดคล้องไปในทางเดียวกัน

“หากเจเนต เยลเลน อยู่ในขาระมัดระวัง แต่ในขณะที่นโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ อยากจะสู้มากขึ้นแล้วมองว่าเป็นอุปสรรค ก็อาจจะไม่ได้ต่ออายุหรือมีการโหวตออกตรงนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่ตลาดจับตามองอยู่ ถ้าเปลี่ยนเจเนต เยลเลน ปัญหาก็คือว่าโดนัลด์ ทรัมป์ อยากได้ประธานเฟดในสายไหน ซึ่งคณะกรรมการของเฟดแต่ละสาขาอย่างสายของเบน เบอร์นันเก้ สายที่ไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยก็มีอยู่จำนวนไม่น้อย ถ้าโดนัลด์ ทรัมป์ บอกว่าจะกระตุ้นการวางงานหรือกระตุ้นการลงทุนในประเทศและทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเงินเฟ้อก็จะตามมา

ตอนนี้ดอกเบี้ยของสหรัฐบางสายก็เริ่มประเมินว่าเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้มากกว่า 3 ครั้งจากที่เคยประเมินไว้ เพราะมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ ตรงนี้ก็ส่งสัญญาณว่าทำไมหุ้นเอเชีย หุ้นไทย ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าทำไมเริ่มไปต่อไม่ได้ เพราะว่าพอเงินดอลลาร์แข็งและเงินไหลกลับเข้าไปที่สหรัฐฯในตอนนี้”

อย่างไรก็ตาม สำหรับไทย อาจมีข้อที่น่าสนใจ ตรงที่ ในช่วงที่ผ่านมา ดอลลาร์แข็งค่า ตลาดหุ้นนิวยอร์กทำนิวไฮต่อเนื่องหลายวัน ทำให้หุ้นไทยตกเช่นเดียวกับหุ้นเอเชียในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยหลัก 1570 จุดลงมา แต่ค่าเงินบาทกลับแข็งค่า

ประเด็น คือ ต้องกลับมาดูค่าเงินบาท การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯกลับทำให้ค่าเงินบาทไทยกลับแข็งค่ากว่า ขณะที่แต่เมื่อลองกลับไปดู 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าเงินลงทุนต่างชาติไหลออกแต่ไม่เยอะมาก ตลาดพันธบัตรที่มีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไปมีเงินไหลออกแต่ย้ายไปเข้าในพันธบัตรระยะสั้น คือ ตราสารหนี้มีอายุต่ำกว่า 2-3 ปีลงมา แสดงว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าในตอนนี้เป็นเงินต่างชาติที่ไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรในระยะสั้น

นายชยนนท์อธิบายต่อว่า ส่วนใหญ่การลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นพวกนี้ก็จะย้ายเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น คือ เหมือนเอาเงินมาพักไว้ก่อนแล้วรอดูจังหวะตลาดถ้าหากไม่มีเหตุการณ์อะไรก็จะไหลกลับมาอีกครั้ง มองว่าการที่ต่างชาติโยกเงินออกมา คือ อาจจะมีเงินลงทุนต่างชาติบางส่วนที่ เรื่มมองว่านโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ อาจจะเป็นความเสี่ยงในสรัฐอเมริกาหรือไม่ เพราะค่าเงินดอลลาร์ยิ่งแข็งค่าเร็วไปก็จะไปกระทบกับกำไรจดทะเบียนที่นั่น เพราะว่าอย่างบริษัทใน S&P500 เกินกว่า 50% รายได้มาจากต่างประเทศ พอค่าเงินดอลลาร์แข็งก็แปลว่ากำไรบริษัทนั้นจะลดลง... แต่ตรงนี้ยังเป็นประเด็นที่ยังตีความตรงๆแบบนั้นไม่ได้... เพราะตั้งแต่โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมากว่า 1 เดือนเป็นคำสั่งจากฝ่ายบริหารและยังมี 2 คำสั่งที่หาเสียงไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ทำ คือ

1.นโยบายลดภาษีนิติบุคคลกับบุคลธรรมดา ซึ่งยังไม่ได้ทำและเมื่อสัปดาห์ก่อนที่มีการประชุมกับผู้บริการสายการบิน ก็เป็นหนึ่งที่ทำตลาดหุ้นวิ่ง และ

2.นโยบายระยะยาว 5 ปีข้างหน้าอยากจะให้สหรัฐอเมริกามีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 25 ล้านตำแหน่ง แปลว่าจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานมากระตุ้นให้เกิดขึ้นแน่ๆ ซึ่งนโยบายทั้ง 2 อย่างนี้ยังไม่เห็น และยังเป็นนโยบาย 2 อย่างที่ใช้คำสั่ง Executive Order ไม่ได้ต้องไปผ่านสภาฯ คิดว่าโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องเอาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างเข้าสภาฯเพื่อประชุมในเดือนมีนาคมหรือเมษายนนี้

“ถ้าเข้าจริงแสดงว่าตลาดที่วิ่งมาตอนนี้เพื่อเชื่อว่า 2 นโยบายนี้อาจจะมีนโยบายบางอย่างผ่าน ถ้าผ่านแล้วจะดีอย่างไร คือ สมมุติลดภาษีนิติบุคคลจากปัจจุบันที่ 35% โดนัลด์ ทรัมป์หาเสียงไว้ว่าจะลดภาษีเหลือ 15% ซึ่งคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าลดเหลือ 25-30% ก็น่าจะทำได้ แปลว่าขอให้บริษัทในสหรัฐอเมริกาไม่ได้มียอดขายโตแต่กำไรโตขึ้นเพราะเสียภาษีลดลง ตรงนี้ทำให้ตลาดถึงกล้าวิ่งขึ้นทั้งที่ราคาแพงอยู่แล้ว ตรงนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องมาเดาใจกัน ในฐานะนักลงทุนที่ห่างตลาดสหรัฐอเมริกาและคนอย่างโดนัลด์ ทรัมป์ก็เดาใจลำบาก”

สำหรับตลาดหุ้นไทย สภาพนักลงทุนต่างชาติเอาเงินไปพักในตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งก็พร้อมที่จะเข้ามาเล่นในตลาดหุ้น แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนต่างชาติจะนำเงินออกไปเช่นกัน นับว่าเป็นประเด็นที่สำคัญว่าถ้าสมมุติว่างบไตรมาส 1 ออกมาแล้วแต่ไม่มีนัยยะสำคัญหรือไม่มีการปรับมุมมองทำให้ต่างชาติไม่เชื่อว่ามุมมองเศรษฐกิจไทยดีขึ้น หรืออย่างสหรัฐอเมริกาดีขึ้นมา เช่น โดนัลด์ ทรัมป์ ผ่านทั้ง 2 นโยบาย และทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นไปอีก นักลงทุนต่างชาติก็อาจจะออกจากตลาดหุ้นไทยก็ได้

“เพราะฉะนั้นช่วงนี้เป็นช่วงค่อนข้างมีความเสี่ยง ในขณะที่อีกมุม คือ Valuation ของตลาดหุ้น ณ ตอนนี้ไทยถ้าเป็น PE 18-19 เท่า เพราะถ้าเป็นโซน 20 เท่าขึ้นไปก็จะเป็นโซนแพง ถ้าจะขึ้นไปเป็น 20 เท่า คือ ราคาปัจจุบัน SET INDEX อาจจะขึ้นไปถึงประมาณ 1,620-1,650 จุด แสดงว่าใกล้โซนแพงเหมือนกัน สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยตอนนี้คนที่เล่น Trade หรือระยะสั้นคิดว่าควรจะไปดูกลุ่มอุตสาหกรรมที่ตลาดยังไม่ได้ตอบรับหรือราคายังไม่ได้วิ่งขึ้นมา เช่น กลุ่ม ICT ที่กำไรลดต่อเนื่องจากการประมูล 4G พวกนี้ราคายังอยู่ในฐานต่ำ กลุ่มธนาคาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พวกนี้เป็นกลุ่มที่ปีที่แล้วหุ้นวิ่งน้อยกว่า อาจจะเล่นพวกนี้เพื่อ ผลอดภัยไว้ก่อน แต่ใครไปเล่นกลุ่มหุ้นขนาดเล็กหรือขนาด หุ้นที่วิ่งอย่างต่อเนื่องคิดว่าต้องระมัดระวังมาก

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากดูในระยะสัปดาห์ที่หลุด 1,580 ลงมา ซึ่งโดยส่วนตัวก็จะดูจาก Found Flow เป็นหลัก ตอนนี้ยังเหลืออีกสัปดาห์หนึ่งที่บริษัทจดทะเบียนต้องส่งงบการเงินให้ครบทุกที่ หากดูจากบลูมเบิร์กออกมาส่วนใหญ่กำไรดีกว่าค่าเฉลี่ยที่นักวิเคราะห์ประมาณการณ์ แสดงว่ามุมมองเศรษฐกิจไทยหรืองบกำไรในบริษัทจดทะเบียนที่นักวิเคราะห์มองไว้ดีกว่าคาดการณ์ แสดงว่าทุกคนมีมุมมองเชิงบวกเพราะจะดีต่อขึ้นไปอีก โดยส่วนตัวมองว่าแม้นักลงทุนต่างชาติขายแต่ก็จะมีคนซื้อ คือ นักลงทุนสถาบันอย่างไรก็ต้องกลับมาซื้ออย่างแน่นอน“

อย่างไรก็ตาม หากหุ้นไทยยังควงลงต่อ ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 1,550 จุด เนื่องจากเป็นช่วงรายงานงบการเงินเดือนกุมภาพันธ์ คนก็จะมาเก็งกันแล้วว่าบริษัทไหนที่กำไรแล้วเข้าฤดูว่าจะประกาศจ่ายเงินปันผล และหากดูข้อมูลย้อนหลัง 10 ปีที่ผ่านมา เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และ เมษายน มีติดลบเพียง 2 ปี คือในช่วง 3 เดือนนี้จะเป็นบวกตลอด ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นช่วงฤดูกาลจ่ายปันผล ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ดีในการลงทุน

2 views
bottom of page